ลงทุนเฮงๆ รับตรุษจีน เฉลิมฉลองตรุษจีนปีชวด เพิ่มโอกาสลงทุนใน จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์

302

ตั้งแต่ 2561 ทั่วโลกต้องเผชิญกับเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ต่างโจมตีกันด้วยภาษีนำเข้า-ส่งออกมาโดยตลอดตามหน้าสื่อต่างๆ ถ้าจะประมวลกันแล้วทำให้ภาษีนำเข้าสินค้านั้นขึ้นมาสู่ระดับมูลค่า 450 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สงครามการค้าดังกล่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อการค้าโลก ชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และสร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนเป็นวงกว้าง  และไม่ได้มีแค่เรื่องสงครามการค้า เรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ ไปจนถึงการเดินขบวนประท้วงในฮ่องกง ก็เป็นประเด็นที่ยืดเยื้อเช่นเดียวกัน

แม้ปี 2563 ประเดิมกันด้วยการตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน ซึ่งเป็นข่าวเชิงลบ สร้างความหวาดระแวงให้กับนักลงทุนทั่วโลก ตลาดหุ้นร่วงเป็นโดมิโน แต่ในความตื่นตระหนกว่าจะเกิดสงครามครั้งใหญ่ก็ยังมีประเด็นเชิงบวกให้ใจชื้นจากฝั่งจีน ที่ได้ออกกฎหมายการลงทุนสำหรับต่างชาติฉบับใหม่ (new Foreign Investment Law) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 และเปิดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้าลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมที่เปิดใหม่อีกหลายหมวด โดยครอบคลุมสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างภายในประเทศของจีนด้วย ยิ่งไปกว่านั้นรายงานการบริโภคในจีนปี 2563 ของ แมคคินซีย์แอนด์คอมปะนี (McKinsey & Company) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของหลายๆหมวดอุตสาหกรรม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวจีนล่าสุดนั้นออกมาแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 10 ปี ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในตลาดอุปโภคบริโภคของจีนนั้นยังดึงดูการลงทุนจากนักลงุทนต่างชาติ และจีนยังเป็นตลาดที่แข็งแกร่งที่น่าลงทุน และสามารถสร้างผลตอบแทนที่จับต้องได้สำหรับธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย

ธนาคารจีนยังได้ประกาศการลดจำนวนเงินสำรองธนาคาร เป็นครั้งที่ 8 ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งจะทำให้มีเงินปล่อยสินเชื่อสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจจีนอีกราวๆ 115 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการดำเนินการของจีนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2563 รวมกับการลงนามข้อตกลงล่าสุดระหว่างสหรัฐฯและจีน เพื่อที่จะผ่อนคลายสงครามการค้า เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มต้นศักราชใหม่ เป็นไปอย่างสวยงาม

ส่วนฮ่องกง ที่ประสบปัญหาการประท้วงมาตั้งแต่ ก.ค. 2561 และการขายหุ้นให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ชะลอตัวลง แต่ตลาดหุ้นยังคงคึกคัก คว้าแชมป์ตลาดหุ้นที่มีมูลค่าการระดมทุนผ่าน IPO มากที่สุดของโลกในปี 2562 ชนะตลาดหุ้น Nasdaq และ Shanghai ไปด้วยมูลค่าการระดมทุนกว่า 40,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเป็นอานิสงส์จาก Alibaba และ Budweiser Brewing Co. APAC ที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีหุ้นน้องใหม่เครือร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดจากจีนแผ่นดินใหญ่ Jiumaojiu เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเป็นบริษัทแรก เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ตามมาด้วยบริษัท IPO ถึง 7 บริษัทในวันเดียว มากที่สุดในรอบ 18 เดือน มีมูลค่าระดมทุนรวมกัน 2.65 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ก่อนเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน และยังมีอีก 22 บริษัทเตรียมจ่อคิวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงในปีนี้ ทำให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของตลาดหุ้นฮ่องกง และความเชื่อมั่นในฐานะตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของเอเชีย

สำหรับตลาดหุ้นไต้หวันนั้น นับว่าเป็นตลาดหุ้นที่น่าสนใจ โดยเมื่อปี 2562 ตลาดหุ้นไต้หวัน ได้ขยับขึ้นมา 7% นับตั้งแต่ระดับสูงสุดในปี 2533 ซึ่งปีนั้น เป็นปีที่ตลาดหุ้นไต้หวันฟองสบู่แตก ทั้งนี้นักวิเคราะห์ต่างให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจที่คึกคักในปี 2563 จะทำให้ตลาดการเงินไต้หวันมีความน่าสนใจ การเลือกตั้งในไต้หวันเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา ก็ไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไต้หวัน ซึ่งเป็นไปตามคาดที่ ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน กุมชัยชนะในการเลือกตั้งไต้หวัน ได้ครองตำแหน่งผู้นำเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน ด้วยคะแนนเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของไต้หวัน และภายใต้การนำของประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ทำให้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของไต้หวันเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ และบริษัทไต้หวันบางรายได้ย้ายฐานการผลิตออกจากจีนแผ่นดินใหญ่กลับสู่ไต้หวัน ทำให้ไต้หวันเป็นประเทศที่ได้รับชัยชนะอย่างคาดไม่ถึงจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้น โดยปีนี้ นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนเป็นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในตลาดหุ้นไต้หวัน เนื่องจากยอดขายไอโฟนเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี 5G และผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ มีฐานการผลิตอยู่ที่ไต้หวัน ประเด็นดังกล่าวได้สร้างสภาพคล่องมากยิ่งขึ้นให้กับตลาดหุ้นไต้หวันในปี 2563 และล่าสุดรัฐบาลไต้หวันก็ได้ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจทั้งปี 2562 และ 2563 ขึ้น และการเติบโตของไต้หวันเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดในบรรดา “เสือแห่งเอเชีย”

และอีกหนึ่งตลาดหุ้นที่ต้องกล่าวถึงในบรรดาตลาดหุ้นที่สามารถยืนหยัดท่ามกลางภาวะกดดันจากนอกประเทศได้ ก็คือ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ โดยปี 2562 นับว่าเป็นปีที่สิงคโปร์ต้องฝ่าฟันสงครามการค้า และวัฏจักรขาลงของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกือบจะทำให้สิงคโปร์เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไตรมาสที่ 2 และ 3 ถ้าไม่ได้กลุ่มบริการ และการกระเตื้องขึ้นของภาคการผลิต ที่เข้ามาช่วยหนุน อย่างไรก็ตาม จากบทวิเคราะห์ของดีบีเอส ได้คาดการณ์ว่าปี 2563 ตลาดหุ้นสิงคโปร์น่าจะดีขึ้น หลังมองว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์น่าจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ และมีแรงหนุนจากมูลค่าที่ถูก ผลตอบแทนจากอัตราเงินปันผลที่สูง และมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในตลาดโลก ยิ่งไปกว่านั้น ดีบีเอสยังระบุอีกว่า ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสิงคโปร์ที่โตราว 5% เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆ เช่น เกาหลี มาเลเซีย และไทย ที่ผลประกอบการออกมาติดลบในปี 2562 ทำให้หุ้นในตลาดสิงคโปร์ดูจะแข็งแกร่งที่สุดในปี 2562 อีกทั้งในเชิงมูลค่า (Valuations) ของตลาดหุ้นสิงคโปร์ยังน่าสนใจ ในมุมของค่า P/E และเงินปันผล เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นกู้สิงคโปร์ ดีบีเอสมองว่า หากต้องการอัตราผลตอบแทนที่สูง ตลาดหุ้นสิงคโปร์สามารถให้นักลงทุนได้ โดยตลาดหุ้นสิงคโปร์เป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงที่สุดในเอเชีย ประกอบกับเรื่องการจัดการนโยบายทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน ดีบีเอสเชื่อว่าจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาอย่างมากในตลาดหุ้น และอาจจะต้องมีการปรับประมาณการค่า P/E ขึ้นอีกด้วย

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า นักลงทุนที่ต้องการขยายขอบเขตการลงทุน เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน และเพิ่มเสถียรภาพให้พอร์ตผ่านการกระจายความเสี่ยง ตลาดหุ้นจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ก็เป็นอีกทางเลือกการลงทุนระยะยาวที่น่าเย้ายวน ด้วยรากฐานทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง และโครงสร้างตลาดทุนที่ประกอบไปด้วยธุรกิจระดับสากลที่หลากหลาย ซึ่งนักลงทุนสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นต่างประเทศเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ www.jitta.com และแอปพลิเคชัน Jitta โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Jitta แหล่งข้อมูลเพื่อการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

Jitta คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวิเคราะห์หุ้นแนวเน้นคุณค่าที่มีผู้ใช้บริการกว่า 100,000 คนทั่วโลก เพราะให้บริการข้อมูลวิเคราะห์หุ้นใน 9 ตลาด ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ รวมถึงตลาดใหม่ล่าสุด ไต้หวัน และ จีน ที่เพิ่งเปิดให้บริการฉลองเทศกาลตรุษจีนในวันที่ 24 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ Jitta มีข้อมูลหุ้นตลาดหลักๆ ทั่วโลกเกือบทั้งหมด

ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่ Jitta ให้บริการนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ มีทั้งข้อมูลงบการเงินดิบย้อนหลัง 10 ปี 10 ไตรมาส สำหรับนักลงทุนที่ต้องการวิเคราะห์หุ้นแบบเจาะลึก และข้อมูลวิเคราะห์พื้นฐานธุรกิจที่เทคโนโลยี AI เฉพาะของ Jitta ย่อยและสรุปออกมาให้เข้าใจง่าย ในชื่อ Jitta Score คะแนนศักยภาพของธุรกิจคำนวณจากงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี Jitta Line เส้นบ่งบอกมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม ควรเข้าซื้อ และ Jitta Ranking อัลกอริทึมจัดอันดับ “หุ้นดีราคาถูก” ที่นำหุ้นทั้งหมดในตลาดมาเรียงอันดับตามศักยภาพธุรกิจและราคาหุ้น เพื่อให้นักลงทุนค้นพบ “ธุรกิจที่ดี ในราคาที่เหมาะสม” ได้อย่างรวดเร็ว

นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Jitta กล่าวว่า “Jitta  ให้บริการข้อมูลแบบ Global Service และล่าสุดได้เปิดให้บริการข้อมูลเพิ่มอีก 2 ตลาดคือ จีนแผ่นดินใหญ่ และไต้หวัน โดยข้อมูลเหล่านี้ Jitta ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะเรามุ่งหวังจะให้นักลงทุนในประเทศไทยที่สนใจไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งนักลงทุนทั่วโลก มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลหุ้นแบบไร้พรมแดน สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศได้สะดวก ง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก” โดยแพลตฟอร์มของ Jitta ทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน รองรับการใช้งานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสำหรับนักลงทุนที่ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน สามารถดูข้อมูลเป็นภาษาจีนได้อีกด้วย

หากไม่ต้องการวิเคราะห์หุ้นรายตัวด้วยตนเอง นักลงทุนสามารถคัดเลือกหุ้นอันดับต้นๆ ของ Jitta Ranking ในตลาดต่างๆ เพื่อลงทุนได้ โดย Jitta ได้จัดทำรายงานผลตอบแทนย้อนหลังของการลงทุนในหุ้น 30 อันดับแรกของ Jitta Ranking ในแต่ละตลาดทุกปี ตั้งแต่ปี 2552 ถึงล่าสุดปี 2562 พบว่า การลงทุนตาม Jitta Ranking Top 30 สามารถสร้างผลตอบแทนชนะดัชนีตลาดหุ้นได้ทั้ง 9 ตลาด ซึ่งรวมถึงตลาดที่กำลังเผชิญปัญหาอย่างสหรัฐฯ ฮ่องกง และสหราชอาณาจักรด้วย

ในด้านผลตอบแทนของ Jitta Ranking Top 30 ทั้งตลาดหุ้นจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ เปรียบเทียบกับ Jitta Ranking Top 30 ตั้งแต่ปี 2552 ดัชนีฮั่งเส็ง (HSI) ของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (HKEX) ให้อัตราผลตอบแทนที่ 6.31% ในขณะที่อัตราผลตอบเทนของ Jitta Ranking Top 30 อยู่ที่ 10.82% ดัชนีสเตรท ไทม์ส (STI) ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ให้อัตราผลตอบแทนที่ 5.64% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของ Jitta Ranking Top 30 อยู่ที่ 11.06% ดัชนีเวทเตทไต้หวัน (TAIEX) ของตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน (TWSE)  ให้อัตราผลตอบแทนที่ 9.12%  ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของ Jitta Ranking Top 30 อยู่ที่ 14.78% และตลาดหลักทรัพย์อีก 2 แห่งจากจีนแผ่นดินใหญ่ นั่นคือ ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต (SSE) ของตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (SHSE) ให้อัตราผลตอบแทนที่ 4.8%  ในขณะที่อัตราผลตอบเเทนของ Jitta Ranking Top 30 อยู่ที่ 17% และดัชนีเซินเจิ้น คอมโพเนนท์ (SZSE) ของตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น (SZSE) ให้อัตราผลตอบแทนที่ 4.42%

นายตราวุทธิ์ กล่าวเสริมอีกว่า Jitta สรุปผลตอบแทนของ Jitta Ranking ทุกๆ ปี ซึ่งจะเห็นว่า แม้ Jitta Ranking จะไม่ได้ทำผลตอบแทนชนะตลาดทุกปี แต่ระยะยาวแล้วผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของทุกตลาดยังคงสูงกว่าดัชนี เพราะการลงทุนตาม Jitta Ranking เป็นการลงทุนระยะยาวตามพื้นฐานธุรกิจที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช้อารมณ์ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไม่ได้มีเหตุผลตลอดเวลา ระยะสั้นก็มีขึ้นมีลงตามอารมณ์นักลงทุน แม้ว่าบางปี Jitta Ranking จะเลือกหุ้นได้ถูกต้อง เป็นหุ้นที่ดีและราคาถูกมาก แต่ถ้านักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดไม่เห็นคุณค่านั้น และไปนิยมชมชอบหุ้นกลุ่มอื่นๆ ผลตอบแทนของ Jitta Ranking ก็อาจจะแพ้ตลาดได้ แต่ความไม่สมเหตุสมผลแบบนี้เกิดขึ้นได้แค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น สุดท้ายตลาดก็จะต้องปรับสมดุลย์ และกลับมาลงทุนในหุ้นที่พื้นฐานดีราคาถูกอีกครั้ง

เห็นได้ชัดว่า แม้ตลาดหุ้นทั้ง 4 ให้อัตราผลตอบแทนที่เป็นบวกตั้งแต่ปี 2552 แต่อัตราผลตอบแทนของ Jitta Ranking Top 30 ยังสามารถให้อัตราผลตอบแทนที่มากกว่าเกือบเท่าตัว ดังนั้น การเปิดให้บริการข้อมูลครอบคลุมตลาดหุ้นตลาดหุ้นจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ จะยิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศในการเข้าถึงข้อมูลและโอกาสการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีระยะยาว จากการกระจายความเสี่ยงลงทุนกลุ่มตลาดหุ้นทั้ง 4 ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี

ข้อมูลตลาดหุ้นทั้ง 4 แห่ง สามารถสมัครใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ www.jitta.com  หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Jitta สำหรับระบบ iOS และ Android ฟรีที่ http://bit.ly/2R9EIBI