เราประเมินแม้ว่า PE ของตลาดหุ้นไทยจะเริ่มปรับขึ้นต่อเนื่อง (ล่าสุด PE 15.45 เท่า) ซึ่งเป็นผลจาก i) ESP downgrade และ ii) SET index ขึ้นมาต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีหากพิจารณาในมิติอื่นๆเพิ่มเติมจะเห็นได้ว่ายังมีโอกาสในการปรับขึ้นได้อีกสำหรับ Valuation หรือ PE ของ SET index โดย
1) Yield gap ทรงตัวในระดับค่าเฉลี่ย โดย Yield gap ล่าสุดอยู่ที่ 4.33% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีตที่ราว 4.5% แม้ว่า EPS ของ SET index จะถูกปรับประมาณการลง แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทรงตัวตามแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบาย
2) แม้ Yield gap จะทรงตัวในระดับค่าเฉลี่ย ซึ่งยังไม่ใช่ระดับที่จะเข้าซื้อ (Strong buy) ในหุ้นไทย แต่หากพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของ CDS Spread ไทยที่ลดลงทำจุดต่ำสุดต่อเนื่อง ซึ่งโดยปกติจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน Yield gap เนื่องจากเป็นตัวแทน Risk premium ของไทยเหมือนกัน ล่าสุด การเคลื่อนไหวของ yield gap และ CDS ฉีกตัวออกจากกันมาก (Yield gap ยืนสูง / CDS ทำจุดต่ำใหม่) ทำให้เราคาดว่า Valuation ของตลาดหุ้นไทยน่าจะยืนในระดับพรีเมี่ยมต่อไปได้ โดยมีโอกาสที่ yield gap จะปรับลดลง เพื่อปิดแก๊บ yield gap และ CDS เท่ากับว่าหุ้นไทย น่าจะปรับขึ้นนั่นเอง … กรณีที่ไม่มีความเสี่ยงในประเทศใดๆเพิ่มเติม โดยเฉพาะความเสี่ยงการเมืองไทย
เราเชื่อว่าแก็บระหว่าง yield gap และ CDS นี้เอง อาจเป็น 1 ใน เหตุผลที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แม้จะยังไม่มีปัจจัยบวกที่ชัดเจนมากนัก นอกเหนือจากการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยของ MSCI ดังนั้นจึงประเมิน กรณีที่ SET index ไม่วกลงมาต่ำกว่า 1,655 จุด อีกครั้ง มีโอกาสที่จะแกว่งตัว Sideway ขึ้นทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 1,720 จุดได้ โดยคาดว่าในเดือน พ.ค. – มิ.ย. ปัจจัยลบต่างๆที่กดดันตลาดหุ้นไทยจะเริ่มลดลง อาทิ ปัจจัยการเมือง, ตัวเลขเศรษฐกิจจีน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในเดือน เม.ย.- พ.ค. ได้แก่ i) หุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี (PTTGC, TOP, SGP, PTTEP) คาดว่านักวิเคราะห์จะเริ่มการ Preview ผลการดำเนินงาน 1Q62 โดยคาดว่ากำไรจะพลิกฟื้น จาก Stock gains (ราคาน้ำมันพุ่งแรง) และรวมทั้งเหตุการณ์โรงงาน Formosa Chemical ที่ไต้หวันหยุดผลิต จากเหตุท่อส่งแก๊สระเบิด ii) หุ้นกลุ่มค้าปลีกที่พักฐานลงมา (CPALL, COM7, MBK) เนื่องจากประเมินว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะกลับสู่ระดับปกติหลังได้รัฐบาลใหม่ + มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล iii) หุ้นกลุ่มอสังหาฯ (LPN, AP, QH) เนื่องจาก Valuation ที่ลงมาถูกกว่าระดับปกติ ขณะที่ฝ่ายวิจัยฯ คาดอุตสาหกรรมอสังหาฯจะเริ่มฟื้นตัวได้ใน 2H62 เป็นต้นไป และสุดท้าย iv) กลุ่มรับเหมาฯ (STEC, CK, SEAFCO) โดยคาดว่าการเซ็นสัญญาโครงการต่างๆ จะเร่งตัวขึ้นอีกครั้งภายหลังได้รัฐบาลใหม่
โดยสุโชติ ถิรวรรณรัตน์
www.mitihoon.com