‘
มิติหุ้น-บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด (“บริษัทจัดการ”) ประเมินภาพรวมการลงทุนเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมาเริ่มฟื้น หลังสถานการณ์ COVID-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย รัฐบาลอัดฉีดเงินเพื่อพยุงเศรษฐกิจ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ลดลงและมุมมองนักลงทุนเริ่มผ่อนคลายความกังวล คาดเศรษฐกิจครึ่งปีหลังเริ่มฟื้นตัวหนุนโอกาสลงทุนในตลาดหุ้น ชู 8 กองทุนที่ได้รับปัจจัยบวกจาก New Normal และให้ผลตอบแทนที่ดีในเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา
นายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนเดือนเมษายน 2563 เริ่มปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกฟื้นตัวจากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ได้แก่ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่มีอัตราลดลงเกือบทุกประเทศ รัฐบาลประเทศต่างๆ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อพยุงเศรษฐกิจบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน และมุมมองของนักลงทุนทั่วโลกที่เริ่มผ่อนคลายความกังวล
ขณะที่ดัชนี MSCI World Index ในช่วงกลางเดือนเมษายน 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว 4% จากที่ลดลงถึง 20% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 สอดคล้องกับดัชนี SET Index ของไทยที่ปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 12% จากไตรมาสแรกที่ดัชนีลดลง 28% (Source: Bloomberg, 21 April 2020) โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2563 จะมีอัตรา -3% โดยจะเริ่มฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง และกลับมาเติบโต 5.8% ในปี 2564 ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่า GDP จะ -5.3% ก่อนจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง และเติบโต 3% ในปี 2564 (Source: IMF and BOT, 21 April 2020)
“เราอยากให้มองวิกฤตเป็นโอกาสที่จะเข้าลงทุน แม้ในปัจจุบันตลาดหุ้นเริ่มฟื้นตัวและอาจเกิดความผันผวนในระยะสั้น แต่ยังสามารถเข้าลงทุนในหุ้นและทรัพย์สินที่มีคุณภาพดีในราคาที่ปรับลดลงมามาก ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในการทยอยลงทุน โดย บลจ.พรินซิเพิล แนะนำ 8 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นและทรัพย์สินที่จะได้รับปัจจัยบวกจาก New Normal อาทิ กลุ่มธุรกิจอี–คอมเมิร์ช, ดาต้า เซ็นเตอร์, โลจิสติกส์, สินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ และสามารถทำผลตอบแทนในเดือนเมษายน 2563 อย่างโดดเด่น” นายวิน กล่าว
ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด กล่าวว่า 8 กองทุนที่แนะนำลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จาก New Normal ประกอบด้วย
กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (PRINCIPAL iPROP) (กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก) และ กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอ็นแฮนซ์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซ์ อินคัม (PRINCIPAL iPROPEN) นโยบายลงทุนในอสังหาริมทรัพย์คุณภาพดีและค่าเช่ามั่นคง ผ่านการลงทุนในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม (Infrastructure Fund) ในไทยและต่างประเทศ ทั้งสองกองทุนนี้ เน้นลงทุนในกลุ่มธุรกิจอี–คอมเมิร์ซ, ดาต้า เซ็นเตอร์, โลจิสติกส์ เช่น NETLINK ผู้รับสัมปทานในการวางโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ทั่วประเทศสิงคโปร์ หรือ Keppel DC REIT บริหาร Data Centers จำนวน 18 โครงการ ใน 8 ประเทศ ซึ่งในช่วง Work from Home กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ได้ประโยชน์จากผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น และมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต โดยในช่วงเดือนเมษายน 2563 กองทุน PRINCIPAL iPROP สร้างผลตอบแทน 1 เดือนที่ 7.8% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 11.7% และ กองทุน PRINCIPAL iPROPEN สร้างผลตอบแทนที่ 7.82% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 9.89%
กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก อินคัม อิควิตี้ (PRINCIPAL APDI) ที่มีนโยบายลงทุนในเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) กองทุนลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ยุค ‘New Normal’ เช่น ‘TENCENT’ ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีทั้ง Online Game, Social Media หรือ Mobile Payment ในช่วง ‘วิกฤติ COVID-19’ นอกจากจะไม่ได้รับผลกระทบแล้วยังเติบโตเพราะทั่วโลกมีการใช้ระบบออนไลน์มากขึ้นในทุกๆ ด้าน หรือ ‘SAMSUNG Electronics’ ซึ่งเป็นผู้นำในการทำจอ LCD, LED และ Memory Chip ซึ่ง SAMSUNG มีส่วนแบ่งในตลาด Memory Chip เกินครึ่งหนึ่งของโลก เป็นต้น โดยในเดือนเมษายน 2563 กองทุนให้อัตราผลตอบแทนที่ 8.80% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 9.01%
กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (PRINCIPAL CHEQ) ที่มีนโยบายลงทุนหุ้นบริษัทจดทะเบียนที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในประเทศจีน โดยหุ้นในพอร์ตของกองทุนก็จะเป็นหุ้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก ‘COVID-19’ อีกทั้งยังจะได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ ‘New Normal’ อีกด้วย เช่น ‘Jiangsu Hengrui’ บริษัทยาอันดับ 1 ของจีน มีความชำนาญด้านยาที่รักษามะเร็งและเนื้องอก ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสในครั้งนี้เลย หรือ ‘Venustech’ ผู้นำด้าน Network Security ที่คิดค้นเกี่ยวกับระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ โดย Venustech ถือเป็นผู้นำในจีนและมีบริษัททั่วโลกที่เป็นลูกค้าอีกกว่า 30,000 บริษัท ทั่วโลก เป็นต้น โดยกองทุนให้อัตราผลตอบแทนเดือนเมษายน 2563 เท่ากับ 4.95% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 6.07%
กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ (PRINCIPAL GOPP) กองทุนที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีหรือทนทานต่อกระแส Disruptive มีความสามารถในการแข่งขันสูง เช่น Amazon ผู้นำด้านค้าปลีกออนไลน์ และ Cloud Computing มีฐานลูกค้ากว่า 460 ล้านคน มีพนักงานกว่า 840,000 คน และในช่วงที่เกิดวิกฤตครั้งนี้ Amazon ประกาศจ้างงานเพิ่มขึ้นอีก 175,000 คน เพื่อรองรับยอดขายที่เพิ่มขึ้น หรือ TAL Education Group ผู้นำด้านโรงเรียนติวออนไลน์ในจีน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตจาก new trend ที่ทั่วโลกเปลี่ยนรูปแบบเป็นการเรียนออนไลน์มากขึ้น กองทุนสร้างผลตอบแทนเดือนเมษายน 2563 เท่ากับ 12.63% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 9.9%
กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล แบรนด์ (PRINCIPAL GBRAND) ที่มีนโยบายเน้นลงทุนหุ้นหรือสินทรัพย์ที่มีคุณภาพในแบรนด์ระดับโลก โดยหุ้นที่ได้อานิสงส์เชิงบวกในครั้งนี้ เช่น Microsoft ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจ Software และ Cloud Computing จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง COVID-19 หลายบริษัทเปลี่ยนรูปแบบเป็นการประชุมออนไลน์ ผ่านการใช้ Microsoft Teams จึงทำให้มียอดจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น หรือ Reckitt Benckiser Group ผู้นำด้านสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์
ชั้นนำระดับโลก ยอดสั่งซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้นจากการที่ลูกค้าจะต้องซื้อสินค้าในปริมาณมากและครั้งนี้ผู้บริโภคซื้อพร้อมๆ กันทั่วโลก ในเดือนเมษายน 2563 กองทุนสร้างผลตอบแทนที่ 8.46% เทียบเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 10.11%
กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไทย ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ (PRINCIPAL TDIF)ลงทุนหุ้นไทยที่มีอัตราเงินปันผลสูง เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตน้ำประปาเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศ หรือ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงาน และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในช่วงภาวะหุ้นผันผวน การเน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลดี จะลดความผันผวนของราคาได้ กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนเดือนเมษายน 2563 เท่ากับ 11.54% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 16.85%
กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (PRINCIPAL iBALANCED) กลยุทธ์ Asset Allocation กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ใน 5 กลุ่มสินทรัพย์ ได้แก่ ตราสารหนี้ไทย หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์และทองคำ โดยผู้จัดการกองทุนจากพรินซิเพิลจัดพอร์ตการลงทุนแต่ละสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ให้อัตราผลตอบแทนเดือนเมษายน 2563 เท่ากับ 5.48% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 7.54%
“ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับลดลงรุนแรงและเริ่มฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลายในบางประเทศ และมีการทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ให้ประชาชนเริ่มใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ ถือเป็นโอกาสลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในหุ้นและทรัพย์สินที่มีคุณภาพดีในราคาลดลงและได้รับประโยชน์หรือเติบโตได้จากเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนไป โดยแนะนำให้ทยอยลงทุนและลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 1-3 ปีขึ้นไป” นายวิน กล่าวสรุป
สำหรับนักลงทุนที่สนใจ ติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนหรือสอบถามรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือผู้สนับสนุนการขายฯ หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัดโทร. 02 686-9595 www.principal.th ท่านสามารถเปิดบัญชีและทำรายการผ่าน Principal TH Mobile App ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.principal.th/th/principalTH.html
www.mitihoon.com