อันดับที่ 1 BANPU ควัก 990 ลบ. ซื้อเหมืองถ่านหิน NPR ในอินโดฯ เริ่มผลิตในปี 2565
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.บ้านปู หรือ BANPU โดยนางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า บริษัทให้บริษัท Indotambangraya Megah TBK. (ITM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BANPU ลงนามในสัญญาซื้อหุ้น 100% ในเหมืองถ่านหิน PT Nusa Perdana Resources (NPR) มูลค่า 990 ล้านบาท โดยเหมืองถ่านหิน NPR มีปริมาณสำรองถ่านหินจำนวน 77.4 ล้านตัน ตามสัดส่วนการถือหุ้น เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพค่าความร้อนประมาณ 5,500 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในปี 2565 ซึ่งสามารถรองรับการเติบโตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
อันดับที่ 2 IRPC ชี้ Q3/61 ผลงานโตต่อเนื่อง หนุนทั้งปี “นิวไฮ” จ่อปิดดีลซื้อกิจการปิโตรเคมี 1 แห่งภายในไตรมาส 3 นี้
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.ไออาร์พีซี หรือ IRPC ผู้ประกอบการโรงกลั่นและปิโตรเคมี โดยนางรัชดาภรณ์ ราชเทวินทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สาบบัญชีและการเงิน เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 3-4/61 ยังคงเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาพรวมผลประกอบการปี 2561 ยังมั่นใจว่าจะเติบโตทำสถิติสูงสุด (นิวไฮ) เนื่องจากปีนี้เป็นปีของการรับรู้รายไดเต็มปีจากการขยายลงทุนในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นโครงการขยายกำลังการผลิตโพลีโพรพิลีน (PP) การดำเนินโครงการ Everest forever ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการ Everest เพิ่มขีดความสามารถในการลงทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (UHV) รวมถึงการรับรู้รายได้เต็มปีจากโรงไฟฟ้าไออาร์พีซี คลีนเพาเวอร์ 2 ขณะที่ความคืบหน้าแผนซื้อกิจการปิโตรเคมีขั้นปลาย มั่นใจว่าภายในไตรมาส 3 นี้ จะได้ข้อสรุป 1 ราย
อันดับที่ 3 CPT อวดงบ Q2/61 กำไรกระฉูด 148% ชี้ครึ่งปีหลังเข้าไฮซีซั่น จ่อบุ๊ครายได้กว่า 361 ลบ.
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.ซีพีที ไดร์ แอนด์ เพาเวอร์ หรือ CPT โดยนายสมศักดิ์ หลิมประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เผยว่า ผลดำเนินงานไตรมาส 2/61 (เม.ย.-มิ.ย.61) มีกำไรสุทธิ 14.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 148% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปริมาณการส่งมอบงานเพิ่มขึ้น รวมถึงรับรู้รายได้จากงานที่เลื่อนส่งมอบจากไตรมาส 1/61 ส่งผลให้รายได้รวม 211.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเข้าร่วมประมูลงานจากลูกค้าภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่างานในมือ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างยื่นประมูลงานต่างๆ รวมมูลค่าโครงการอีกกว่า 1,000 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ เพื่อผลิตตู้ไฟฟ้ามาตรฐานสูง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ และดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในต้นปี 2562
อันดับที่ 4 BEC ขาดทุนอ่วม 23 ลบ.พิษเม็ดเงินโฆษณาหด
มิติหุ้น-BEC หรือ บมจ.บีอีซี เวิลด์ ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นปรับลงไปต่ำสุดที่ 7.95 บาท หรือลดลง 9.66 % ส่วนราคาล่าสุด(14.55 น.)อยู่ที่ 8.20 บาท ลดลง 0.60 บาท หรือ-6.82 % ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 110 ล้านบาท โดยราคาปรับลงแรงช่วงบ่ายภายหลังผลประกอบการไตรมาส 2/2561 ขาดทุนด้านบทวิเคราะห์บล.หยวนต้า(ประเทศไทย)ระบุว่า BEC รายงานผลกำไรสุทธิไตรมาส2/61 ที่ 23 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2/2560 ที่มีกำไรสุทธิ 113 ล้านบาท แต่ถือว่าฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ขาดทุนสุทธิ 126 ล้านบาท ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับที่เราและตลาดคาดคงคำแนะนำ “ถือ” ที่ราคาเป้าหมาย 8.60 บาท
อันดับที่ 5 บล.แอพเพิล เวลธ์ ยันไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตบิทคอยน์ ชี้ “ประสิทธิ ศรีสุวรรณ” ไม่มีอำนาจบริหาร – ไม่ใช่ พนง.บริษัท
บล.แอพเพิล เวลธ์ ยันไม่เกี่ยวข้องกรณีทุจริตบิทคอยต์ ระบุ “ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ” ไม่มีอำนาจในการบริหารและไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัทฯ แต่อย่างใด พร้อมย้ำการดำเนินธุรกิจยึดมั่นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงาน ก.ล.ต. นายวรากรณ์ กุนทีกาญจน์ ประธานเจ้าหนเที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์แอพเพิล เวลธ์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าเพื่อความขัดเจนและเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน กรณีที่มีข่าวเรื่องคดีทุจริตการลงทุนในเงินสกุลดิจิตัล “ดราก้อน คอยน์” นั้นขอยืนยันว่าบริษัทไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับกรณีดังกล่าว