ในช่วงปลายเดือนมีนาคมธนาคารใหญ่ต่างพากันประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประเทศไทยที่จะเดินหน้าเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมไร้เงินสด โดย SCB ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านมือถือ และ internet banking โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม หลังจากที่ยกเว้นค่าธรรมเนียมการชำระเงินมาตั้งแต่ 4Q17 ซึ่งการประกาศของ SCB ทำให้ KBANK, KTB และ BBL ออกประกาศแบบเดียวกันโดยมีผลตั้งแต่ 28 มีนาคม, 29 มีนาคม และ 1 เมษายน ตามลำดับ ธนาคารที่มีจำนวนผู้ใช้บริการออนไลน์สูงที่สุดจะได้ประโยชน์มากที่สุดในระยะยาว เนื่องจากเราคาดว่าสัดส่วนต้นทุนต่อรายได้จะลดลง และ ROE จะเพิ่มขึ้นสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการในระบบดิจิตอล เมื่อเทียบกับลูกค้าที่ใช้บริการหน้าเคาเตอร์ ทั้งนี้ KBANK มีผู้ใช้บริการ mobile banking 8.1 ล้านคนในขณะที่ SCB มี 6.1 ล้านคน
ซึ่งการประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมจะลดลงในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้มากกว่ารายได้ที่หายไป โดยนักวิเคราะห์กรุงศรีมองว่าในระยะสั้น กำไรของ KBANK จะถูกกระทบมากที่สุด รองลงมาคือ SCB เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีฐานผู้ใช้บริการออนไลน์มากที่สุด โดย KBANK เคยบอกก่อนหน้านี้ว่าค่าธรรมเนียม PromptPay fees คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 6% ของ non-NII หลังจากที่ธนาคารใหญ่ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมรอบนี้ เราได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของ non-NII ธนาคารใหญ่ลง 3-4ppts เราเชื่อว่าธนาคารใหญ่ยังไม่ได้รวมผลกระทบจากการปรับลดค่าธรรมเนียมไว้ในเป้าหมายทางการเงิน และมองว่าเป้าของแต่ธนาคารต่างๆ มีความเสี่ยงด้าน downside
นอกจากนี้ เรามองว่า TMB ยังอาจถูกกระทบด้วยเนื่องจากแต่เดิมธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้กับบัญชีที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมการโอน การที่ธนาคารใหญ่ยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะบีบให้ TMB ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อรักษาฐานลูกค้า สำหรับผลด้านบวกนั้น เราคิดว่าธนาคารที่มีจำนวนผู้ใช้บริการธนาคารในระบบออนไลน์มากกว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่าย OPEX ของการให้บริการผ่านสาขา, ค่าใช้จ่ายพนักงาน และการขนส่ง (การขนเงินสดไปเติม/เก็บเงินสดจากตู้ ATMs) ลงได้ ดังนั้น เมื่อเทียบต้นทุน/ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นแล้วก็น่าจะเกินคุ้มเมื่อเทียบกับรายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไป
หลังการประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียม เราได้ปรับลดประมาณการกำไรปี FY18-19F ของ BBL, KTB และ KBANK ลง 2-4% หลังจากที่ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของ non-NII ลง 2-4ppts เราปรับลดประมาณการกำไรของ SCB ลง 6% เพื่อสะท้อนถึง อัตราการเติบโตของ non-NII ที่ชะลอลง (-3ppts) และ credit cost ที่เพิ่มขึ้น (+5bp) เรายังคงคำแนะนำซื้อ แต่ปรับลดราคาเป้าหมายของ BBL ลงเหลือ 235 บาท (จากเดิม 240 บาท), ของ KTB เหลือ 21.50 บาท (จากเดิม 22 บาท) และของ SCB เหลือ 160 บาท (จากเดิม 170 บาท)
เรายังคงคำแนะนำถือ KBANK โดยให้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 225 บาท (จากเดิม 230 บาท) เราชอบ BBL เนื่องจากราคาหุ้นไม่แพง และ NPL coverage ก็อยู่ในระดับสูง และชอบ TISCO ในแง่ของแนวโน้มกำไรที่ชัดเจนในขณะที่ถูกกระทบน้อยมากจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง และการนำมาตรฐานบัญชี IFRS9 มาใช้
www.mitihoon.com