BANPU กูรูมั่นใจกำไรดีถ่านหินราคาพุ่ง ลุ้นคดีโรงไฟฟ้า 6 มี.ค.61

315

มิติหุ้น-บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเอสแอล ประเมิน บมจ.บ้านปู หรือ BANPU โดยระบุ แนวโน้มกำไรสุทธิปี 61 เป็นขาขึ้น ตามทิศทางราคาถ่านหิน ที่มีแนวดน้มเชิงบวก โดยเฉพาะช่วง 1H61 โดยได้ประโยชน์จากความต้องการใช้ถ่านหินที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล โดยเฉพาะสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติ จึงปรับมูลค่าเหมาะสมเป็น 25.5 บาท (วิธี Sum-of-the-part) เพื่อสะท้อนการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิ แต่ยังไม่รวมผลกระทบจากการฟ้องร้องคดีโรงไฟฟ้าหงสา โดยเรายังคงต้องติดตามภาคจบของคดี ซึ่งล่าสุดศาลแพ่งได้ทำการนัดหมายคู่กรณีทั้งสองฝ่ายฟังคำพิพากษาศาลฎีกา เช้าวันอังคารที่ 6 มี.ค. ตั้งแต่เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป โดย BANPU จะขอต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อขึ้นเครื่องหมาย H (Trading Halt: การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ฯเป็นการชั่วคราว) ในช่วงเวลาที่ศาลอ่านคำพิพากษา คำแนะนำการลงทุน แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่าผลของคดีจะออกมาในรูปแบบใด แต่เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” จาก (1) ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง โดยเราคาดกำไร สุทธิ 4Q60 ไว้ที่ 2.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 19%QoQ ขณะที่กำไรสุทธิปี 61 เราประเมินว่าจะเติบโตไม่น้อยกว่า 41%YoY และ (2) ราคาถ่านหินที่ยังอยู่ในระดับสูง ด้านราคาหุ้น แม้จะปรับเพิ่มมาแล้วกว่า 23.4% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แต่ยังมีปัจจัยบวกสนับสนุนการลงทุน

ด้าน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  แนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” BANPU ด้วยราคาเป้าหมาย 25 บาท/หุ้น หลังราคาถ่านหินโลกยังสูงอยู่ราว 108 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (1QTD) จึงคาดว่าช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ราคาถ่านหินก็จะยังสูงต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มอ่อนตัวใน ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทำให้ราคาเฉลี่ยทั้งปีเฉลี่ยคาดอยู่ที่ 85 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (ปี 60= 89.7ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน) สาเหตุหลักเนื่องจาก ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณผลิตค่อนข้างจำกัด

อย่างไรก็ตามราคาถ่านหินโลกยังอยู่ในระดับสูง จะส่งผลดีต่อ BANPU ทำให้ราคาขายเฉลี่ย (ASP)ของเหมืองอินโดนีเซีย (ITM) จะเพิ่มเป็น 79ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในปี 61 +5% จากปี 60 ที่ 75ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน โดย 1) ASP เพิ่มขึ้นสูงกว่าต้นทุนผลิตปี 61 ที่เพิ่มขึ้น (55ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน สำหรับเหมือง ITM) 2) ปริมาณสำรองถ่าน หินเพิ่มขึ้น เพราะราคาสูงขึ้น ทำให้สามารถขุดได้ลึกมากขึ้น ทั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ผลประกอบการ 4Q60 มีกำไร ประมาณ 2.5 พันลบ. และดีต่อเนื่องไปใน 1Q61

ซึ่งราคาเป้าหมายที่ 25 บาท ด้วยวิธี SOTPแบ่งเป็นธุรกิจถ่านหิน 13 บาท อิงวิธี P/E ratioและ 12 บาทจาก BPP (BANPU ถืออยู่78.6%) โดยวิธี DCFแต่ถ้าหากรวมค่าชดเชยความเสียหายราว 6 บาท/หุ้น (อ้างอิงจากคำพิพากษาของศาล ชั้นต้น หากบริษัทแพ้คดีโรงไฟฟ้าหงสา)จะทำให้ราคาเป้าหมายลดลงเป็น 16 บาท

www.mitihoon.com