ที่มาของคำ “ขุด” Bitcoin (Proof of Work)

2517

Blockchain Consensus Protocol คืออะไร ?

คาดว่าหลายๆคนคงน่าจะได้ทำความรู้จัก บล็อกเชน กันหมดแล้ว แต่ blockchain consensus protocol เกี่ยวข้องกับ บล็อกเชน อย่างไรหรือ? มันก็คือกฎข้อบังคับชนิดหนึ่งที่ควบคุมเบื้องหลังบล็อกเชน ปกติแล้วหากเราทำธุรกรรม เช่น การโอนเงิน การถอนเงิน และการฝากเงิน ที่แรกที่เรานึกถึงคงเป็นธนาคาร เพราะธนาคารจะเป็นตัวกลางในการรับเงินเราและโอนเงินเราไปยังผู้รับ ซึ่งในการทำธุรกรรมของเหรียญบิทคอยน์ ก็จะมี consensus protocol เป็นตัวกลางในการทำหน้าที่เหมือนธนาคารนั้นเอง เพียงแต่ระบบการทำงานของธนาคารนั้นจะเป็นแบบรวมอำนาจ (Centralize) ทีจะเป็นหนึ่งเดียวสามารถเข้าถึงข้อมูลเราได้ และอนุมัติธุรกรรมต่างๆ ส่วน consensus protocol ที่ บิทคอยน์ใช้นั้นก็คือ Proof of work นั้นเอง

 

ทำไมต้องใช้ Proof of work ?

Proof of work เป็นระบบ consensus protocol อีกอย่างหนึ่งที่ทำงานภายใต้ บล็อกเชน ซึ่งการที่บล็อกเชนจะเกิดขึ้นมาได้นั้น เกิดจากการที่สร้างบล็อก 1 บล็อกขึ้นมาเสมอ และบล็อก แต่ละบล็อกจะบันทึกข้อมูลของบล็อกก่อนหน้าไว้ด้วย และแต่ละบล็อกจะมี Genesis block ของแต่ละบล็อกของบล็อกนั้นเองเช่นกัน หากเปรียบเทียบ Genesis block ในชีวิตจริง ก็คงเปรียบเสมือน รหัสพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดกันมาจาก พ่อ แม่ สู่รุ่นลูก และรุ่นหลาน ซึ่งยังคงเหลือลักษณะยีนเด่นยีนด้อยไว้ เช่น สีผิว เส้นผม ปาก และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่าอดีตของเรามีลักษณะเช่นไร หากเปรียบกับ Genesis block ของบล็อกเชนนั้น ก็จะคล้ายๆกันเพราะ บล็อกตัวล่าสุด จะบันทึกรหัสของบล็อกตัวก่อนหน้าไว้ และตัวก่อนหน้านี้ก็จะบันทึกรหัสของ บล็อกตัวก่อนหน้าเช่นกัน เมื่อบล็อกเชนได้สร้าง Genesis block ขึ้นมา ก็ต้องรอการทำธุรกรรมจากผู้ใช้ทั้งหลาย ธุรกรรมก็คือข้อมูลที่อยู่บน บล็อกเชน เช่น การทำธุรกรรมของบิทคอยน์ การโอน การฝาก และการถอนบิทคอยน์นั้น จะเป็นการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชน โดยใช้ proof of work ขณะที่รอธุรกรรมเกิดขึ้นนั้น ก็จะเกิดการทำงานของ Proof of work  เหตุผลที่ต้องใช้ Proof of work นั้น การทำงานของ proof of work เป็นการทำงานในระบบ decentralize ที่ทำให้บิทคอยน์กลายเป็นสกุลเงินดิจิตอลที่แตกต่างจะสกุลเงินอื่นๆ และเป็นหลักการที่โปร่งใส การทำธุรกรรมไม่ต้องผ่านตัวกลางเหมือนกับธนาคาร และทุกคนสามารถเข้ามาร่วมการยืนยันหรือตรวจสอบธุรกรรมได้ด้วยเช่นกัน

 

หลักการทำงานของ Proof of work

ตัวละครสำคัญของ Proof of work ก็คือ นักขุดบิทคอยน์ หรือ Miner นั้นเอง การขุดบิทคอยน์นั้น ก็เป็นการแข่งขันชนิดหนึ่งเพื่อ แฮชหรือกำลังการขุดที่สามารถทำเงินให้เหล่านักขุดบิทคอยน์ทั้งหลาย นักขุดบิทคอยน์จะมีโอกาสหาแฮชนั้นได้น้อยมากๆ แต่หากมีใครเจอก็จะถือว่าได้ค้นพบหลักฐานการทำธุรกรรมนั้นแล้วและได้จากบล็อกนั้นๆ หลักกรหาแฮชนั้นก็จะใช้วิธีแก้สมการคณิตศาสตร์โดยต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลที่มีกำลังการประมวลผลสูงมากๆในการหาคำตอบ ซึ่งประมาณแล้วนักขุดทั่วโลกต้องใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีในการแก้โจทย์สมการนั้น เพราะเหตุผลนี้ เราจึงเรียกว่า Proof of work ที่เกิดจากการที่นักขุดได้ทำงานอย่างหนักในการหาคำตอบมา และเหตุที่เรียกว่านักขุด หรือ Miner นั้นก็เพราะว่าการทำงานหนักเช่นนี้ จะเหมือนกันทำเหมืองในชีวิตชีวิตเลย ที่เราต้องขุดๆๆ จนกว่าจะพบสิ่งของล้ำค่าได้กว่าจะได้มา เมื่อเราได้นักขุดที่แก้สมการแล้วได้คำตอบนั้น นักขุดผู้นั้นจะได้สิทธิ์ตรวจสอบ list การตรวจสอบธุรกรรมนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ รวมถึงที่มาที่ไปนั้นเกิดขึ้นบนความเป็ยจริงหรือไม่ และสร้างเป็นบล็อกเพิ่มในเวลาต่อมา สำหรับการตรวจสอบธุรกรรมนั้นจะใช้เวลาเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น เป็นที่มาว่าทำไมบล็อกเชนต้องตั้งโจทย์สมการให้นักขุดเข้ามาแข่งกัน เพราะยิ่งมีคนเข้ามาร่วมแข่งมากเท่าไหร่ บล็อกเชนก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น และหากใครมีเครื่องหาค่ากำลังขุดหรือแฮช ได้เร็วกว่า ก็มีโอกาสที่จะสุ่มเจอค่าแฮชมากขึ้น และเร็วขึ้น และมีสิทธิ์ตรวจสอบธุรกรรมได้ก่อนใคร

แต่การเพิ่มโอกาสในการขุดบิทคอยน์นั้น เพื่อที่จะได้มีโอกาสในการขุดเจอรางวัลนั้นๆ เหล่านักขุดทั้งหลายอาจต้องลงทุนควักเงินออกมาเพื่อลงทุนซื้ออุปกรณ์ขนาดใหญ่รวมถึงการ์ดจอ ที่มีราคาค่อนข้างสูงมากๆ และบริษัทต่างๆ ที่ได้สนับสนุนการลงทุนจากนักลงทุนก็จะได้ส่วนแบ่งจากตลาดส่วนนี้ของเครือข่ายแฮชนี้ หากมองอีกแง่หนึ่ง เราต้องใช้การ์ดจอหรืออุปกรณ์ราคาแพงๆ เหล่านี้เพื่อใช้ในการแก้โจทย์สมการของบล็อกเชน โดยอุปกรณ์เหล่านี้เราก็เรียกรวมๆว่า “เครื่องขุด” นั่นเอง โดยที่เราไม่ต้องไปนั่งแก้สมการโดยตัวเอง แต่เราอาจต้องจ่ายค่าไฟไป เพื่อที่จะได้มีโอกาสแก้สมการได้ก่อนใคร

 

บล็อกเชนอยู่ตรงไหนบ้าง?

                        บล็อกเชนจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกครื่องที่รันซอฟต์แวร์ของบล็อกเชนนั้นๆ หรือที่เราเรียกว่า โหนด(Node) ในเน็ตเวิร์คของโหนดนั้น ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น จะมีการส่งกระจายธุรกรรมในเน็ตเวิร์คเดียวกัน เป็นลักษณะห่วงโซ่ไปเรื่อยๆ ซึ่งโหนดที่ทำหน้าเป็น Miner จะบันทึกประวัติการทำธุรกรรม เพื่อรอการตรวจสอบธุรกรรมที่เราเห็น Pending ในระหว่างการรอบนเว็บเทรดต่างๆ

 

ข้อดีของ Proof of work

                        Proof of work คือหลักการการกระจายอำนาจที่แท้จริง เพราะหากระบบของมันโตเพียงพอแล้วก็จะไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้เลยเพราะต้องใช้เงินเยอะมาก เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ควอนตัม 100 เครื่องเลยที่เดียว ผลที่ได้คือผู้ที่จะเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมนั้นจะสับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในทุกครั้ง และเป็นไปไม่ได้เลยที่คนเดิมจะเป็นคนตรวจสอบธุรกรรมเพียงผู้เดียว หรือที่เราเรียกว่า Decentralize และยังอยู่ในรูปแบบ real time ด้วยที่หากธุรกรรมใดไม่ได้เกิดขึ้นตามความเป็นจริงนั้น เหล่านักขุดจะต้องมาโหวตกันว่า พวกเขาควรทำอย่างไรกับธุรกรรมนั้น

 

ข้อเสียของ Proof of work

ข้อเสียอย่างเดียวคือมันช้ามากและทำให้เปลืองพลังงานมาก เนื่องจากเราต้องตรวจสอบธุรกรรมตั้งบล็อกแรกจนถึงบล็อกสุดท้าย รวมๆแล้วต้องใช้เวลาถึง 10 นาทีกว่าจะแก้สมการได้ จึงทำให้หากเราต้องโอนเงินในชีวิตต้องใช้เวลาถึง 10 นาทีเลยทีเดียว

 

ระบบการทำงาน proof of work นั้นเป็นระบบ decentralize ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากแต่ในขณะเดียวเหรียญดิจิทัลอื่นๆที่ออกมาได้มีการพัฒนาระบบ blockchain consensus protocol ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่น proof of stake ด้วยเหตุผลที่เร็วกว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า แต่ก็มีข้อแตกต่างจากแนวคิด หลักการกระจายอำนาจของเหรียญบิทคอยน์อย่างมากเช่นเดียวกัน ในอนาคตจะเป็นอย่างไรจะมีการพัฒนาระบบ consensus protocol ขึ้นมาเรื่อยๆขนาดไหน Bitkub เว็บไซต์เทรดเหรียญดิจิทัลขอสนับสนุนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อที่เราจะได้ก้าวเข้าสู่ยุคเงินดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไชต์ได้แล้ว

โดย Bitkub.com

www.mitihoon.com