AMANAH ครองแชมป์กำไรนิวไฮ เขย่าสินเชื่อพุ่ง2พันล้าน (05/03/63)

292

มิติหุ้น- AMANAH ดาวเด่น “กลุ่มลิสซิ่ง” หลัง “บิ๊กบอส” ปักธงปี 63 สินเชื่อปล่อยใหม่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 2 พันล้านบาท โตกว่า 27% จากปีก่อน เหตุให้กลยุทธิปล่อยสินเชื่อ Aggressive โบรกชี้ปี 63 กำไรสุทธิทำนิวไฮต่อเนื่อง 290 ล้านบาท เติบโต 18% หลังสินเชื่อโตไม่หยุด ขณะที่ NPLs-Cost to income ลดลงต่อเนื่อง ชี้เป้า 4 บาท

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง หรือ AMANAH โดย “นางสาวจุฑามาศ เต็มวัฒนางกูร” นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยเลือกให้ “AMANAH” เป็นหุ้นเด่นที่น่า “ซื้อสะสม” ภายหลังจาก “ผู้บริหารระดับสูง” ได้ตั้งเป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 63 เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 2 พันล้านบาท เติบโตกว่า 27% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการปล่อยสินเชื่อ Aggressive ต่อเนื่อง

โชว์พื้นฐานแข็งแกร่ง

อย่างไรก็ดีในปี 63 ฝ่ายวิจัยคาดว่ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่จะอยู่ที่ 1.73 พันล้านบาท เนื่องจากเป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่นี้เท่ากับเป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 62 ที่ 2 พันล้านบาท ซึ่ง AMANAH ปล่อยได้ที่เพียง 1.57 พันล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้ AMANAH จะยังคงปล่อยสินเชื่อแบบ Aggressive ต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังปี 62 ทำให้คาดว่าสินเชื่อใหม่ในช่วงไตรมาส 1/63 จะอยู่ที่ 300-400 ล้านบาท ใกล้เคียงกับที่ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ในปี 63 AMANAH จะมีระดับสำรองเพียงพอต่อ TFRS9 และมีสำรองส่วนเกินคงเหลือราว 10 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทจะยังคงตั้งสำรองฯในระดับปัจจุบันต่อเนื่องเพื่อรองรับส่วนสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นสำหรับงวดที่ผลประกอบการบริษัทไม่ดี ขณะที่ Loan yield มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (คาด 18.6% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 18.2%) จากสินเชื่อใหม่ในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ที่ผ่านมา มี yield เฉลี่ยที่ 22% สูงกว่าปี 62 ที่อยู่ที่ yield เฉลี่ย 21.5%

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 1/63 จะเติบโตต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะสินเชื่อที่บริษัทจะยังคงปล่อยแบบ Aggressive และการรับรู้รายได้จากการติดตามลูกหนี้พิพากษาที่บริษัทได้เพิ่มการติดตามในช่วงครึ่งหลังปี 62 เป็นต้นมา ขณะที่กำไรสุทธิไตรมาส 1/63 ลดลงจากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยฤดูกาล

กำไรนิวไฮ18%-เป้า4บาท

ดังนั้นทั้งปี 63 คาดกำไรสุทธิจะทำนิวไฮต่อเนื่องที่  290 ล้านบาท เติบโต 18% จากปีก่อน จากสินเชื่อที่ขยายตัวประมาณ 13%, NPLs ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 5.3% และ Cost to income ลดลงเป็น 40% จากขาดทุนการขายรถยึดที่ลดลง ภายหลังที่นโยบายที่จะยึดรถแทนการประนีประนอมหนี้ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยยังไม่ได้รวมผลกระทบจาก TFRS16 ที่คาดว่าบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัย เนื่องจากบริษัทมีสาขาที่น้อยเพียง 43 แห่ง และเน้นการขยายสินเชื่อผ่าน AE เป็นหลัก  แนะนำ “ซื้อ” เป้าหมาย 4 บาท