- วันที่ 18 กันยายน 2018 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศจะเก็บภาษีนำเข้า (import tariff) สินค้าจากจีนมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อัตรา 10% โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่
24 กันยายน 2018 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2019 จำนวน 5,745 รายการ (ลดลงจากรายการเดิมที่ 6,031 รายการ) คิดเป็นมูลค่าราว 8.3% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้ งหมดของสหรัฐฯ ในปี 2017 ซึ่งเป็ นผลมาจากการตรวจสอบการละเมิดทรั พย์สินทางปัญญาและการค้าที่ไม่ เป็นธรรมของประเทศคู่ค้ าตามมาตรา 301 ของกฎหมายการค้าสหรัฐฯ (Trade Act of 1947)
- ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนเตรี
ยมตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้ าสินค้าจากสหรัฐฯ ในลักษณะคล้ายกันมูลค่ารวม 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อัตรา 5-25% (อาจปรับลงเหลือ 5-10% ภายหลัง) จำนวน 5,207 รายการ คิดเป็นมูลค่าราว 3.3% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้ งหมดของจีนในปี 2017 ซึ่งจะมีผลทันทีหลังสหรัฐฯ บังคับใช้การเก็บภาษีสินค้ านำเข้าจากจีน
- อีไอซีปรั
บผลกระทบของสงครามการค้าต่ อการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นจากเดิ มที่เคยคาดว่าอาจมีผลกระทบมูลค่ าการส่งออกราว 1.1% เป็น 6.1% ของมูลค่าการส่งออกรวม สงครามกา รค้ามีแนวโน้มกระทบห่วงโซ่ การผลิตและการค้าโลกมากขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อการส่ งออกไทยจะเริ่มชัดเจนมากขึ้ นโดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ และจีน ช่วงครึ่งแรกปี 2018 ปริมาณการค้าโลกเริ่มชะลอเล็กน้ อยตามการเติบโตในหลายประเทศที่ เริ่มชะลอลง ทั้งนี้ การค้าโลกยังได้รับปัจจัยลบเพิ่ มเติมจากภาวะสงครามการค้าสหรัฐฯ และจีน แม้ว่าผลกระทบการตั้งกำแพงภาษี ขนานใหญ่จะจำกัดอยู่เฉพาะสหรัฐฯ และจีน แต่ผลกระทบสงครามการค้าได้ส่งผ่ านทางการเชื่อมโยงการค้าในห่ วงโซ่อุปทานการผลิตของสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะการค้าในสินค้าขั้นต้ นและขั้นกลางกับจีนที่มีแนวโน้ มได้รับผลกระทบมากขึ้น ทั้งนี้ ไทยมีบทบาทค่อนข้างสำคัญในห่ วงโซ่อุปทานของจีน และจะได้รับผลกระทบมากหากการส่ งออกจีนชะลอตัว ดังนั้น เมื่อนับรวมการเก็บภาษีนำเข้ าของสหรัฐฯ ในรอบนี้ อีไอซีได้ปรั บผลกระทบของสงครามการค้าต่ อการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นจากเดิ มที่เคยคาดว่าจะกระทบมูลค่ าการส่งออกราว 1.1% เป็น 6.1% (รูปที่ 5) ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนนี้เป็นการสะท้ อนเพดานความเสี่ยงด้านสูง เนื่องจากสมมติว่าไทยส่งออกไปยั งสหรัฐฯ และจีนในสินค้าดังกล่าวไม่ได้ เลยและไม่สามารถหาตลาดทดแทนได้ โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบส่ วนใหญ่จะอยู่สินค้าขั้นต้นและขั้ นกลางที่อยู่ในสายการผลิตของจีน อาทิ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ สำหรับผลกระทบต่อการส่ งออกจากสงครามการค้าสหรัฐฯ และจีนนั้นผลกระทบต่อการส่ งออกไทยผ่านห่วงโซ่การผลิตจีนยั งจำกัด แต่คาดว่าผลกระทบจะเริ่มชัดขึ้ นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ถึงปีหน้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวั งต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบการที่ พึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯ และจีน สำหรับผลกระทบจากมาตรการภาษี นำเข้าอื่นของสหรัฐฯ ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่ ช่วงต้นปี เริ่มส่งผลกระทบบางส่วนต่อการส่ งออกไทย จากรายงานข้อมูลการส่งออกไทย ณ เดือนกรกฎาคม พบว่ามูลค่าการส่งออกหมวดเครื่ องซักผ้าและแผงโซลาร์ลดลง 24.9%YTD และ 64.6%YTD ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกเหล็กและอะลูมิ เนียมยังขยายตัว 0.53%YTD และ 30.5%YTD ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง 1.9%YOY
- ผลลบต่อการส่งออกไทยปีนี้จำกั
ดแม้เริ่มมีความเสี่ยงสูงขึ้น ในอีกด้าน สงครามการค้าสหรัฐฯ และจีนอาจส่งผลบวกทางอ้ อมจากการย้ายฐานการผลิตบางส่ วนเข้ามาในไทย รวมถึงโอกาสในการส่งออกบางสินค้ าเพิ่ม ด้านการย้ายฐานการผลิ ตโดยเฉพาะผู้ผลิตจีนเริ่มมี แนวโน้มพิจารณาย้ายสายการผลิ ตบางส่วนเข้ามาในไทย และใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่ อการส่งออกเพื่อลดผลกระทบ นอกจากนี้ ผู้ผลิตจากจีนและสหรัฐฯ อาจมองหาแหล่งนำเข้าวัตถุดิ บและสินค้าทดแทนเพื่ อลดผลกระทบจากสงครามการค้า ไทยจึงมีโอกาสได้รับประโยชน์ จากการส่งออกสินค้าทดแทนไปยั งสหรัฐฯ และจีน หากทั้ง 2 ประเทศลดการค้าระหว่างกัน และหันมานำเข้าสินค้ าจากไทยบางส่วนเพิ่ม โดยเฉพาะสินค้าสินค้าอุ ตสาหกรรมและสินค้าขั้นกลาง อาทิ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ชิ้นส่วนยานยนต์บางส่วน ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการส่ งออกบางชนิด เป็นต้น ด้วยภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิ จและการค้าโลกในภาพรวมที่ยังอยู่ ในเกณฑ์ดี อีไอซีมองการส่งออกไทยในปีนี้ยั งมีแนวโน้มเติบโตได้สูงที่ราว 8.5%YOY และผลกระทบทางลบส่งผลเฉพาะรายสิ นค้าที่ได้รับกระทบโดยตรง อาทิ เครื่องซักผ้า แผงโซลาร์ เหล็กและอะลูมิเนียม และสินค้าขั้นต้นที่ส่งออกไปจี นบางส่วนเพื่อการขึ้นรู ปและประกอบเพื่อส่งออกต่อ เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยาง และไม้ เป็นต้น
- จับตาความเสี่ยงไทยอาจถูกตัด GSP สืบเนื่องจากภาวะสงครามการค้าที่
ทวีความรุนแรงและการสอบสวนที่ เข้มงวดจากทางการสหรัฐฯ แม้ว่าเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2018 สหรัฐฯ ได้ต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษีศุ ลกากร (GSP) ให้ไทยไปจนถึงสิ้นปี 2020 แต่สภาผู้ผลิตสุกรแห่งชาติ ของสหรัฐฯ (National Pork Producers Council) ได้ยื่นเรื่องให้สำนักผู้ แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) พิจารณาจำกัดหรือตัดสิทธิ GSP ของไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 2018 เนื่องจากไทยกีดกันการนำเข้าเนื้ อหมูจากสหรัฐฯ เพราะตลาดเนื้อหมูในสหรัฐฯ เป็นอุตสาหกรรมหลั กในภาคเกษตรและมีความสำคัญต่ อเกษตรกรสหรัฐฯ ทั้งนี้ ไทยได้ประโยชน์จาก GSP สูงรวมมูลค่าราว 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2017 ด้วยภาวะสงครามการค้าที่มี ความตึงเครียดมากขึ้ นและการสอบสวนที่เข้ มงวดของทางการสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา อีไอซีมองว่าไทยอาจยังมีความเสี่ ยงที่จะถูกตัดสิทธิ GSP ได้บางส่วน ทั้งนี้ ในปี 2017 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสาเหตุการขาดดุลทางการค้ าและข้อเรียกร้องขอให้ไทยเปิ ดตลาดนำเข้าเนื้อหมูของสหรัฐฯ อาจถูกหยิบยกมาเป็นข้ อเจรจารวมถึงข้อต่อรองการตัดสิ ทธิหรือต่อ GSP ของไทยในระยะต่อไปได้
- ความผันผวนในตลาดการเงิ
นโลกโดยเฉพาะเงินทุนเคลื่อนย้ ายมีแนวโน้มกระทบค่าเงินบาทได้ ระยะต่อไป แม้ว่าตลาดการเงิ นโลกจะตอบสนองน้อยลงต่ อมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรั ฐฯ แต่ความเสี่ยงยังคงมีอยู่ต่อเนื่ องหากการเจรจาไม่ประสบผลหรือมี การประกาศการเก็บภาษีเพิ่มเติ มจากจีนและประเทศคู่ค้าหลั กของสหรัฐฯ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิ ดภาวะตลาดปิดรับความเสี่ยง (risk-off sentiment) ต่อตลาดหุ้นในกลุ่ มประเทศตลาดเกิดใหม่ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุ นออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไทยได้อย่างฉับพลัน อย่างไรก็ดี ภาคการส่งออกไทยมีความเชื่ อมโยงโดยตรงกับสินค้าเทคโนโลยี ของจีนที่ได้รับผลกระทบไม่ มากเท่าไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ประกอบกับฐานะทางการเงินไทยยั งแข็งแกร่งและผลกระทบต่อการส่ งออกไทยยังคงจำกัดในปีนี้ อีไอซีประเมินค่าเงินบาทเที ยบดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีความผันผวนต่ำเมื่อเที ยบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิ ภาคและคาดค่าเงินบาทอยู่ในช่วง 32-32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2018
ที่มา : Economic Intelligence Center (EIC) ธ.ไทยพาณิชย์
www.mitihoon.com