มิติหุ้น-ผลกระทบ COVID-19 ส่งผ่านไปถึงภาคเศรษฐกิจต่างๆอย่างชัดเจน สะท้อนผ่านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบปรับฐานแรงเกือบ 70%ytd ดัชนีชี้นำภาคการผลิต PMI ของ สหรัฐ, ยุโรป และญี่ปุ่น ชะลอตัวลงค่อนข้างแรง ขณะเดียวกันด้านตลาดแรงงานมีผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐ สูงกว่าช่วงวิกฤติ Hamburger Crisis มาก ส่งผลให้ IMF มีการลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World GDP) ปี 2563 พลิกกลับมาติดลบ 3%yoy ส่วนในประเทศ แม้สถานการณ์ COVID-19 ดีขึ้น แต่ พ.ร.ก. ฉุกเฉินยังอยู่ โดยมีการผ่อนคลายข้อจำกัด เพื่อให้บางธุรกิจเริ่มทยอยกลับมาดำเนินการได้
แนวโน้ม Fund Flow เดือน พ.ค. ซึ่งปกติตลาดหุ้นมักเผชิญกับเหตุการณ์ Sell in May เสมอ และต่างชาติมักจะขายสุทธิหุ้นไทยมากสุดในเดือนนี้เฉลี่ย 1.65 หมื่นล้านบาท กดดันให้ตลาดหุ้นไทยมักปรับฐานแรงเสมอ ขณะที่แรงซื้อจากสถาบันเริ่มแผ่วลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจากกองทุน SSFX อาจไม่ช่วยหนุนตลาดอย่างที่นักลงทุนคาดหวังมากนัก เนื่องจากมียอดซื้อสะสม ณ 24 เม.ย. 2563 น้อย ซึ่งไม่ถึง 1 พันล้านบาท
ส่วนภาพรวมตลาดหุ้นไทย ยังมีความเสี่ยงจากกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q63 หดตัวแรง อาจเปิดความเสี่ยงให้ฝ่ายวิจัยมีโอกาสปรับลดกำไรต่อหุ้นปี 2563 ลง เป็นรอบที่ 4
ความคาดหวังการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถูกสะท้อนในตลาดหุ้นไปในระดับหนึ่งแล้ว บวกกับ Valuation ทางพื้นฐาน เริ่มตึงตัว ซึ่งกำหนดบนคาดการณ์ EPS ของตลาดปี 2563 ที 72.62 บาท/หุ้น (ต่ำกว่า Consensus ที่ 75 บาท/หุ้น) และให้ Market Earning Yield Gap ที่ 5% จะให้ค่า PER เป้าหมายที่ 17.4 เท่า คิดเป็น SET Index เป้าหมายที่ 1264 จุด เท่ากับว่าที่ระดับ SET Index ปัจจุบันไม่เหลือ Upside ทางพื้นฐานแล้ว
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในเดือน พ.ค. 2563 แนะจัดพอร์ตเตรียมรับความผันผวนของตลาด โดยเน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่ผันผวนต่ำ ปันผลสูง อย่าง RATCH KBANK และ DCC หุ้นที่ผลประกอบการโดดเด่นต่อจากนี้ STA, IVL, COM7 ขณะเดียวกับแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้น Over Value อย่าง ERW และ DELTA
www.mitihoon.com