มิติหุ้น-นายไพศาล ธรรมโพธิทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า CIMB Biz Export เป็นบริการทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะ ในการลดต้นทุน ผ่านบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ เริ่มตั้งแต่ บริการเรียกเก็บเงินจากต่างประเทศ สำหรับผู้ส่งออกที่ต้องการเรียกเก็บเงินตามเอกสารเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) หรือตามตั๋ว DA/DP โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเอกสาร L/C ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บตามตั๋ว DA/DP และไม่มีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บในการเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD)
นอกจากนี้ บริการรับซื้อตั๋วส่งออก สำหรับผู้ส่งออกที่มี Export L/C ประเภทมีระยะเวลาในการจ่ายเงิน ธนาคารมอบอัตราดอกเบี้ยรับซื้อตั๋วส่งออกในอัตราพิเศษ เริ่มต้นที่ 2.75% ต่อปี โดยที่ไม่ต้องมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคาร
ขณะเดียวกัน ยังมีบริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เสนอบริการที่มาพร้อมจุดเด่นแบบครบวงจรเตรียมพร้อมให้บริการแก่ผู้ส่งออก อาทิ บัญชีกระแสรายวันแบบมีดอกเบี้ย (CIMB Biz Account) ดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 1.2% ต่อปี ฟรี สมุดเช็ค ซื้อ 1 เล่ม ฟรี 1 เล่ม ไม่มีค่าธรรมเนียมการโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่มีค่าธรรมเนียมการฝากเช็คข้ามเขตและรับเงิน BAHTNET ไม่มีเงื่อนไขแอบแฝง ไม่ต้องมีขั้นต่ำ ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ นอกจากนี้ ธนาคารยังเด่นเรื่องบริการบัญชี FCD ที่ช่วยผู้ส่งออกลดความเสี่ยงจากการผันผวน และควบคุมต้นทุนของอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝาก-ถอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถโอนเงินไปต่างประเทศสะดวกรวดเร็ว สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 626 7777
“เราออก CIMB Biz Export ที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ส่งออกมาในจังหวะที่น่าจะช่วยให้ผู้ส่งออกเบาตัวขึ้นได้บ้าง จากปัจจัยที่กลุ่มผู้ส่งออกกำลังเผชิญอยู่ ทั้งจากสงครามการค้า และค่าเงินบาทแข็งค่า โดยจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนก.ย. 62 การส่งออกหดตัวลงต่อเนื่อง ส่งผลให้การส่งออก 9 เดือนของปีนี้หดตัวลงไปกว่า 2% แล้ว ธนาคารในฐานะตัวกลางทางการเงินจึงเข้ามาช่วยในส่วนที่ช่วยได้ ด้วยการไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินจากต่างประเทศ และดอกเบี้ยพิเศษสุดสำหรับการรับซื้อลดตั๋วส่งออก นอกจากนี้ ยังรับเพิ่มบัตรกำนัลเทสโก้โลตัส 500 บาทต่อรายการ เมื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชี CIMB Biz Account และรับบัตรกำนัลเทสโก้โลตัส 1,000 บาทต่อรายการ เมื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชี FCD นอกจากบริการต่างๆ เพื่อธุรกิจ ซีไอเอ็มบี ไทย มีจุดยืนชัดเจนในการเป็น ธนาคารอาเซียนในประเทศไทย เรามี ASEAN PLATFORM อันแข็งแกร่งจากเครือข่ายในกลุ่มซีไอเอ็มบีที่พร้อมให้คำปรึกษาและส่งต่อบริการข้ามแดนให้ลูกค้าที่อยากไปเปิดตลาดข้ามประเทศอีกด้วย” นายไพศาล กล่าว
สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนกันยายน 2562 โดยการส่งออกมีมูลค่า 20,481.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือหดตัว 1.39% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62 (มกราคม-กันยายน) การส่งออกหดตัว 2.11% ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกของไทยในปี 2562 นี้มีโอกาสสูงที่จะติดลบใกล้เคียงระดับ 1% จากเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 3%
สำนักวิจัย ประเมินว่า ทิศทางส่งออกไทยในตลอดทั้งปี 2562 จะมีแนวโน้มหดตัว อันเนื่องมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง และปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งแม้ผลการเจรจาจะออกมาในเชิงประนีประนอมกัน แต่สหรัฐฯ ก็ยังเดินหน้าเก็บภาษีจากจีนในส่วนที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกัน ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงภายนอก อาทิ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการค้าของประเทศต่างๆ อัตราดอกเบี้ยและผลการบังคับใช้ของ FTA ที่อาจกระทบต่อความสามารถในการส่งออกของไทย
สำหรับปี 2563 ปัจจัยท้าทายต่อการส่งออกไทยคือเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัวจากปัจจัยเสี่ยงที่มาจากความผันผวนในด้านข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและคู่ค้าต่างๆ อาทิ สหรัฐฯ –จีน , สหรัฐฯ – สหภาพยุโรป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ และการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกของไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออกจึงควรลดผลกระทบความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการทำประกันความเสี่ยง หรืออาจพิจารณาทำสัญญาซื้อขายระยะยาว ขณะเดียวกันก็คงต้องติดตามผลต่อเนื่องจากผลกระทบที่มาจากการส่งออกหดตัวลงด้วย