อันดับที่ 1 บล.โกลเบล็ก จุดทัพใหม่ รุกยุคดิจิตอล มองดัชนีปีนี้อยู่ในกรอบ 1,650-1,880 จุด ชี้หุ้นเด่น CPF-KCE-BANPU
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บล. โกลเบล็ก หรือ GBS โดย นายธนพิศาล คูหาเปรมกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ภายในปีนี้บริษัทได้ปรับ Bussiness Model สู่ Platform การลงทุนที่ครบวงจร โดยการเร่งพัฒนา Model Trade การลงทุนเพื่อตอบสนองยุคดิจิตอล โดยใช้โปรแกรมเทรดอัจฉริยะ ภายใต้ MT4 SMART EA พร้อมทั้งยังขยายธุรกิจด้าน Block trade และธุรกิจด้าน Structure note ภายในไตรมาส 3/2561 นี้ สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยประเมินกรอบดัชนีปีนี้ไว้ที่ 1,650-1,880 จุด โดยแนะนำลงทุนในหุ้นที่มีข่าวดี อาธิ หุ้นกลุ่มส่งออก ได้แก่ CPF-KCE เป็นต้น และกลุ่มถ่านหิน ได้แก่ BANPU เป็นต้น สำหรับกลุ่มที่ยังไม่แนะนำให้เข้าลงทุนได้แก่ กลุ่มธนาคาร เนื่องจากการบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 และกลุ่มการงาน เนื่องด้วยยังคงมีความกังวลด้าน หนี้เสีย(NPL)
อันดับที่ 2 PTT เตรียมตั้ง PTTOR China รุกขยายตลาดน้ำมันหล่อลื่น-กาแฟอเมซอนในจีน หวังเพิ่มฐานเติบโตระยะยาว คาดยอดขายน้ำมันหล่อลื่นปีนี้โต 5%
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ. ปตท. หรือ PTT โดยนายบุรณิน รัตนสมบัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจหล่อลื่น เปิดเผยว่า ปตท.เตรียมจัดตั้งบริษัท พีทีทีโออาร์ ไชน่า จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจัดหาน้ำมันหล่อลื่นในจีน โดยอยู่ระหว่างยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ราวเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ ซึ่งตั้งเป้าหมายจะจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นและกาแฟอเมซอน โดยการจำหน่ายอเมซอน มีเงื่อนไขจะต้องเปิดสาขาให้ได้ก่อน 2 แล้วจะสามารถขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ สำหรับการขยายตลาดในประเทศจีน ในอนาคตยังมองถึงการเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) หรือร่วมลงทุน (JV) ทั้งโรงงานผลิต หรือบริษัทที่ทำธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น และรูปแบบจ้างผลิต (OEM) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมในระยะต่อไป ทั้งนี้ ในปี 2561 ปตท. ตั้งเป้ายอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นอยู่ที่ 180-190 ล้านลิตร หรือเติบโต 5% จากปีก่อน โดยเป็นยอดจำหน่ายในประเทศ 160 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 3-5% จากปีก่อน และส่งออก 28-30 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 15-20% จากปีก่อน
อันดับที่ 3 GUNKUL ครบรอบ 36 ปี ฉายวิสัยทัศน์ธุรกิจโตทุกภาคส่วน ลุยปั้น PPA ครบ 1,000 MW ภายใน 1,000 วัน
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง โดย นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร เปิดเผยภายในงานครบรอบ 36 ปี GUNKUL ว่า บริษัทมีความต้องการให้พื้นฐานธุรกิจมีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในทุกปี ตามการเสริมสร้างธุรกิจให้มีศักยภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับทิศทางธุรกิจ ทางบริษัทได้เข้าไปลงทุนโซลาร์ Private PPA มากขึ้น โดยตั้งเป้า 100 เมกะวัตต์ในปีนี้ โดยช่วงครึ่งปีแรกสามารถทำได้แล้ว 50 เมกะวัตต์ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าจะมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ครบ 1,000 ภายในระยะเวลา1,000 วันจากนี้ หรือภายในปี 2563
อันดับที่ 4 SCC ทุ่มอีก 2.9 พันลบ. ซื้อ Long Son Petrochemicals ธุรกิจในเวียดนาม ถือครบ 100% คาดดีลจบภายใน มิ.ย.61 นื้
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย หรือ SCC โดย นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า SCC ได้ลงนามในสัญญาเพื่อถือหุ้น 100% ในโครงการ Long Son Petrochemicals โดยให้บริษัท วีนา เอสซีจี เคมิคอลส์ จ ากัด (VSCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในธุรกิจเคมิคอลส์ที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด ได้ลงนามในสัญญากับ Vietnam Oil and Gas Group (PetroVietnam) เพื่อซื้อหุ้นสัดส่วน 29 ใน Long Son Petrochemicals Co. LTD (LSP) ที่ราคาประมาณ 2,900 ล้านบาท (2,052 พันล้านเวียดนามดอง) โดยคาดว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปลายเดือน มิ.ย.2561 เมื่อดำเนินธุรกรรมดังกล่าวแล้วเสร็จ SCC จะถือหุ้นโดยอ้อมใน LSP เพิ่มขึ้นจาก 71% เป็น 100% ซึ่งหุ้นจำนวน 100% จะถือโดยบริษัท วีนา เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด 82% และบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ยังคงถือในสัดส่วน 18% เท่าเดิม ดังนั้นส่วนทุน (ร้อยละ 40 ของเงินลงทุนรวม) ของ SCC ในโครงการมูลค่า 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 173,000 ล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่ประมาณ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ) นี้ จะเพิ่มขึ้นจาก 53,392 ล้ านบาท ที่เคยแจ้ งไว้เดิม เป็น 70,000 ล้านบาท เนื่องมาจากการเข้าถือส่วนทุนที่เพิ่มขึ้นและการ เปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
อันดับที่ 5 AOT ปัจจัยพื้นฐานยังแกร่ง ราคาลงเหมาะเข้า “สะสม” โบรกฯ แนะ ”ซื้อ” เป้า 92 บาท
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT ให้ราคาเหมาะสมที่ 92 บาท โดยมองว่า ราคาหุ้นที่อ่อนตัวลง 3% ในรอบ 7 วันทำการที่ผ่านมา จากการปรับพอร์ตของนักลงทุนสถาบัน ภายหลังจากที่ไทยถูกลดน้ำหนักจากดัชนี MSCI Index ซึ่งจะมีผลในวันที่ 31 พ.ค.นี้ ดังนั้น การปรับตัวลดลงของราคาหุ้น จึงเป็นแค่ผลกระทบระยะสั้น และไม่กระทบปัจจัยพื้นฐานแต่อย่างใด ดังนั้น ด้วยแนวโน้มกำไรปกติเติบโตต่อเนื่องใน Q360/61 จึงเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้น ล่าสุด AOT เผยแผนลงทุนท่าอากาศยานใหม่ 2 แห่ง เพิ่มจากแผนลงทุน 10 ปี เพื่อก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่ 2 (สร้างที่ลำพูน) และภูเก็ต 2 (สร้างที่พังงา) งบลงทุน (ไม่ร่วมค่ำที่ดิน)1.2 แสนล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้ง 3-4 ปี เป็นบวกต่อการเติบโตของรายได้ผู้โดยสาร และส่วนแบ่งรายได้ดิวตี้ฟรี หนุนให้ศักยภาพรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 15 ล้านคน (15% ของปัจจุบัน) และบริษัทมีเงินทุนเพียงพอต่อการลงทุน เนื่องจากมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูงถึงปีละ 3 หมื่นล้านบาท/ปี และเงินสดในมืออีก 6 หมื่นล้านบาท