KTC กำไรกระฉูด 5.5 พันลบ.พอร์ตรูดปรื้ดโตแรงสุดรอบ 3 ปี

282

มิติหุ้น-บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) ผู้ให้บริการบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล โดย นายชุติเดช ชยุติ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานบริษัทปี62 มีกำไรสุทธิที่  5,524.07ลบ. โดยมี EPS ที่2.14บ./หุ้นเพิ่มขึ้น 7.5% จากปี 61ที่มีกำไรสุทธิ 5,139.59 ลบ. และมี EPS ที่1.99บ./หุ้น  โดยในช่วงไตรมาส 3 และ 4 บริษัทได้ขยายพอร์ตลูกหนี้ธุรกิจบัตรเครดิตที่ 10.9% เป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 เป็น ต้นมา ทำให้รายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจบัตรเครดิตและจากสินเชื่อบุคคลเติบโตได้ดีที่ 7.5% (yoy) และ 7.9% (yoy) ตามลำดับ ขณะที่รายได้ ค่าธรรมเนียมและหนี้สูญได้รับคืนยังเพิ่มขึ้น ทำให้รำยได้รวมมีค่าเท่ากับ 22,625 ล้านบาท เพิ่มจำก 21,198 ล้านบาท ในปี 2561 รายได้รวมปี 2562 ขยายตัวเท่ากับ 6.7% (yoy)

บริษัทมีการบริหารต้นทุนได้อย่ำงมีประสิทธิภาพถือเป็นจุดเด่นหนึ่งของบริษัท ค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวม ( Cost to Income Ratio) เท่ากับ 34.1% ลดลงจาก 35.5% เมื่อเทียบกับ ณ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าบริษัทจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเป็น ต้นมาก็ตาม

ในรอบ 11 เดือน ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรของบริษัทขยายตัว 10.6% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่ 8.7%  ยอดลูกหนี้รวมขยายตัวที่ 9.8% จากงวดเดียวกันของปีก่อน หรือมีจำนวน 85,834 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นลูกหนี้บัตรเครดิตรวมเพิ่มจาก 51,062 ล้านบาท เป็น 56,653 ล้านบาท (เพิ่ม 10.9% yoy) และลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวมจาก 26,821 ล้านบาท เป็น 28,933 ล้านบาท (เพิ่ม 7.9% yoy)

ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสิ้นปี 2562 เท่ากับ 15.0% จากปี2561 ที่ 15.1% เนื่องจากค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยรับลดลงจาก 17.99% เป็น  17.80% โดยที่ต้นทุนเงินลดลงจาก 2.89% เป็น 2.81% จึงทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่แตกต่างไปจากเดิมควบคุมคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ดีต่อเนื่อง NPL ลูกหนี้รวมของบริษัทอยู่ที่ 1.06% ลดลงจาก 1.14% ณ สิ้นปี 2561

ด้านบทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่า ปี 63 จะเป้ฯปีที่ท้าท้ายสำหรับ KTC โดยคาดว่ายังมีแรงกดดันจากกำลังซื้อของคนในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวนัก กดดันค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและลดความต้องการในการใช้สินเชื่อเพื่อการบริโภค และเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น ขณะที่ Key Diver  ใหม่อย่าง KTC พี่เบิ้มคาดยังต้องรอปี 64 ถึงจะเริ่มเห็นผลบวกอย่างมีนัยสำคัญ โดยล่าสุดขอใบอนุญาตเพื่อทำ PICO  ไฟแนนซ์ใน 4 จังหวัด และทยอยขยายพื้นที่ในการให้บริการมากขึ้นตามลำดับ  จากธุรกิจที่ยังมี Downside อยู่มาก จึงปรับสมมติฐาน ROE ลงจาก 30 %  เหลือ 28 % ให้สอดคล้องกับศักยภาพในการทำกำไรของบริษัท โดยราคาหุ้นในปัจจุบันมี Upside เหลือราว 7.6 % จากมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 39 บาท/หุ้น จึงแนะนำ “Trading”

www.mitihoon.com