ราคาน้ำมันดิบดิ่ง จากความกังวลสงครามการค้าและความต้องการใช้น้ำมันดิบจีนชะลอตัว

317

– ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง จากความกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันดิบของจีน หลังจีนได้ทำการประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีการนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 25% ต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ วงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบและรถยนต์ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่ประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมในอัตรา 25% โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.

– ความต้องการใช้น้ำมันดิบจากจีนยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง หลังมีรายงานตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 8.48 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นอันดับ 3 ในรอบปี 2561 จากความต้องการใช้ของโรงกลั่นน้ำมันอิสระที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตามการนำเข้าปรับเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันอิสระในจีนที่กลับมาดำเนินการผลิตหลังทำการปิดซ่อมบำรุง

– สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ จะปรับลดลงถึง 3.3 ล้านบาร์เรลอย่างไรก็ดี ด้านปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดราว 1.7 ล้านบาร์เรล

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่ลดลงจากกการลดกำลังการผลิตในประเทศจีน ประกอบกับได้รับอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศศรีลังกา

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากการส่งออกน้ำมันดีเซลที่ลดลงจากประเทศจีน ล อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากกาครกลับมาดำเนินการของโรงกลั่นในประเทศสิงคโปร์

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นหลังแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Syncrude ในแคนาดา กำลังการผลิต 360,000 บาร์เรลต่อวัน มีแนวโน้มกลับมาผลิตได้ตามปกติในเดือน ส.ค.
  • การร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกได้ปรับลดลงกว่าร้อยละ 5 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 111 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังทั้งสองกลุ่มผู้ผลิตตัดสินใจปรับเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมโอเปกที่ผ่านมา
  • ปริมาณการผลิตและส่งออกของลิเบียมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น หลังท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบ Zueitina และ Hariga กลับมาดำเนินการตามปกติ นอกจากนี้ ท่าเรือ Ras Lanuf และ Es Sider สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้แล้วด้วย แม้ว่าจะอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงถังเก็บน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง Sharara ยังคงหายไปกว่า 160,000 บาร์เรลต่อวัน หลังเกิดเหตุลักพาตัวคนงานโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

โดยหน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน

บมจ.ไทยออยล์

www.mitihoon.com