EA จับมือกรมเจ้าท่าทุ่มงบ1,000 ลบ. สร้างเรือไฟฟ้าแม่น้ำเจ้าพระยา 54 ลำ พร้อมให้บริการปลายปี

165

มิติหุ้น-บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) บริษัทพลังงานทางเลือก และผู้นำแบตเตอรี่ลิเที่ยม ไอออน รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด’ บริษัทในเครือ EA เผยโฉมเรือไฟฟ้าต้นแบบ พร้อมให้บริการในแม่น้ำเจ้าพระยาปลายปีนี้ พลิกโฉมเรือเครื่องยนต์น้ำมัน สู่เรือไฟฟ้าไร้มลพิษสุดทันสมัย ลด PM2.5 ขับเคลื่อนด้วยพลังแบตเตอรี่ของ EA เอาใจผู้โดยสารด้วยการติดแอร์ รูปโฉมสวยงาม สะอาด ปลอดภัย โคลงเคลงน้อย ยกระดับคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพฯ พร้อมจับมือพันธมิตรที่สนใจร่วมธุรกิจ เสริมศักยภาพและมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจเดินเรือแข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรมสะอาดและต้นทุนพลังงานที่ลดลง

 

             นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า หลังจากที่ EA ได้เผยโฉมรถยนต์ไฟฟ้าของคนไทย 100% ภายใต้ยี่ห้อ EA, อมร ทรัพย์ทวีกุล, เรือไฟฟ้า, แม่น้ำเจ้าพระยา, MINE Mobility ไปเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2561 นั้น ในครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีแบตเตอรี่มาสร้างนวัตกรรมอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวเรือไฟฟ้า ที่จะนำมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าน้ำนนทบุรี ไปท่าน้ำวัดราชสิงขร ระยะทางรวมประมาณ 20 กิโลเมตรด้วยเวลาเพียงไม่ถึง 40 นาที โดยมีแผนการลงทุนสร้างเรือรวม 54 ลำ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท เริ่มทยอยเปิดให้บริการในปลายปี 2562 จนครบถ้วนภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2563 ทั้งนี้จุดเด่นของเรือไฟฟ้านี้คือ การยกระดับความสะดวกสบายด้วยการติดแอร์ เน้นความสะอาด และการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยและมั่นใจให้แก่ผู้โดยสารโดยเรือจะโคลงเคลงน้อย และก่อให้เกิดคลื่นน้อยลง อีกทั้งประหยัดต้นทุนด้านพลังงานโดยขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ประจุอยู่ในแบตเตอรี่ขนาด 800 กิโลวัตต์ชั่วโมง เติมพลังงานจากใช้เครื่องชาร์จ EA Anywhere สำหรับเรือไฟฟ้าต้นแบบนี้ ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยคนไทย และใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ของกลุ่ม EA ที่อยู่ระหว่างเตรียมสร้างโรงงานแห่งใหม่ ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นของไทยทั้งหมด

             “การก้าวเข้าสู่ธุรกิจให้บริการเรือไฟฟ้านี้ เป็นการนำเทคโนโลยีแบตเตอรี่มาเสริมการให้บริการคมนาคมทางน้ำ ต่อเนื่องหลังจากการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า MINE มาแล้ว และยังสามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนเครื่องยนต์ประเภทอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย ข้อดีอย่างมากของการขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยพลังงานไฟฟ้านี้ คือ จะไม่มีไอเสีย หรือเขม่าควัน และเสียงเบามาก จึงช่วยลดปัญหามลพิษโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา PM2.5 ที่เกิดขึ้นจะบรรเทาลงไปอย่างมาก การปรับเปลี่ยนรูปโฉมเรือเป็นไฟฟ้าพร้อมกับติดแอร์และออกแบบให้ทันสมัยและปลอดภัยนี้ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้บริการ ด้วยตัวเรือที่กว้างขวางขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 24 เมตร สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 200 คน จะเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางที่เร็วกว่า โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนจะเพิ่มรอบความถี่ในการให้บริการเป็นทุกๆ 5 นาที และสามารถเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบคมนาคมขนส่งไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครได้ครบวงจร คืนความน่าอยู่ และเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญให้กับกรุงเทพได้ เราสามารถขยายการให้บริการลักษณะเดียวกันนี้ไปยังจุดอื่นๆ หรือรูปแบบการคมนาคมอื่น ๆ ได้อีกมาก เราได้ศึกษามาเป็นอย่างดีและพบว่า แผนธุรกิจนี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจให้บริการเดินทางทางเรือให้สูงขึ้นทั้งจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนพลังงานที่ต่ำลง จึงอยากแบ่งปันโอกาสในการเพิ่มมูลค่านี้ตามแนวคิด Share Value โดยการเชิญชวนทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ และเอกชนที่สนใจร่วมธุรกิจกับ EA มาร่วมมือกัน เพื่อให้ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ระบบ Smart Transport อย่างแท้จริง”” นายอมรกล่าว

ที่มา: ทีมงานประชาสัมพันธ์ EA

www.mitihoon.com