ทีเส็บเร่งยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์สู้โควิด-19

206

มิติหุ้น-ทีเส็บ เปิดโครงการ Virtual Meeting Space นำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาสนับสนุนให้ผู้ประกอบการยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์เข้าสู่ยุคการประชุม/นิทรรศการออนไลน์ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมไมซ์ในภาวะการปิดเมืองทั่วโลก พร้อมช่วยยกระดับมาตรฐานสาธารณสุข เพิ่มความมั่นใจด้านสุขอนามัยแก่ผู้ใช้บริการ
มิติหุ้น-ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนอย่างเร่งด่วน ซึ่งหลายมาตรการเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการและบุคลากรไมซ์ เช่น มาตรการให้เงินเยียวยาลูกจ้างที่ว่างงานอันเกิดจากเหตุสุดวิสัยได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม 62% ของค่าจ้างรายวันแต่ไม่เกิน 90 วัน มาตรการลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟ 3% สำหรับผู้ใช้งานทุกกลุ่มในเดือนเมษายน-มิถุนายน และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการเฉพาะ เช่น กิจการโรงแรม กิจการให้เช่าพักอาศัย ได้รับการขยายระยะเวลาการจ่ายค่าไฟในเดือนเมษายนและพฤษภาคมโดยจะผ่อนผันให้ 6 เดือนของแต่ละรอบบิล มาตรการช่วยเหลือเยียวยาด้านการแพทย์สาธารณสุข ด้านการดูแลเศรษฐกิจภายในประเทศที่เกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพ การยกระดับการค้า และการผลิต รวมถึงการบริการในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์
“ผลจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการยกเลิกงานไมซ์ทั่วโลก ทำให้การประชุมออนไลน์ การแสดงสินค้าออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการอยู่รอดของธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการของไทยเองต้องปรับตัวให้ทัน ดังนั้น ทีเส็บจึงเข้ามาดำเนินการเพื่อเสริมมาตรการของรัฐบาล มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมมาตรฐานสถานที่จัดงานและผู้ประกอบการไมซ์ ได้แก่ การส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัย และการส่งเสริมการจัดงานโดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์ จำนวน 2 โครงการในระยะแรกนี้”
โครงการแรก “จัดประชุมอย่างไร ปลอดภัยไร้ COVID-19” ให้การสนับสนุนงบประมาณ 30,000 บาทสำหรับสถานประกอบการไมซ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปจัดทำแผน และจัดหาอุปกรณ์ตามมาตรการคัดกรองและป้องกันไวรัสโควิด-19 ตามแนวปฏิบัติควบคุมและป้องกันไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในสถานที่จัดงานและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มาใช้บริการ อาทิ การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าร่วมงาน การตรวจประวัติของผู้ที่เข้ามาร่วมงาน การติดตั้งจุดล้างมือ จุดบริกาหลักเกณฑ์ของสถานประกอบการไมซ์ที่สามารถเข้าร่วมโครงการ คือ มีคุณสมบัติเป็นสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standard(TMVS) หรือเป็นผู้ประกอบการโรงแรมซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทย หรือ Thai Hotel Association (THA) ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะสนับสนุนสถานประกอบการไมซ์ได้ถึง 216 สถานที่ทั่วประเทศ ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 6,480,000 บาท โดยโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 สามารถสอบถามและลงทะเบียนขอรับการสนับสนุนได้ที่ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ ทีเส็บ อีเมล MICEstandards@gmail.com
โครงการที่สอง “Virtual Meeting Space หรือ VMS” สนับสนุนผู้ประกอบการในการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดงาน รวมถึงการเพิ่มทักษะความรู้ในการใช้แพลทฟอร์มออนไลน์ให้ผู้ประกอบการไมซ์ในภาวะวิกฤติCOVID-19แบ่งเป็น 3กิจกรรม ได้แก่
· Webinarหรือ การประชุมสัมมนาเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ ให้การสนับสนุนการจัดหาและบริหารจัดการแพลทฟอร์มออนไลน์ สำหรับผู้จัดงานและผู้ประกอบการไมซ์ที่ต้องการจัดประชุมสัมมนา ปรับเปลี่ยนมาใช้การจัดประชุมสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ โดยทีเส็บจะดำเนินการด้านบริหารจัดการเรื่องการผลิต และการจัดเตรียมสตูดิโอสำหรับการไลฟ์ (LIVE) ให้กับผู้จัดงาน รวมถึงการจัดเตรียมผู้ประสานงานทางเทคนิค การดูแลระบบระหว่างการไลฟ์ (LIVE) ซึ่งผู้จัดงานสามารถนำเสนอสไลด์ดิจิทัล (Slide Presentation) ขึ้นโชว์ควบคู่ไปพร้อมกับการประชุมสัมมนาหรือการพูดคุยได้ในเวลาเดียวกัน การแชร์ประสบการณ์ การพูดคุยร่วมกับวิทยากร การสอบถามแบบยกมือแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการทำโพลแบบสำรวจ โดยรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 10,000 คนต่องาน
· O2O (Offline to Online)หรือ การจัดงานแสดงสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ให้การสนับสนุนการจัดหาและบริหารจัดการแพลทฟอร์มออนไลน์สำหรับผู้จัดงานแสดงสินค้า โดยสนับสนุนการถ่ายทอดสดผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งทั้งจากสตูดิโอหรือสถานที่ของผู้จัดงาน ครอบคลุมทั้งการร่วมวางคิว ผลิต ควบคุม และดูแลระบบระหว่างการถ่ายทอดสดผ่านไลฟ์สตรีมมิ่ง รวมถึงจัดเตรียมผู้ประสานงานทางเทคนิคให้แก่ผู้จัดงานแสดงสินค้าในทุกขั้นตอน ซึ่งผู้ร่วมแสดงสินค้าจะสามารถนำเสนอกิจกรรมและสินค้าบริการต่างๆ รวมถึงมีระบบการชำระเงินออนไลน์ที่สามารถเพิ่มยอดขายให้แก่ธุรกิจได้อีกด้วย รแอลกอฮอล์ และการเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น · E-Learning Platformหรือศูนย์การเรียนรู้คอร์สฝึกอบรมออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการไมซ์ เพื่อเพิ่มทักษะและทบทวนความรู้ (Upskillsand Reskills) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ในช่วงที่งานได้รับผลกระทบ สามารถรองรับการทำงานที่ปฏิบัติจริงได้ทันที และเตรียมความพร้อมปูพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ประกอบการไมซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทีเส็บเปิดรับสมัครผู้ประกอบการไมซ์ที่สนใจจำนวน 250 ราย เข้าเรียนคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม YourNextUจากสถาบัน Southeast Asia Center หรือ SEACรวมทั้งสิ้น 6 หลักสูตร ได้แก่1. หลักสูตรการบริหารโครงการ (Project Management) 2. หลักสูตรทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonnel Skills) 3. หลักสูตรการจัดการ (Management) 4. หลักสูตรการสื่อสาร (Communication) 5. หลักสูตรความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และ 6. หลักสูตรการใช้ดิจิตอล(Digital) ซึ่งกำหนดระยะเวลาเรียนออนไลน์ 6เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2563โดยผู้เข้าเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากทีเส็บ หากเรียนรายวิชาครบตามที่กำหนด
โครงการVMSจะให้การสนับสนุนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป สามารถสอบถามได้ที่ ฝ่าย MICE Intelligence และนวัตกรรม ทีเส็บ อีเมล vms@tceb.or.th
“นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสCOVID-19 ทีเส็บจึงรับแนวทางการทำงานมาปฏิบัติจัดตั้งTCEB COVID-19Information Center หรือ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร COVID-19 ของทีเส็บ เพื่อเป็นศูนย์กลางการสื่อสารข้อมูลในช่วงภาวะวิกฤต โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนข้อมูล ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ วิเคราะห์ ตรวจสอบ พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะ และส่วนประชาสัมพันธ์ จะคอยติดตามสถานการณ์ข่าวสารในภาพรวมที่เร่งด่วน และพัฒนาเนื้อหาและสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องในทุกช่องทางอย่างทันท่วงที เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการไมซ์ ตามแนวทางปฏิบัติของสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” นายจิรุตถ์กล่าวทิ้งท้าย

www.mitihoon.com