PTT ร่วงแรงเกิน 2 วันลงเกือบ 11 % กูรูเชียรืซื้อให้เป้า 60.50 บาท/หุ้น

376

มิติหุ้น-ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น PTT ปรับตัวลงต่อเนื่อง 2 วัน โดยราคาปิดตลาดวันนี้อยู่ที่ 50.75 บาท/หุ้น ลดลง 2.75 บาท หรือ-5.14 % ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 12,322.01 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเมื่อ 2 วันก่อนราคาปรับลงจาก 57 บาท/หุ้น ซึ่งปรับลดลงไปเกือบ 11 % ล่าสุด PTT ระบุอยู่ระหว่างศึกษาลงทุนห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้าตั้งแต่เหมือง   ลิเทียมยันสนใจรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน

ด้านบทวิเคราะห์ บล.ซีจีเอส ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย) ระบุว่า ราคาหุ้น PTT และหุ้นกลุ่มโรงกลั่นถูกตลาดเทขายออกมามากเกินไป เพราะความกังวลต่อ Downside จากข่าวตรึงราคา LPG และ ดีเซล โดยมองว่าผลกำไรของ PTT และโรงกลั่นมี downside จำกัด จากข่าวนี้เนื่องจากรัฐบาลจะใช้เงินกองทุน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรักษาระดับราคาดีเซลอยู่ที่ 30 บาท/ลิตร และ LPG ที่ 20 บาท/กก. จึงเชื่อว่าราคาหุ้น PTT ที่ ปรับตัวลงช่วง 2 วันที่ผ่านมาเป็นโอกาสที่าจะเข้าซื้อเพราะ PTTEP และ PTTGC คาดจะมีกำไรเติบโตแข็งแกร่งด้วยปัจจัยจากราคาน้ำมันและปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ในไตรมาส 1/2561 ซึ่งจะหักล้างกำไรที่ทรงตัวจากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน ของโรงกลั่น

นอกจากนี้ นโยบายตรึงราคาของรัฐน่าจะมี downside จำกัดต่อผลกำไรเนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบน่าจะไม่ยืนอยู่สูงกว่า 86 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลนานนัก จึงมองว่าน่าจะเกิด downside risk ต่อ PTT เพียงเล็กน้อย จึงแนะนำให้เข้าซื้อหุ้นโรงกลั่นคือ TOP , SPRC เมื่อราคาหุ้นปรับลง โดยมองว่าจังหวะที่น่าสนใจคือเมื่อราคาหุ้น TOP ลงไปต่ำกว่า 90 บาท และ SPRC ต่ำกว่า 16 บาทก่อนที่ทั้ง 2 บริษัทจะมีกำไรฟื้นตัวในไตรมาส3/2561

ขณะที่ บมจ.ปตท.หรือ PTT โดยนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ธุรกิจไฟฟ้าจะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆในของห่วงโซ่ธุรกิจ ทำให้ปตท.เข้าไปศึกษาในหลายมุมของธุรกิจ การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซฯ พลังงานทดแทน การเข้าไปลงทุนในบริษัทวิจัยด้านแบตเตอรี่ รวมถึงลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในเทคโนโลยีทั่วโลกที่เกี่ยวกับด้านแบตเตอรี่ เพื่อหาโอกาสที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด การลงทุนสถานีอัดประจุ รวมถึงได้หารือกับผู้ที่สนใจจะผลิตรถไฟฟ้า ผลิตแบตเตอรี่ ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุ ในสถานีบริการน้ำมัน หลายราย ซึ่งพวกนี้จะเป็นห่วงโซ่ธุรกิจที่จะมีผลต่ออนาคตพลังงานของประเทศและของโลก

ส่วนโครงการชรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจกลุ่มปตท.จึงได้ซื้อเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากบริษัทในกลุ่มมีศักยภาพที่จะลงทุนได้ ขณะเดียวกันโครงการก็อยู่ในเส้นทางที่เข้าไปในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นฐานผลิตหลักของกลุ่มปตท. ด้วยที่สามารถลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับได้ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าก็จะเป็นโอกาสในการเข้าไปเสนอตัวเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ และการก่อสร้างขนาดใหญ่ปตท.ก็มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน ส่วนโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ นั้นปตท.ยังไม่ได้เข้าไปศึกษา

 

www.mitihoon.com