มิติหุ้น-PTTGC เร่งพัฒนาพอลิแลกติกแอซิดคาดผลวิจัยเสร็จปลายปีนี้พร้อมต่อยอดพัฒนาไบโอคอมเพล็กซ์เฟส2 ตั้งเป้าเลิกผลิตเม็ดพลาสติกซิงเกิ้ลยูท
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC ผู้ประกอบการโรงกลั่นและปิโตรเคมี โดยนายปฏิภาณ สุคนธมาน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาพอลิแลกติกแอซิด (Poly lactic acid) หรือ PLA โดยปัจจุบันดำเนินการวิจัย 2 แห่งที่จ.ระยอง และวิจัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริษัท เนเจอร์เวิร์ค จำกัด ที่ PTTGC ถือหุ้น 50% คาดว่าการวิจัยแล้วเสร็จปลายปี 62
โดยภายหลังจากการวิจัยแล้วเสร็จจะดำเนินต่อยอดลงทุนไบโอคอมเพล็กซ์เฟส2 เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกจากน้ำตาลและกากอ้อยที่เป็นเม็ดพลาสติกมัลติเคิล ยูทที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย (ไบโอดิเกทดิเบิ้ล) ไปทดแทนการผลิตเม็ดพลาสติกซิงเกิ้ล ยูส โดยตั้งเป้าหมายทดแทนภายใน 5 ปี จากปัจจุบันนี้มีการผลิตอยู่ 1.5 แสนตันจากกำลังการผลิตทั้งหมด 2 ล้านตันต่อปี
“ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างทดลองเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียด้วยน้ำตาลจากน้ำอ้อย จากเดิมที่เลี้ยงด้วยน้ำตาลจากข้าวโพดในการวิจัยระดับปฏิบัติการ ซึ่งผลออกมาค่อนข้างดี หลังจากนั้นจะจัดทำเป็นโครงการนำร่องเพื่อหาข้อสรุปก่อนตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายสำหรับการลงทุน PLA ที่มีคุณสมบัติแข็งใสย่อยสลายได้เร็วขึ้นซึ่งเป็นสารตั้งต้นของผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติก”
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน PTTGC ก็มีการผลิตเม็ดพลาสติกที่ย่อยสลายได้พลาสติกชีวภาพชนิด Polybutylene Succinate (PBS) มีคุณสมบัตินุ่นใช้สำหรับเคลือบกระดาษ ถาดรองแก็ว ชาม เป็นต้น โดยสามารถรองรับการผลิตได้ 20,000 ตันต่อปี แต่ปัจจุบันผลิตที่ระดับ 4,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปต่างประเทศ และปัจจุบันอยู่การหาลูกค้าภายในประเทศเพิ่มเติม ซึ่งในอนาคตจะมีความต้องการใช้พลาสย่อยสลายได้
ทั้งนี้ล่าสุด PTTGC ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตเพชรบุรีเพื่อสนับสนุนการผลิตและการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม BioPBSTM ในโครงการ Be Smart Be Green การใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย GC ให้การสนับสนุนเม็ดพลาสติก BioPBSTM ในการผลิตแก้วกระดาษเคลือบ BioPBS และหลอดไบโอพลาสติก ให้แก่มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลพลาสติกแบบย่อยสลายได้ และความร่วมมือส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงการใช้และการคัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อสร้างจิตสำนึกตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
www.mitihoon.com