ทางหลักทรัพย์กรุงศรีคาดว่าการระบาดของโรค ASF จะทำให้การผลิตหมูในประเทศจีนลดลง 25% หรือ 11.8 ล้านตัน เหลือ 34.8 ล้านตันในปี 2020F เราคิดว่าจีนต้องใช้เวลาถึง 5 ปีถึงจะสามารถกลับมาผลิตหมูได้เท่ากับเมื่อปี 2018 ที่ 54 ล้านตัน ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าปริมาณการผลิตไก่ในตลาดโลกจะเพิ่มขึนแค่ 3.9 ล้านตันในปี 2020 ซึ่งไม่เพียงพอที่จะชดเชยการผลิตหมูของจีนที่ลดลง
ทั้งนี้หลักทรัพย์กรุงศรีได้มีการศึกษาราคาหมูในตลาดโลก โดยเฉพาะในเวียดนาม เนื่องจากภาวะอุปทานขาดแคลน และวัฏจักรขาขึ้นจะกินเวลานานอย่างน้อยสองปี เนื่องจาก (1) ประชากรหมูลดจำนวนลงอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรไม่ยอมกลับมาเลี้ยงหมูเพราะอัตราการตายจากหมูที่ติดโรค ASF อยู่ในระดับสูง และ (2) วัฏจักรการเลี้ยงหมูที่นานถึง 300 วัน ซึ่งถ้าหากเกษตรอยากจะเพิ่มอุปทานหมูในวันนี้ ก็ต้องเริ่มจากการเตรียมสต็อกหมูรุ่นพ่อแม่พันธุ์ จากนั้นก็ต้องรอผลผลิตอีกสองรุ่นเพื่อเติมอุปทานที่ขาดแคลน หรือใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 600 วัน
การเพิ่มขึ้นของราคาหมูในตลาดโลกน่าจะทำให้ CPF ได้อานิสงส์เต็ม ๆ จากวัฏจักรขาขึ้นรอบนี้ นอกจากนี้ อุปสงค์ไก่ที่เพิ่มขึ้น ในฐานะที่เป็นสินค้าแทนกันของหมู ก็จะส่งผลดีกับ CPF ด้วย ขณะที่การแบน 3 สารเคมียังไม่น่าเป็นห่วงนัก โดยตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 ประเทศไทยได้สั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีปริมาณสารเคมีกำจัดวัชพืชสองชนิด (ไกลโฟเซต และพาราควอต) และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 1 ชนิด (คลอไพริฟอส) เกินกว่าค่า MRL (maximum residue level) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย Codex Alimentarius ซึ่งเป็นโปรแกรมการกำหนดมาตรฐานอาหารร่วมกันระหว่าง FAO-WHO
แต่อย่างไรก็ตาม การทำประชาพิจารณ์ชี้ว่า 75% ไม่เห็นด้วยกับการแบนสารเคมีดังกล่าว CPF เชื่อว่ารัฐบาลอาจจะกำหนดข้อยกเว้นให้กับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ (กากถั่วเหลือง และข้าวโพด) ในขณะเดียวกัน ปริมาณสารไกลโฟเซตในการกถั่วเหลืองจากบราซิลมีต่ำกว่า MRL
www.mitihoon.com