ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท

482

จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์กรุงศรีมีการศึกษาถึงผลกระทบของการแข็งค่าของเงินบาทกับกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งพบว่า ค่าเงินบาทที่สวนทางกับ ADX (ตะกร้าเงินเอเซีย 10 สกุล) ในรูปเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงได้ถ่างกว้างขึ้นเป็น -5.1% เกินกว่าช่วง -4.0% ซึ่งจากข้อมูลสิบปีย้อนหลังพบว่าเป็นระดับที่จะทำให้เกิดการกลับทิศ ส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอลง และทำให้เงินบาทกลับทิศได้ เป็นการชี้ว่าการส่งออกของไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป และการนำเข้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกที่ชะลอตัวอาจจะทำให้โมเมนตั้มการขยายตัวของ GDP และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจชะลอลง สร้างแรงกดดันในระยะสั้นให้กับ SET ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทอาจจะมีโอกาสอ่อนค่าลงได้ในระยะสั้น แต่ก็ยังน่าจะแข็งค่าในระยะกลางจากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของประเทศไทย และความคาดหมายว่าเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ค่าเงินบาท และ SET Index มีค่าสหสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (0.16 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา) โดยมีหุ้นหกกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ พลังงาน, ปิโตร, อาหาร, อิเล็กทรอนิกส์, การท่องเที่ยว, และ เกษตร ซึ่งคิดเป็น 35% ของมูลค่าตลาด ที่มีรายได้เชื่อมโยงกับสกุลดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของหุ้นเหล่านี้ก็มีทั้งดีและแย่

กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ถูกกระทบมากที่สุด ราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงมาแล้วถึง 33% จากระดับสูงสุดเมื่อเก้าเดือนก่อน ในขณะที่ SET ขยับเพิ่มขึ้น 15% และ P/E ก็ลดลงจาก 16 เท่า จากเดือนกรกฎาคม 2017 เหลือแค่ 13 เท่า ในเดือนมีนาคม 2018 ขณะที่กลุ่มพลังงานและกลุ่มปิโตร ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเนื่องจากราคาน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงขึ้น และกลุ่มท่องเที่ยวยังคงได้รับประโยชน์จากภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ถึงแม้การที่บริษัทส่วนใหญ่จะมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งช่วยจำกัด downside ไปได้บางส่วน แต่กระแสเงินสดก็จะยังคงถูกกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอยู่ดี ทำให้เรามองว่านักลงทุนควรจะใช้โอกาสที่บาทกลับมาอ่อนนี้เป็นจังหวะที่จะขายหุ้นในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ออกไป

ขณะที่หุ้นกลุ่มเกษตรที่เกี่ยวกับอาหารสัตว์ อย่าง TU จะถูกกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมากกว่า CPF เนื่อง

จากราคาเนื้อสัตว์ที่ลดลงเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันหุ้นกลุ่มเกษตร ขณะที่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรค ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกอาหารจะลดลง ทั้งนี้ การที่ค่าเงินของสหรัฐ และบราซิล (สองในห้าประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่สุดของโลก) อ่อนลงจะกระทบกับตลาดส่งออกของผู้ส่งออกไก่รายใหญ่อย่าง (6%) และ GFPT (25%) ในขณะที่ TU จะถูกกระทบมากกว่าเนื่องจาก 90% ของยอดขายมาจากต่างประเทศ และตลาดส่งออก

ขณะที่กลุ่ม medical tourism จะถูกกระทบบ้าง แต่ไม่รุนแรงอะไร ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาท อาจทำให้ไทยจะเสียผู้ป่วยจากเมียนมาร์ และบังกลาเทศ (ซึ่งเป็นผู้ป่วยต่างชาติอันดับที่ 2  และ 5 ของ BH) ไปให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย (ชาวเมียนมาร์ และบังคลาเทศคิดเป็นสัดส่วน 3% และ 30% ของ medical tourists) เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งขึ้นถึง 11% เมื่อเทียบกับ INR ในรอบสิบสองเดือนที่ผ่านมา เรามองว่าประเด็นนี้เป็นแค่ความเสี่ยงระยะสั้น เนื่องจากประเทศไทยยังคงมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพราะมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และบริการทางการแพทย์ที่แข็งแกร่ง เราชอบ BCH มากกว่า BH และ BDMS เนื่องจากมีสัดส่วนผู้ป่วยต่างชาติแค่ 5% ของรายได้รวมเท่านั้น ในขณะที่ BH มีมากถึง 65% และ BDMS ก็มีมากถึง 30%

โดยบมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา