Central Retail Corporation หรือ CRC เป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายประเภทผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลายในประเทศไทย โดยตามรายงานของ Euromonitor International CRC และบริษัท ย่อย (กลุ่มบริษัทฯ) มีส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมค้าปลีกของประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 5.3 เมื่อพิจารณาจากมูลค่ายอดขายค้าปลีกในปี 2561 ไม่เพียงเท่านั้น CRC ยังเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายประเภทผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย (Multi-format and Multi-category) ในประเทศไทย และมีการขยายธุรกิจไปต่างประเทศโดยเป็นผู้นำในประเทศอิตาลี และเป็นหนึ่งในผู้นำในประเทศเวียดนาม (จากข้อมูล Euromonitor International)
ธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มแฟชั่น ซึ่งมุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้าเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ (2) กลุ่มฮาร์ดไลน์ ซึ่งมุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าตกแต่งและปรับปรุงบ้าน และ (3) กลุ่มฟู้ด ซึ่งมุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าที่มักพบได้ทั่วไปในร้านสะดวกซื้อ
ทางหลักทรัพย์กรุงศรีคาดว่าผลประกอบการของ CRC จะโดนผลกระทบจากกระระบาดของ COVID-19 ในช่วงไตรมาส 2Q-3Q20 และจะฟื้นตัวได้ในช่วง 4Q20 และยังคงมีแนวโน้มการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดในระดับสูงในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ เฉลี่ย 32.6% CAGR โดยปัจจัยสนับสนุนการเติบโตมาจาก (i) การขยายสาขาของธุรกิจที่โอกาสเติบโตสูง ในเวียดนาม ซึ่งนำโดยบิ๊กซีเวียดนาม โดยเราคาดว่ารายได้ของกลุ่มค้าปลีกอาหารจะเติบโตสูงและหนุนให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเวียดนามมีรายได้เติบโตในระดับร้อยละ 13-20% ในช่วงเวลา 2020F-2020F และรายได้ค่าเช่าที่มีอัตรากำไรสูงจะช่วยเพิ่มกำไรและความมั่นคงให้กับตัวบริษัทเป็นอย่างดี (ii) การฟื้นตัวของธุรกิจห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย และ กลุ่มสินค้าฮาร์ดไลน์ นำโดยไทวัสดุ เรามองว่ารายได้ค่าเช่าที่มีอัตรากำไรสูง จะช่วยบรรเทายอดค้าปลีกแฟชั่นได้ นอกจากนี้เรายังมองเห็นโอกาสในการฟื้นตัวของธุรกิจในช่วงปลายปีและการขายสาขาของไทวัสดุในปีถัดไป (iii) การประหยัดต่อขนาดของกลุ่มบริษัทฯ
การที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายประเภทผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ HCDS ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ให้การสนับสนุนกลุ่มบริษัทฯ ในการประกอบธุรกิจผ่านการให้บริการและการให้สิทธิประโยชน์ทางธุรกิจ นอกจากนี้ HCDS ยังให้สิทธิประโยชน์ทางธุรกิจต่าง ๆ เช่น การให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บริษัทฯ ในการใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ และ ชื่อทางการค้า “เซ็นทรัล และ Central” และ การให้สิทธิในการเข้าซื้อธุรกิจค้าปลีกของ HCDS ก่อนบุคคลอื่น (ROFR) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ธุรกิจ JD Central และ ห้างสรรพสินค้าในยุโรป และ อินโดนีเซีย เป็นต้น
โดยสรุปถึงแม้ว่าเราจะมองว่ากำไรสุทธิก่อนรายการพิเศษของ CRC จะตกลง 39% ในปี 2020 จากผลกระทบของ COVID-19 เรามองเห็นการฟื้นตัวของกำไรสุทธิก่อนรายการพิเศษของ CRC จะเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ที่ระดับร้อยละ 32.6 ในช่วงเวลาปี 2021 ถึงปี 2022 หนุนโดยรายได้ที่เติบโตจากทั้งธุรกิจค้าปลีกที่มียอดขายสาขาเดิมดีขึ้น การขยายสาขาจะช่วยหนุนให้รายได้ค่าเช่าเติบโตในอัตราเร่งตัวขึ้น และการประหยัดต่อขนาดจะช่วยเพิ่มอัตรากำไรสุทธิให้สูงขึ้น จากร้อยละ 2.3 ในปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 3.2 ในปี 2022
เราประเมินมูลค่าบริษัท CRC ด้วยวิธี Discount free cashflow (DCF) ภายใต้สมมติฐาน Risk free rate ที่ 2.5% อัตราผลตอบแทนของตลาดที่ 10% และค่าเบต้าที่ 1 จากค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมย้อนหลัง 5 ปี โดยโครงสร้างการเงินของบริษัทจะมี D/E ratio ที่ 20% จะได้ Weighted average cost of capital ที่ 8.3% ได้มูลค่าบริษัทที่ 34 บาท ต่อหุ้น
Disclaimer: เอกสาร/รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม บมจ.หลักทรัพย์กรุงศรี มิอาจรับรองความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ บทความดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดของผู้จัดทำเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน บริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็นหรือประมาณการต่างๆที่ปรากฏในเอกสาร/รายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าดังนั้นนักลงทุนโปรดใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบในการพิจารณาการลงทุน
โดยกรุงศรีทอล์ก
www.mitihoon.com