บริหารจัดการการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก(14/12/2561)

68

ตลาดหุ้นโลกอยู่ภายใต้การเทรดที่ผันผวนอย่างมากในช่วง 2H18 เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจและความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ที่กดดันการลงทุน The World MSCI Index และ MSCI Asia AXJ Index ปรับตัวลดลง 11.3% และ 12.1% จากจุดสูงสุดใน 3Q18 ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐเองมีการปรับตัวลดลง 10% ในช่วงเดียวกัน อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นนั้นดูเหมือนว่าจะปรับลดลงมากกว่าการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ  ดังนั้นเราคาดหวังเห็นการกลับตัวขึ้นในระยะสั้นๆ ซึ่งรูปแบบการซื้อขายที่น่าจะเห็นอย่างต่อเนื่องจนกว่าทิศทางเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินจะมีความชัดเจนเพิ่มขึ้น แม้ว่าความเสี่ยงของตลาดจะเป็นปัจจัยเดิมๆจากไตรมาสก่อน แต่ตลาดก็ปรับตัวลดลงเนื่องจากระดับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้มูลค่าที่ตรึงตัวทำให้นักลงทุนมีความอ่อนไหวกับกระแสข่าวต่างๆ รูปแบบการซื้อขายใน 1Q19 น่าจะยังถูกกดดันจากข้อพิพาททางการค้าสหรัฐ – จีน และความเป็นไปได้จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศจีนยังคงมีความสำคัญต่อตลาด Emerging market

ช่วงที่ผ่านมาตลาดเริ่มคาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมาถึงจุดสูงสุดและจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงใน 2019 หลายสำนักมีการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกอยู่ระหว่าง 3% – 3.7% อย่างไรก็ตามการปรับลงของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นการชี้ให้เห็นถึงความรัดกุมของการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางหรือมีการปรับนโยบายให้มีความเหมาะสม ซึ่งหมายถึงเงื่อนไขทางนโยบายทางการเงินน่าจะมีผลต่อการเติบโตอย่างมั่นคงใน 2019 ดังนั้น 2019 จึงเป็นปีที่มีความท้าทายต่อนโยบายทางการเงินที่จะจัดการอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การเติบโตของเศรษฐกิจไทยคาดปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันการชะลอตัวของการส่งออกที่ส่งผลให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่กิจกรรมภายในประเทศน่าจะส่งผลให้การเติบโตของไทยใน 2019 มีแนวโน้มที่ยังขยายตัวได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยนระยะยาว นั่นหมายถึงนโยบายทางการเงินนั้นจะค่อยๆปรับตึงตัวขึ้นในระยะถัดไป ทางหลักทรัพย์กรุงศรียังคงเป้าหมาย SET Index สำหรับสิ้นปี 2019 ที่ 1,900 ที่ P/E สำหรับปี 2019 ที่ 15.0 เท่า ที่ +0.75 SD

โดยตลาดน่าจะมีการปรับขึ้นอีกครั้งจากสภาพคล่องในประเทศที่ยังคงสนับสนุนและแรงซื้อจากต่างชาติที่น่าจะกลับมาเนื่องจาก (i) ค่าเงินดอลล่าร์ที่คาดว่าจะมีการอ่อนค่า (ii) การหมุนเงินกลับเข้าสู่ Ems จากมูลค่าที่อยู่ในระดับน่าสนใจและการเติบโตที่ชะลอตัวลงของสหรัฐฯ (iii) การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของการบริโภคในประเทศ (มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกระแสเงินไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ) ความเสี่ยงภายนอกยังคงมีอยู่ต่อเนื่องจากสงครามการค้าและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่มากกว่าคาด

โดยบริษัทหลักทรัพย์กรุงศรี จำกัด (มหาชน)

www.mitihoon.com