มิติหุ้น-บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE ผู้นำด้านพลังงานทดแทนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือกับบริษัท หัวเว่ย ลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 โดยเป็นข้อตกลงซื้อ 1500V Smart PV Solution ของหัวเว่ย เพื่อใช้ในโซลาร์ฟาร์มโอนิโกเบ ในจังหวัดมิยางิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งกว่า 150 เมกะวัตต์
พิธีลงนามในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่าง TSE กับหัวเว่ย ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระดับสาธารณูปโภคในเอเชียแปซิฟิก โดยผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองบริษัทได้เข้าร่วมพิธีลงนามอย่างพร้อมเพรียง ได้แก่ ดร. แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายสมภพ พรหมพนาพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน), Mr. Taoyuan Zhou ประธาน Huawei Network Energy, Mr. Tony Xu ประธาน Huawei Smart PV Business, Mr. Mark Meng ผู้อำนวยการ Huawei Thailand Enterprise Business Group และ Mr. Bruce Li ผู้จัดการทั่วไป Huawei Smart PV Business APAC
TSE คือผู้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดรายหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งพัฒนาและลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระดับสาธารณูปโภคมานานหลายสิบปี สำหรับความร่วมมือระหว่าง TSE กับหัวเว่ย เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2557 ด้วยโครงการนำร่อง หลังจากการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดหลายปี ทางคณะผู้บริหารของ TSE จึงยอมรับใน Huawei FusionSolar Smart PV Solution และปรารถนาที่จะร่วมมือกับหัวเว่ยในการผลิตพลังงานสะอาด เพื่อเติมเต็มความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และโซลูชั่นพลังงานชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยได้หลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (IoT), บิ๊กดาต้า และคลาวด์คอมพิวติ้ง เข้ากับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อพัฒนาโซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะชั้นนำของอุตสาหกรรม สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ข้างต้นที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งกว่า 150 เมกะวัตต์ หัวเว่ยจะส่งมอบ 1500V Smart PV Solution พร้อม Smart I-V Curve Diagnosis ที่มีอัลกอริทึม AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) และเร่งผลักดันให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เท่ากับหรือถูกกว่าไฟฟ้าจากสายส่ง (Grid Parity) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก