อันดับที่ 1 STPI คาดบุ๊กกำไรพิเศษเพิ่มอีกใน Q3/62 หนุนผลงานพลิกกำไร พร้อมลุ้นคว้างานใหญ่หลักหมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.เอสทีพีแอนด์ไอ หรือ STPI ผู้ประกอบการรับติดตั้งโครงสร้างเหล็กโรงกลั่น โดยแหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างเรียกร้องค่าจากค่าดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายทางกฏหมายเพิ่มเติมจากคู่สัญญาต่างประเทศในกรณีที่คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินให้คู่สัญญาต่างประเทศจ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาที่ค้างชำระต่อบริษัท โดยคาดว่าจะมีการบันทึกเป็นรายการพิเศษเข้ามาเพิ่มอีกประมาณหลักร้อยล้านบาทในช่วงไตรมาส3/62 หลังจากที่คู่สัญญาดังกล่าวจ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญามาแล้วในไตรมาส1/62 ราว 1.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาส1 บริษัทกลับมามีกำไร 1,821 ล้านบาท
อันดับที่ 2 VGI ปักธงรายได้ปี 62/63 พุ่งแตะ 6,200 ล. เน้นกลยุทธ์ O2O Solutions พาทุกแพลตฟอร์มธุรกิจโตแรง
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.วีจีไอ โกลบอล มีเดีย หรือ VGI ผู้นำ Offline-to-Online (O2O) Solutions บนแพลตฟอร์มธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจบริการชำระเงิน และธุรกิจโลจิสติกส์ โดยนายเนลสัน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ผลประกอบการงวดปี 61/62 ทำรายได้เติบโตมากกว่าที่คาดไว้ โดยรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 31% เป็น 5,158 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิสูงกว่า 1,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.1% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการผสมผสานกลยุทธ์ O2O Solutions ที่นำจุดแข็งของแต่ละแพลตฟอร์มมาสร้างสรรค์และต่อยอดทางธุรกิจ
อันดับที่ 3 STEC หุ้นเด่นกลุ่มรับเหมา ตุน Backlog สูงถึง 1.05 แสนล. หนุนกำไรปกติโตสูง 14%
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น หรือ STEC ผู้ดำเนินธุรกิจก่อสร้างงานทุกประเภททั้งงานโยธาและ งานเครื่องกล โดยนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาส 1/62 ของ STEC ที่มีกำไรสุทธิ 343 ล้านบาท เติบโต 17.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน รายได้ก่อสร้างเพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการที่ STEC มีการส่งมอบงานรถไฟฟ้าสายสีส้ม, สีชมพู และสีเหลือง อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ Margin ยังรักษาระดับได้ดี ทรงตัวที่ 7% แต่รายจ่ายการบริหารเพิ่มจาก 109 ล้านบาท เป็น 146 ล้านบาท เพราะการตั้งสำรอง-ค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีพนักงานเกษียณอายุและเลิกจ้างตามกฎหมายใหม่ ทำให้กำไรปกติเพิ่ม 39% แต่กำไรสุทธิเพิ่มแค่ 17% เพราะไตรมาส 1/61 มีการบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุน 45 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 1/62 ที่ไม่มีรายการพิเศษ ซึ่งภาพรวมกำไรถือว่าเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
อันดับที่ 4 SORKON ปรับกลยุทธ์เน้นบริหารต้นทุน หวังช่วยกำไรกลับมาฟื้นตัว
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ หรือ SORKON ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์รายใหญ่ของไทย โดยนายเจริญ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/62 บริษัทมีรายได้รวม 696.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากมองเฉพาะรายได้จากการขายไตรมาส 1/62 จะอยู่ที่ 688.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.1% จากไตรมาส 1/61 โดยรายได้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากยอดขายในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์เติบโตได้ดีตามแผนที่วางไว้ ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดในช่วงไตรมาส 1/62 ที่ผ่านมา มีปัจจัยกดดันด้านต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะต้นทุนเนื้อสุกรที่เป็นต้นทุนสำคัญ ทำให้กำไรขั้นต้นในไตรมาสที่ 1/62 อยู่ที่ 190 ล้านบาท ลดลง 2.8% โดยกำไรขั้นต้นในกลุ่มอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์อยู่ที่ 98.6 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.9% อาหารทะเลแปรรูปมีกำไรขั้นต้น 63.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.1% ธุรกิจร้านอาหาร ทำกำไรขั้นต้น 20.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.7% อย่างไรก็ตาม
อันดับที่ 5 KBANK เปิดตัวฟีเจอร์โอนเงินต่างประเทศผ่าน K PLUS เจาะกลุ่ทมลูกค้าต่างชาติ
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ โอนเงินไปต่างประเทศผ่าน K PLUS เป็นครั้งแรก โดยนายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างต่อเนื่องด้วยการนำดิจิทัล เทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า รวมถึงการพัฒนาระบบการโอนเงินระหว่างประเทศผ่าน K PLUS ซึ่งเป็นการเปิดมิติใหม่ของการโอนเงินรายย่อยไปต่างประเทศ ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการโอนเงินต่างประเทศถึงกว่า 650,000 ล้านบาท จำนวนรายการกว่า 8 ล้านรายการ โดยเป็นการโอนผ่านธนาคารกสิกรไทย 150,000 ล้านบาท จำนวน 450,000 รายการ