อันดับที่ 1 CWT ไตรมาส 3/61 กำไรโต 12% โชว์บุ๊ครายได้โรงไฟฟ้าชีวมวล 8 MW แย้มไตรมาส 4 โตต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป หรือ CWT โดยนายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ เผยว่า กำไรสุทธิในช่วงไตรมาส 3/61 อยู่ที่ 31.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.43 ล้านบาท หรือ 12.19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการรับรู้รายได้และกำไรของโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาดกำลังผลิต 8 เมกะวัตต์ (MW) ที่เริ่มขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ไปแล้วเมื่อวันที่ 24-25 เม.ย. 2561 ขณะที่ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 4/2561 คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากช่วงไตรมาส 3/2561 เนื่องจากผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ที่รอส่งมอบเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีงานในมือ(Backlog) ค่อนข้างสูง ประกอบกับยังมีการรับรู้รายได้จากธุรกิจของ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด (SAKUN C) ที่ทาง CWT ได้เข้าไปลงทุนด้วยการถือหุ้นในสัดส่วน 50.01%
อันดับที่ 2 ROBINS คาด Q4/61 กำไรนิวไฮของปี กางแผนเปิด 3 สาขาใหม่ปี 62 โบรกฯ แนะ “ซื้อ” เป้า 83 บาท
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ. โรบินสัน หรือ ROBINS โดย บล.ฟินันเซีย ไซรัส โดยระบุว่าภาพกำลังซื้อระยะนี้ ยังดูทรงๆ แต่คาดหวังการฟื้นตัวในเดือน ธ.ค. ที่เป็น High Season ของธุรกิจ และอาจมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย แต่ถึงแม้จะไม่มี โดยคาดกำไร Q4/61 จะเติบโตทำจุดสูงสุดของปี เพราะอัตรากำไรขั้นต้นจะกลับมาฟื้นตัวแรง จากการเพิ่มขึ้นของ Private Brand และจะเปิดสาขาใหม่อีก 1 แห่ง ในรูปแบบ Lifestyle Center
อันดับที่ 3 TKS ส่งซิกรายได้ทั้งปีทะลุ 2 พันลบ. รับรู้ส่วนแบ่งกำไรบริษัทลูก ขณะที่ผลงาน 9 เดือนกำไรพุ่ง 82%
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ. ที.เค.เอส.เทคโนโลยี หรือ TKS ผู้ประกอบการธุรกิจ Security Printing ครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ โดยนายสมคิด เวคินวัฒนเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ เผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในไตรมาส 4/2561 ยังเป็นช่วงเริ่มต้น ยังมีสถานการณ์ที่ยังต้องติดตามต่อ อาทิ สงครามการค้า ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยลบ โดยบริษัทได้มีการปรับรูปแบบการดำเนินงาน โดยไม่เน้นการเติบโตของยอดขาย แต่จะเน้นการเพิ่มอัตรา โดยที่ผ่านมา TKS มีการปรับรูปแบบธุรกิจไปในด้าน E-Service มากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ทดแทนการใช้กระดาษ และการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ สามารถลดต้นทุนของบริษัท ทำให้มีอัตรากำไรที่สูงขึ้น คาดอัตรากำไรขั้นต้นปีนี้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่าน หรือที่ประมาณ 23.02%
อันดับที่ 4 SIRI ฟื้นหลังทำนิวโลว์รอบเกือบ 6 ปี พิษ LTV –ลูกค้าทัวร์จีนหาย
มิติหุ้น-ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น SIRI หรือ บมจ.แสนสิริอยู่ในแดนบวกล่าสุด(14.38 น.) อยู่ที่ 1.29 บาท บวก 0.02 บาท หรือ+1.57 % ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 24.13 ล้านบาท ซึ่งราคาที่ปรับลงมาอย่างหนักในช่วง 17 วัน จนทำราคานิวโลว์ในรอบเกือบ 6 ปี ด้านบทวิเคราะห์ บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย) ระบุว่า ราคาหุ้น SIRI ปรับตัวลง 13.2 % ช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. เพราะความกังวลเรื่องผลกระทบจากเกณฑ์อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลหลักประกัน(LTV) ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โดยpresales ของ SIRI ประมาณ 35 % ในงวด 9 เดือน มาจากคอนโดมิเนียมที่ขายเป็นบ้านหลังที่สองหรือเพื่อการลงทุน และเป็นบ้านที่มีราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องวางเงินดาวน์เพิ่มขึ้นเป็น 20-30 % ขณะที่ SIRI มีแผนจะขยายระยะเวลาวางเงินดาวน์ของบโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบและขยายเวลาการก่อสร้างโครงการคอนโดมีเนียมออกไปเป็น 2-3 ปี เพื่อลดผลกระทบจาก LTV ใหม่ นอกจากนี้ยังมีผลขาดทุนใน The Standard ซึ่งประกอบธุรกิจบริหารโรงแรม แต่น่าจะเริ่มมีกำไรในปี 2021
อันดับที่ 5 ESTAR คาดรายได้ปี 62 ใกล้เคียงปีนี้ ลุยเปิดโครงการใหม่ 3-5 โครงการ ดันพรีเซล 2.7-2.8 พันลบ. ตั้งงบซื้อที่ดิน 1 พันล.
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.อีสเทอร์น สตาร์ หรือ ESTAR โดย ดร.ต่อศักดิ์ เลิศศรีสกุลรัตน์ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 62 จะรักษารายได้ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงปี 61 ที่คาดรายได้จะอยู่ที่ระดับ 2,000 ล้านบาท จากช่วง 9 เดือนแรกที่มีรายได้รวม 1,013 ล้านบาท ขณะที่ยอดขาย (Presale) ปี 62 คาดจะเติบโตกว่าปีนี้ที่คาดจะทำยอดขายได้ประมาณ 2,700-2,800 ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 3-5 โครงการ มูลค่ารวม 2,000-3,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีที่ดินรองรับการพัฒนาแล้วทั้งหมด เป็นโครงการในจังหวัดระยอง จำนวน 2 โครงการ ส่วนที่เหลือเป็นโครงการในกทม.