TTA รายงานผลประกอบการ ปี 2562 ด้วยกำไรสุทธิเติบโตขึ้น

715

  • TTA มีกำไรสุทธิที่ 6 ล้านบาท
  • EBITDA เพิ่มขึ้น 31% เป็น 1,906.4 ล้านบาท
  • กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือย้งคงรักษาตำแหน่งในอุตสาหกรรมได้อย่างดี โดยมีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่า (TCE) สูงกว่าอัตราตลาดสุทธิอยู่ร้อยละ 16
  • กลุ่มุธุรกิจนอกชายฝั่งมีผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติที่เป็นส่วนของ TTA ที่ปรับตัวดีขึ้น 184.6 ล้านบาท
  • โครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อยู่ในระดับต่ำที่ 05 เท่า ณ สิ้นปี 2562

มิติหุ้น- TTA เผยผลประกอบการปี 2562 มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA เติบโต 168% เป็น 562.6 ล้านบาท ด้วยกำไรขึ้นต้นอยู่ที่ 3,159.3 ล้านบาท และ EBITDA 1,906.4 ล้านบาท เนื่องจากผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจหลักส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น

ในปี 2562 TTA มีรายได้รวมคิดเป็น 15,428 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากปีก่อน โดยมีสัดส่วนรายได้มาจากกลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ ร้อยละ 44 กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง ร้อยละ 21 กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร ร้อยละ 19 และกลุ่มการลงทุนอื่น ร้อยละ 16 ของรายได้รวมทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีกำไรจากการลงทุนจากการขายหุ้นบางส่วนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่งจำนวน 283.7 ล้านบาท และกำไรจากรายการพิเศษในปี 2562 จำนวน 111.9 ล้านบาท

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของกลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ เป็นผลมาจากการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและอัตราค่าระวางที่ดีกว่าอัตราตลาด ในปี 2562 ธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือมีทิศทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากค่าดัชนีบอลติค (BDI) ที่ ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดของปีที่ 595 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ 2,518 จุดในเดือนกันยายน 2562 และสิ้นปีปิดที่ 1,090 จุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,353 จุด อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 เริ่ม  ต้นปีด้วยความยากลำบาก เพราะนอกจากจะเป็นช่วงที่ธุรกิจชะลอตัวตามฤดูกาลแล้ว  ด้วยเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศบราซิล ส่งผลให้ผลผลิตสินแร่เหล็กต่ำกว่าปกติ ตลอดจนมีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซ้ำเข้ามาอีก อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดจะส่งผลในระยะสั้น ทั้งอุปสงค์และอุปทานของการขนส่งสินค้าแห้งเทกองจะกลับมาสู่ภาวะปกตินับจากไตรมาสที่ 2/2563 เป็นต้นไป

กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันสูง ในปี 2562 กลับมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราการใช้ประโยชน์เรือที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 64 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลและราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีการซื้อขายอย่างผันผวนทั้งปีในกรอบ 54-75 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมันดิบในอนาคต ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันในกลุ่มโอเปก (OPEC) และประเทศพันธมิตร

ซึ่งนำโดยประเทศรัสเซียได้ตกลงร่วมกันที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2562 ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2563 และมีโอกาสที่จะขยายระยะเวลาอีกในอนาคต นอกจากนี้ Energy Information Administration (EIA) คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะเฉลี่ยอยู่ที่ 65 เหรียฐสหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2563 และ 68 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2564

กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร ยังคงสามารถรักษาตำแหน่งในอุตสาหกรรมไว้ได้ท่ามกลางสภาวะตลาดที่  ท้าทายในปี 2562 นอกจากปัจจัยเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญตกต่ำและต้นทุนวัตถุดิบที่สูงแล้ว กลุ่มเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรยังต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันกับผู้ผลิตปุ๋ยจากประเทศจีน ซึ่งเป็นผลมาจากการยกเว้นภาษีส่งออกปุ๋ยจากประเทศจีนตั้งแต่ต้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณขายปุ๋ยทั้งหมดยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 TTA มีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 33,473.1 ล้านบาท และมีเงินสดภายใต้การการบริหาร ซึ่งรวมเงินสด รายการเทียบเท่าเงินสดและสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่นอยู่ในระดับที่สูงที่ 7,085.1  ล้านบาท

ผลการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ : โทรีเซน ชิปปิ้ง รายงานผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 749.0 ล้านบาท ในปี 2562 รายได้ค่าระวางโตขึ้นร้อยละ 16 จากปีก่อน เป็น 6,722.6 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากจำนวนวันทำงานของเรือที่เช่ามาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจเรือเช่าที่เติบโตขึ้น ขณะที่ EBITDA อยู่ที่ 1,326.5   ล้านบาท อัตราค่าระวางเรือเทียบเท่า (TCE) อยู่ที่ 10,991 เหรียญสหรัฐต่อวัน สูงกว่าอัตราค่าระวางเรือซุปราแมกซ์สุทธิ ซึ่งอยู่ที่  9,451 เหรียญสหรัฐต่อวัน  อยู่ร้อยละ 16 นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือ (OPEX) ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 3,869 เหรียญสหรัฐต่อวันและอัตราการใช้ประโยชน์เรือที่ โทรีเซน ชิปปิ้ง เป็นเจ้าของอยู่ในระดับสูงเกือบร้อยละ 100 ในปี 2562

ณ สิ้นปี 2562 โทรีเซน ชิปปิ้ง เป็นเจ้าของเรือซุปราแมกซ์ จำนวน 21 ลำ มีระวางบรรทุกเฉลี่ยเท่ากับ 55,285 เดทเวทตัน (DWT) และมีอายุเฉลี่ย 12.71 ปี ไม่มีการซื้อหรือขายเรือในปี 2562 ในขณะที่มีการซื้อเรือมือสองจำนวน 2 ลำและขายเรือเก่าออกไปจำนวน 2 ลำในปี 2561

สำหรับในปี 2563 จะมีปัจจัยเชิงบวกจากการเซ็นสัญญาการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯและประเทศจีน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าธัญพืชและถั่วเหลือง ส่วนการเติบโตด้านอุปทานคาดว่าจะถูกจำกัดจากกฎระเบียบในการลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO2020)  โดยปัจจัยบวกรวมถึงระยะเวลาที่เรือเข้าอู่เพื่อติดตั้งเครื่องบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ ความเร็วเรือที่ลดลงและการปลดระวางเรือที่เพิ่มขึ้น

กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง: บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) หรือ เมอร์เมด มีรายได้เป็น 3,286ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีก่อน สาเหตุจากอัตราการใช้ประโยชน์เรือที่เพิ่มขึ้น จำนวนวันทำงานเป็น 907 วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 23   โดยอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 52 ในปี 2561 เป็น     ร้อยละ 79 ในปี 2562 ตามจำนวนวันทำงานที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่สูงขึ้น

เมอร์เมด มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 302.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 108 จากปีก่อน ขณะที่ EBITDA แม้จะเป็นลบ แต่ปรับต้วดีขึ้นร้อยละ 80 จากปีก่อนหน้า เป็น (66.2) ล้านบาท นอกจากนี้ ยังรายงานผลขาดทุนจากรายการพิเศษ จำนวน 134.7 ล้านบาทในปี 2562 สาเหตุหลักมาจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการด้อยค่าทางบัญชีของเรือวิศวกรรมใต้ทะเลที่เก็บในอู่เย็น (cold-stacking) จำนวน 2 ลำ ดังนั้น เมอร์เมด รายงานผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 358.8 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวดีขึ้น 184.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 34 จากปีก่อนหน้า ส่วนมูลค่าสัญญาให้บริการที่รอส่งมอบ (order book) ณ สิ้นปี แตะระดับ 217 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2559

สำหรับธุรกิจขุดเจาะ เรือขุดเจาะประเภท jack-up drilling rigs สเปคสูง จำนวน 3 ลำ ดำเนินภายใต้บริษัทร่วมแห่งหนึ่ง มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเรือเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 100 ในปี 2562 ทั้งนี้ ถึงปัจจุบัน เรือขุดเจาะทั้งหมดนี้ได้รับการต่ออายุจากลูกค้ารายเดิมทั้ง 3 สัญญาออกไปอีก 3 ปี โดยสัญญาจะหมดอายุในเดือนมิถุนายน          ปี 2565 เดือนธันวาคม ปี 2565 และเดือนเมษายน ปี 2566

กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร : ท่ามกลางสภาวะตลาดที่ท้าทาย กลุ่มเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรยังคงสามารถรักษาตำแหน่งในอุตสาหกรรมไว้ได้ โดยในปี 2562 บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PMTA มีรายได้จากการขาย 2,820.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีก่อน สาเหตุหลักมาจากปริมาณขายปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตของธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่น  โดยปริมาณขายปุ๋ยทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 189.8 พันตันในปี 2562 ทั้งนี้ ปริมาณขายปุ๋ยภายในประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75 ของปริมาณขายปุ๋ยทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เป็น 142.9 พันตัน จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขายปุ๋ยเชิงเดี่ยวและปุ๋ยเชิงผสมที่เป็นสูตรหลัก ส่วนปริมาณการส่งออกปุ๋ยลดลงร้อยละ 30 เป็น 47.0 พันตัน สาเหตุหลักมาจากการแข่งขันกับผู้ผลิตปุ๋ยจากประเทศจีน ดังนั้น PMTA จึงหันไปมุ่งเน้นตลาดในทวีปแอฟริกาแทน อย่างไรก็ตาม EBITDA เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เป็น 152.3 ล้านบาทในปี 2562

นอกจากธุรกิจปุ๋ยแล้ว PMTA ยังให้บริการจัดการพื้นที่โรงงาน โดยมีพื้นที่ให้บริการ 66,420 ตารางเมตร รายได้จากการให้บริการจัดการพื้นที่โรงงานและรายได้อื่นอยู่ที่ 64.5 ล้านบาทในปี 2562

ดังนั้น PMTA รายงานผลกำไรสุทธส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16 จากปีก่อน

กลุ่มลงทุนอื่น: กลุ่มการลงทุนอื่นมุ่งเน้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B), การบริหารทรัพยากรน้ำและ โลจิสติกส์

  • ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

พิซซ่า ฮัท ซึ่งดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562   พิซซ่า ฮัท มีสาขาทั้งหมด 147 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งสาขาทั้งหมดที่เปิดใหม่เป็นสาขาที่เปิดตามหัวเมืองใหญ่

ทาโก้ เบลล์ (Taco Bell) ซึ่งดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 โดย ทาโก้ เบลล์ ได้เปิดสาขาทั้งหมด 5 สาขา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ สาขาเมอร์คิวรี่ แอท ชิดลม, สาขาสยามพารากอน, สาขาเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า, สาขาสามย่านมิตรทาวน์ และสาขาเซ็นทรัล เวสต์เกต

  • ธุรกิจบริหารทรัพยากรน้ำ

บริษัท เอเชีย อินฟราสตรักเชอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (AIM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 80.5 เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง และให้บริการครบวงจรทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ AIM ยังได้รับสัมปทานในการจำหน่ายน้าประปาในหลวงพระบาง ประเทศลาว ผ่านบริษัทย่อยที่ AIM ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 66.7 ทั้งนี้ ในปี 2562 AIM ได้เข้าร่วมประมูลโครงการของภาครัฐ โดยมีมูลค่าโครงการรวมกันมากกว่า 1 พันล้านบาท และ ณ ปัจจุบัน AIM ได้เซ็นสัญญา 1 โครงการ มูลค่ากว่า 250 ล้านบาท

www.mitihoon.com