มิติหุ้น-กฟผ. ร่วมสนับสนุนการจัดประชุมวิ ชาการระดับนานาชาติด้านอุ ตสาหกรรมไฟฟ้า ‘IEEE PES GTD ASIA 2019’ ครั้งแรกในเอเชีย พร้อมโชว์นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้ าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า รับมือกระแสพลังงานทดแทนแสดงศั กยภาพด้านพลังงานของไทยในยุ คเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน IEEE PES GTD Grand International Conference and Exposition Asia 2019 หรือ IEEE PES GTD 2019 โดยมี ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายไซเฟอร์ ราห์มาน ประธาน IEEE Power & Energy Society นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ งประเทศไทย (กฟผ.) นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และนายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เข้าร่วมในพิธี ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุ มไบเทค กรุงเทพฯ
นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ ร่วมสนับสนุนการจัดงาน IEEE PES GTD 2019 ซึ่งถือเป็นการประชุมวิชาการด้ านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลั งงานระดับโลกที่จัดขึ้นเป็นครั้ งแรกในภูมิภาคเอเชีย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้านการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ด้านพลั งงานหมุนเวียน ซึ่ง กฟผ. ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ แนวคิด “นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิ ตที่ดีกว่า : Innovate Power Solutions for a Better Life” มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมที่ทันสมั ยมายกระดับประสิทธิภาพระบบไฟฟ้ าของประเทศให้มีความมั่นคงด้ วยการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อม โดยมีไฮไลท์ได้แก่ โรงไฟฟ้ายืดหยุ่น (Flexible Power Plant) ซึ่งเป็นรูปแบบของโรงไฟฟ้าที่ ทำงานเป็นระบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพการเดินเครื่ องให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ ไฟฟ้าที่มีความผันผวนสูงรองรั บการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวี ยนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Battery Energy Storage System : BESS)
ซึ่ง กฟผ. ได้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงานที่ สถานีไฟฟ้าแรงสูง 2 แห่ง คือ สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ กำลังผลิตไฟฟ้า 16 เมกะวัตต์ และสถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี กำลังผลิตไฟฟ้า 21 เมกะวัตต์ นับเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่ สุดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อใช้ในการบริหารจั ดการระบบไฟฟ้า การพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลั งงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำในเขื่ อนของ กฟผ. (Hydro – Floating Solar Hybrid System) ซึ่งจะเป็นระบบพลั งงานแบบผสมผสานขนาดใหญ่ที่สุ ดในโลก ทำให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทั้งช่ วงกลางวันและกลางคืน ส่งผลให้ภาพรวมระบบไฟฟ้ามีเสถี ยรภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ยังร่วมปาฐกถาในหัวข้อ “Big Shift in Power & Energy in Asia” ร่วมกับ ผู้นำจากการไฟฟ้าและหน่วยงานด้ านพลังงานจากประเทศในภูมิ ภาคเอเชีย-แปซิฟิค ถึงแนวทางในการปรับองค์กรไปสู่ ยุคดิจิตอล ตลอดจนการพัฒนาและส่งเสริมนวั ตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าในยุ คเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive Technology) ซึ่งเป็นการสร้างความพร้ อมในการรับมือกับการเปลี่ ยนแปลงของอุตสาหกรรมไฟฟ้ าของประเทศในอนาคต
www.mitihoon.com