อันดับที่ 1 กูรู ยันผลงานแบงก์ยังโตได้ แม้ประกาศฟรีค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บล.เอเซีย พลัส โดย นางสาวอุษณีย์ ลิ่วรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ เปิดเผยว่า จากการประเมินหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในกรณีออกมาประกาศยกเลิกเก็บค่าธรรมเนียมผ่านบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไว้แล้ว ซึ่งเชื่อว่าในระยะสั้นอาจมีผลกระทบต่อราคาหุ้น แต่ในระยะต่อไปนั้นเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อผลประกอบการของธนาคารแต่อย่างใด ด้วยที่ว่าค่าธรรมเนียมในแต่ละปีนั้น จากการประเมินแล้วมิได้มีการเติบโตแต่อยู่ในภาวะทรงตัวมาโดยตลอด แต่อีกมุมหนึ่งทางธนาคารจะได้รับฐานลูกค้าที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก โดยช่องทางการหารายได้ของกลุ่มแบงก์นั้นมีหลายช่องทาง โดยหุ้นเด่น ที่แนะนำ ได้แก่ KBANK และ BBL เป็นต้น ทั้งนี้ 4 ธนาคาร ที่ได้ทำการฟรีค่าธรรมเนียม
อันดับที่ 2 TPIPP บวกสวนตลาดหลัง COD โรงไฟฟ้า TG6 หนุนกำไรปี61โต 90 %
มิติหุ้น-จากบทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)หยวนต้า(ประเทศไทย) ประเมินว่า TPIPP หรือ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ แนะนำ “สะสม” เป้าหมาย 8 บาท/หุ้น ภายหลัง SET INDEX ที่มี Upside จำกัด และจะเข้าสู่ช่วงคาบเกี่ยววันหยุดในเดือน เม.ย.2561 หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจะเคลื่อนไหว Outperform ตลาดได้แก่ TPIPP ซึ่ง มีปัจจัยบวกรออยู่คือการจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์หรือ COD โรงไฟฟ้า TG6 กำลังผลิต 90 MW ซึ่งจะเปรัยบเสมือนหัวใจขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรปี 2561 ให้โดดเด่น + 90% แนะนำ “สะสม” เป้าหมาย 8.00 บาท ส่วนความเคลื่อนไหวราคาหุ้นเช้านี้บวกสวนตลาดโดยยังสามารถปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 7 บาท/หุ้นหรือบวก 2.18 % ส่วนราคาล่าสุด (11.40 น.) อยู่ที่ 6.95 บาท/หุ้น บวก 0.10 บาท หรือ+1.46 % ด้วยมูลค่าการซื้อขาย43.59 ลบ.
อันดับที่ 3 JWD งัด 4 กลยุทธ์ ดันรายได้ปีนี้โต10% พร้อมเข้าซื้อหุ้นธุรกิจด้านอาหาร 60% คาดเริ่มดำเนินการได้ เม.ย.นี้
นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD หนึ่งในผู้นำธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ภาคพื้นดิน ทางเรือและทางอากาศอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า ปี 2561 ได้วางแผนขยายธุรกิจในไทยและต่างประเทศเพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์โซลูชั่นและซัพพลายเชนระดับอาเซียน ตั้งเป้าสร้างรายได้เติบโตจากปีก่อน 10% ทั้งนี้บริษัทจัดตั้งบริษัทย่อยเข้าซื้อหุ้นในบริษัท Chi Shan Long Feng Food Co., Ltd. (ประเทศไต้หวัน) ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการด้านอาหารจำนวน 3.6 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของทุนชำระแล้ว มูลค่าราว 161.78 ลบ.คาดว่าจะดำเนินการโอนหุ้นเสร็จสิ้นภายใน เม.ย.นี้
อันดับที่ 4 ESTAR ตั้งเป้า ปี 61 รายได้ 2พันลบ. ตุนแบ็กล็อก 8-900ลบ. รับรู้ปี้นี้ทั้งหมด ลุยเปิด 3-4 โครงการใหม่
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.อีสเทอร์น สตาร์ เรียลเอสเตท หรือ ESTAR โดย ดร.ต่อศักดิ์ เลิศศรีสกุลรัตน์ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ในปี 61 เตรียมเปิดตัว3-4โครงการใหม่ มูลค่าราว 3-4พันล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 1.6 พันล้านบาท และตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 2 พันล้านบาท โดยปัจจุบัน บริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ 800-900 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ทั้งหมดในปี61 นี้ ดร.ต่อศักดิ์กล่าวอีกว่า บริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายและโอนกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น 6 โครงการ มูลค่าราว 8.9 พันล้านบาท เป็นคอนโดใน กทม. 3โครงการ และบ้านเดี่ยวใน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 3 โครงการ ล่าสุด บริษัทฯ เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “VELANA” เจาะกลุ่ม Gen X&Y ที่เป็นวัยทำงาน อายุ 35-45 ปี
อันดับที่ 5 ICHI ส่งออกไปได้สวย กูรูส่องกำไรฟื้นตัวรอบ 4 ปี
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป หรือ ICHI ว่า ทางฝ่ายวิเคราะห์ชอบ ICHI แม้มองการเติบโตในประเทศยังท้าทาย แต่การปรับกลยุทธ์รุกส่งออกจะทำให้บริษัทขยายตัวได้อีกมาก จึงปรับลดคําแนะนําเป็น “ทยอยซื้อ” ราคาพื้นฐานปี่ 61 ที่ 9.20 บาท อิง PE 30X มากกว่าระดับการซื้อขายเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ 21x ระดับการซื้อขายเฉลี่ยของ ICHI ช่วงปี 58-60 โดยมองว่า ICHI มีแนวโน้มเติบโตเด่นกว่ากลุ่มและกำไรปี 61 จะฟื้นตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี