6 โบรคเกอร์ วางเป้าหุ้นไอพีโอโรงไฟฟ้าขยะ ETC 2.40-2.70 บ. ชูจุดเด่น หุ้น High Growth อนาคตไกล และ Margin สูง เต็งหนึ่งโรงไฟฟ้าขยะ

877

มิติหุ้น-บทวิเคราะห์ของ บริษัทหลักทรัพย์ ชั้นนำหลายแห่ง อาทิ บล.เคทีบีเอส ประเทศไทย ฟินันเซียไซรัส กรุงศรี คันทรีกรุ๊ป โกลเบล็ค และ เอเอสแอล กล่าวว่าบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ETC) เป็นหุ้นโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมตัวแรกของตลาดหุ้นไทย ที่กำลังจะไอพีโอ เข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ในเดือนสิงหาคมนี้ โดย ETC ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนประเภทขยะอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้า  3 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 20.5 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว (COD) รับรู้รายได้แล้วทุกโครงการ และมีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PPA) จำนวน 16.5 MW กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระยะเวลา 20 ปี

โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมที่ครบวงจรทั้งซัพพลายเชน

จุดเด่นของ ETC คือบริษัทฯ สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงอุตสาหกรรม RDF (secured feed stock) ซึ่งเป็น key success ของโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมผ่านบริษัทแม่ คือบมจ. เบตเตอร์เวิลด์ กรีน (BWG) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับบริหารกำจัดกากอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งมีโรงงานผลิตขยะอัดก้อน (RDF) อยู่ภายในกลุ่ม มีกำลังการผลิต RDF ได้กว่า 4 แสนตันต่อปี ซึ่งนอกจากเพียงพอต่อการใช้งานของโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งที่ใช้เชื้อเพลิงรวมประมาณ 1.2 แสนตันต่อปีแล้ว ยังรองรับการเติบโตในอนาคตได้อีกมากทำให้ ETC มีความมั่นคงด้านเชื้อเพลิง กอรปกับ มีบริษัทฯย่อยเป็นผู้รับเหมาทั้งสร้างและบริหารและดูแล ซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า (O&M) จึงประหยัดค่าใช้จ่ายการดูแลโรงไฟฟ้า และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชนและทำให้การขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าในอนาคตเป็นไปได้ง่าย และเป็นโรงไฟฟ้าขยะสะอาดที่ครบวงจร ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) อย่างแท้จริง ที่สำคัญคือภาครัฐสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และช่วยให้การขยายการลงทุนอุตสหกรรมเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงกำหนดอัตราการรับซื้อไฟฟ้า (FiT)  สูงสุด คือ 5.83 บาท  6.83 บาทต่อหน่วย สูงกว่าโรงไฟฟ้าทุกประเภท จึงทำให้ ETC มี Ebitda/ megawatt ที่สูง และมีอัตรากำไรสุทธิที่สูงประมาณ 20%

โอกาสเติบโตสูงมาก เตรียมประมูลโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ และขยะอุตสาหกรรม 44 เมกะวัตต์รวม 444 เมกะวัตต์

ในแผนพลังงานแห่งชาติ ( 2561-2580) ภาครัฐจะจัดให้มีการประมูลโรงไฟฟ้าขยะอีก 44 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการค้างต่อและมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2565 จึงคาดว่าจะมีการประมูลในปีนี้ ซึ่ง ETC เป็น

1 ในบริษัทฯที่มีโอกาสที่จะชนะการประมูลหลายโครงการ เนื่องจากมีครบสมบัติครบถ้วน อาทิ มีปริมาณขยะอุตสาหกรรมรองรับมากพอ ซึ่งเป็นปัจจัยด้านเชื้อเพลิงที่สำคัญ มีประสบการณ์ดำเนินการโรงไฟฟ้าขยะ มีที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม และ มีสถานะการเงินที่ดี นอกจากนี้ ETC สนใจที่จะเข้าประมูลโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 400 เมกะวัตต์ และ โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 44 เมกะวัตต์ รวมเป็น 444 เมกะวัตต์ ทำให้มีโอกาสที่จะเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าได้เป็นเท่าๆตัวภายใน 2 ปีได้ไม่ยาก

ในขณะที่ระยะยาว โอกาสเปิดกว้างจากแนวโน้มภาครัฐเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน ผ่านโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมซึ่งมีการประเมินว่าในประเทศไทยสามารถรองรับโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมได้อีกกว่า 2,000 MW จากปัจจุบันที่ 75 MW       

กำไรเติบโตแรง 148% ปี 2019-2021e หลังจ่ายไฟเต็มปีทุกโรงไฟฟ้า

บล. เคทีบีเอส (ประเทศไทย) ประเมินกำไรสุทธิปี 2020ที่ 262 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +192% YoY และ 2021ที่ 354 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +35% YoY (คิดเป็นเติบโต 2019-21E CAGR ที่ +148%)

โดยมี key drivers จากการรับรู้รายได้ทุกโครงการในปี 2020และปี 2021โรงไฟฟ้าทุกแห่งจะกลับมาดำเนินงานปกติหลังแก้ไขปัญหาทางเทคนิคได้แล้วเสร็จใน 1H20 อย่างไรก็ตามกำไรตั้งแต่2022เป็นต้นไปจะคงที่ในระดับใกล้เคียงกับ 2021และจะเติบโตได้ต้องมาจากโครงการใหม่ๆที่ต้องหามาเพิ่มเติม เราประเมินราคาเหมาะสมที่ 2.55 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้โบรคเกอร์ให้ราคาเป้าหมาย ETC ดังนี้

ฟินันเซียไซรัส (FSS) 2.70 บาท

คันทรีกรุ๊ป (CGS) 2.63 บาท

บล.เคทีบีเอส ประเทศไทย (KTBS) 2.55 บาท

กรุงศรี (KSS) 2.55 บาท

โกลเบล็ค (GBX) 2.53 บาท

และ เอเอสแอล (ASL) 2.40 บาท

www.mitihoon.com