ปตท. พัฒนานวัตกรรมพลังงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มทางเลือกให้ประชาชน สู้ PM2.5 ฟื้นคืนอากาศบริสุทธิ์

145

มิติหุ้น-จากสถานการณ์วิกฤตมลพิษในอากาศ ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง กลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรรมด้านเชื้อเพลิงและพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ใส่ใจสุขภาพของพนักงานประกาศมาตรการ Work@Home   

นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ปตท. กล่าวว่า กลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินตามพันธกิจ การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ปตท. ได้ดำเนินงาน ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง โดยสถาบันนวัตกรรม ปตท. ได้มีการศึกษาวิจัยเชื้อเพลิงมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล เนื่องจากไบโอดีเซลผลิตจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งถือเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด เผาไหม้สมบูรณ์  มีกำมะถันและสารอะโรเมติกส์ต่ำ ค่าซีเทนสูง และยังมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ พบว่า รถกระบะเครื่องยนต์ยูโร 4 ที่ใช้B10 สามารถช่วยลด PM2.5 ได้ถึงร้อยละ 3.5  เมื่อเทียบกับการใช้ B7  นอกจากนี้ สถาบันนวัตกรรม
ยังได้ร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการทดสอบการใช้ 
B10 และ B20 เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้งานจริง  สำหรับการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซล ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงโรงกลั่น เพื่อรองรับความต้องการใช้เชื้อเพลิงยูโร 5 คุณภาพสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต 

นอกเหนือจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงทางเลือกแล้ว กลุ่ม ปตท. ได้กำหนดกระบวนการผลิตและกระบวนการปฏิบัติการให้ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น อาทิ การบริหารจัดการรถยนต์ของผู้รับเหมาในโครงการ ให้เพิ่มปริมาณขนส่งต่อเที่ยวรถ ให้มีการตรวจสภาพและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ห้มีการงรักษาเครื่องกระบวนการปฏิบัติการให้เป็นต้น  และด้านการดูแลสุขภาพพนักงาน ปตท. ได้มีการติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน และส่ง SMS ให้พนักงานได้รับทราบ โดยได้แจกหน้ากาก N95 เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการประกาศมาตรการ Work@Home อนุญาตให้พนักงานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ปทุมธานี ชลบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยาฯ และกรุงเทพมหานคร สามารถทำงานที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหามลภาวะดังกล่าว และร่วมบรรเทาปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.ในพื้นที่รอบสถานประกอบการอีกด้วย

สำหรับการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกและสร้างการตระหนักรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปตท. ได้นำองค์ความรู้การปลูกป่า มาเป็นต้นแบบประยุกต์ใช้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมสร้างพื้นที่สีเขียว เกิดใจรักษ์ และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติผ่านแคมเปญ “ปลูกเพื่อเปลี่ยน” พร้อมร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย ภายใต้ “โครงการ Green Bangkok 2030”

ปตท. มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการบริหารจัดการความยั่งยืน 3 ด้าน (3P) อย่างสมดุล ประกอบด้วย การทำธุรกิจควบคู่กับการดูแลชุมชนและสังคม (People) การอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Planet) และเป็นฐานความมั่นคงให้แก่ภาคเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน (Prosperity)