DELTA ราคาดิ่งแรงรับรู้ความเสี่ยงทุกประเด็น โบรกย้ำยัง Laggard กลุ่ม และปลอดภัยกว่าด้วยปันผลที่สูง เคาะกำไรปี63 ฟื้นตัวเด่น ปรับคำแนะนำ “ซื้อ” เป้า 57.50 บาท

368

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ว่า ราคาหุ้น DELTA ได้ปรับตัวลง 29% ในรอบ 5 เดือน หลัง DELTA Taiwan ทำ Tender Offer ที่ 71 บาทต่อหุ้น จากประเด็นสงครามการค้ากดดันยอดขายหุ้นกลุ่ม electronic ทั่วโลก 2) ค่าเงินบาท/USD ที่แข็งค่าต่อเนื่องกดดันอัตราการทำกำไรของกลุ่ม และ 3) ความกังวลต่อนโยบายหลัง DELTA Taiwan เข้ามาถือหุ้นเพิ่ม อาจผลักสินค้าที่ทำกำไรต่ำและเพิ่มค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์ต่อเนื่อง

คาดปันผล2บาทต่อหุ้น
ฝ่ายวิจัยมองว่าราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนความเสี่ยงดังกล่าวไปมากแล้ว โดยซื้อ ขาย บน PER62 ที่ 14.1x (-1.5SD) ของกำไรปีที่แย่ที่สุดในรอบ 6 ปีหลังสุด ขณะที่หุ้นหลักตัวอื่นในกลุ่มกลับขึ้นไปซื้อขายที่ค่าเฉลี่ยแล้ว ขณะที่ DELTA มี downside จำกัดจากเงินสด ณ สิ้นไตรมาส 2/62 ราว 9.76 บาทต่อหุ้นและให้คาดหวังปันผลราว 2.0 บาทต่อหุ้น (yield 4.0%) จ่ายปีละครั้ง

อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยสงครามการค้าที่มีความไม่แน่นอน ทำให้ผู้ผลิตต้องมองหาทางเลือกกระจายความเสี่ยง ทำให้เชื่อว่า DETLA Taiwan จะผลัก Order มาเพิ่มต่อเนื่อง แต่หากสงครามการค้าคลี่คลาย คำสั่งซื้อลูกค้ารายอื่นๆมีโอกาสกลับสู่ระดับปกติ 2) ค่าเงินบาท/USD แข็งค่ากดดันงบไตรมาส 3/62 แต่ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยที่เริ่มอ่อนแอ จำกัด downside การแข็งค่าในระยะถัดไป และ 3) การปรับขึ้นค่าลิขสิทธิ์เกิดขึ้นสองไตรมาสแล้ว ทำให้ฐาน QoQ จะไม่ถูกกระทบ ขณะที่การปรับ line การผลิต มีโอกาสแล้วเสร็จในไตรมาส 3/62 ทำให้จะเริ่มเห็นผลบวกตั้งแต่ไตรมาส 4/62 และคาดได้รับผลบวกเต็มปีในปี 2563

ส่องกำไรปี63โต10%เชียร์ “ซื้อ”
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้คงประมาณการกำไรปกติปี 2562 ที่ 4.48 พันล้านบาท (–10% YoY) จากผลกระทบสงครามการค้าและการปรับ line การผลิตรองรับ order Delta Taiwan แต่คาดกำไรปกติปี 2563 กลับมาโต 10% YoY ที่ 4.9 พันล้านบาท จากการรับรู้ order จาก Delta Taiwan เต็มปี จึงได้ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ” ที่ราคาเหมาะสม 57.50 บาทต่อหุ้น (อิง PER 16x) ความเสี่ยสำคัญได้แก่ 1) margin หดตัวหลัง DELTA Taiwan เข้ามา 2) สงครามการค้าลากยาว และ 3) ค่าเงินบาท/USD แข็งค่าต่อเนื่อง