เมืองไทยประกันชีวิต ขยายระยะเวลาให้บริการ Telemedicine สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รักษาตัวต่อเนื่อง

126

 

มิติหุ้น-นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการควบคุมลดการแพร่ระบาดของโรค  และอำนวยความสะดวกเพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทางออกจากบ้านของผู้เอาประกันภัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นั้น ล่าสุดเมืองไทยประกันชีวิตพร้อมด้วยโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้าร่วมโครงการ           การให้บริการพบแพทย์และได้รับยาตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ ผ่านทางโทรเวชกรรม (Telemedicine) สำหรับผู้เอาประกันภัยมีโรคเรื้อรังและมีนัดตรวจติดตามการรักษา ได้ขยายระยะเวลาให้บริการจากเดิมจะให้บริการถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เป็น วันที่ 31 สิงหาคม 2563

นอกจากนี้โครงการให้บริการดังกล่าว ยังได้มีโรงพยาบาลคู่สัญญาเข้าร่วมให้บริการดังกล่าวเพิ่มเติมอีก จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศรีสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ จังหวัดเชียงราย และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์แม่สาย จังหวัดเชียงราย  ทำให้ปัจจุบันมีโรงพยาบาลคู่สัญญาเข้าร่วมให้บริการ Telemedicine กับเมืองไทยประกันชีวิตแล้วเป็นจำนวน 48 แห่ง

โดยผู้เอาประกันภัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีความประสงค์ใช้บริการ Telemedicine  นี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยเดิมที่มีประวัติการรักษาในโรงพยาบาลที่ให้บริการตามที่กำหนด และเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องมีการติดตามและต้องได้รับยาต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยบริการดังกล่าวจะครอบคลุมการพบแพทย์ การสั่งยา ทั้งนี้สามารถใช้บริการได้ทั้งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่มีผลประโยชน์              ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ระยะเวลาให้บริการโครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันนี้  – 31 สิงหาาคม 2563  (เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลและกรมธรรม์กำหนด)

สำหรับ Telemedicine Samitivej Virtual Hospital  ยังคงให้บริการตามเงื่อนไขปกติ ครอบคลุมทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและการเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไข้เดิมของทางโรงพยาบาล ครอบคลุมทั้งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลและรายกลุ่ม (เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลและกรมธรรม์กำหนด)

ผู้เอาประกันภัยที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ เมืองไทยประกันชีวิต  โทร. 1766 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้าร่วมโครงการได้โดยตรง

www.mitihoon.com