MFC คาดแนวโน้มตลาดของเอเชียเติบโต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19ชูกองทุนเด่นเน้นลงทุนในเอเชีย M-ATECH, MDIVA และ MCHINA น่าลงทุน สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

66

 

 

มิติหุ้น-“บลจ.เอ็มเอฟซี มองตลาดของภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจดีกว่าภูมิภาคอื่นหลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เอเชียอยู่ในช่วงฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทต่างๆ รวมถึงโอกาสการระบาดรอบสองน่าจะมีน้อยกว่าหรือเกิดขึ้นในวงจำกัด เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นน่าจะฟื้นตัวได้เร็วและแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นด้วยการสนับสนุนนโยบายการเงินจากธนาคารกลางและการคลังจากรัฐบาล และด้วยปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและภาระหนี้สาธารณะที่ไม่สูงเกินไปทำให้ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่มีความสามารถเพิ่มการใช้นโยบายการคลังและการเงินได้มากกว่าประเทศในภูมิภาคอื่น  ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อบรรเทาผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจ และออกมาตรกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียหดตัวน้อยกว่าภูมิภาคอื่น และมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี

นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เอเชียเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะกลุ่มคนชนชั้นกลางที่จะเติบโตด้วยอัตราเร่งจากปัจจุบัน 2 พันล้าน เป็น 4 พันล้านในอีก 10 ปีข้างหน้า และการขยายตัวของพื้นที่เมือง ส่งผลให้เพิ่มอุปสงค์ด้านการบริโภค และความสามารถในการจับจ่าย สร้างความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการผลิต ทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการพัฒนา วิจัย และคิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในทุกภาคส่วนของโลกเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว จึงสร้างโอกาสให้กับกลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเติบโตของกลุ่มคนชั้นกลางในเอเชีย ได้แก่ ธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการ กลุ่มธุรกิจที่ให้บริการด้านสาธารณสุขไปจนถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้  โครงสร้างทางการผลิตที่จะพัฒนาไปสู่การผลิตขั้นสูง ทำให้เกิดความต้องการใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ครอบคลุมแทบทุกภาคส่วน เช่น กลุ่มการผลิตอาหารและน้ำเพื่อการบริโภค กลุ่มพลังงานทดแทน การพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงและเข้าถึงผู้บริโภคอย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นส่วนบุคคลในการซื้อสินค้าและบริการ ดังจะเห็นได้จากธุรกิจค้าปลีก e-commerce  เป็นต้น  เอ็มเอฟซีจึงมองตลาดหุ้นเอเชีย เป็นตลาดที่น่าสนใจลงทุน ที่สามารถคัดเลือกหุ้นคุณภาพ เติบโตสูง ในราคาที่เหมาะสม

คุณธนโชติ กล่าวต่อไปอีกว่าในช่วงครึ่งปีหลัง เอ็มเอฟซีมีมุมมองเชิงบวก ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย หลังการป้องปรามของรัฐบาลจีนเพื่อสกัดการเก็งกำไรจากการใช้ Margin trading ของนักลงทุนภายในประเทศ  รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีเป้าหมายชัดเจน   และมุ่งปรับเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจาก OLD ECONOMY (อุตสาหกรรมดั้งเดิม) สู่ NEW ECONOMY (อุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย) ภายใต้นโยบาย  MADE IN CHINA 2025 เพื่อให้จีนเป็นแหล่งอุตสาหกรรมก้าวหน้าชั้นนำของโลก รวมถึงเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ด้วยแผน AI2030  นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี 5G เป็นโอกาสการลงทุนในบริษัทเอเชียที่สามารถผลิตสินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนชั้นกลางที่เชื่อมโยงกับผู้คนรอบข้างผ่านทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา (Connected Consumers) รวมถึงการเปลี่ยนสภาพการอยู่อาศัยเป็นสังคมเมือง (Urbanization) ซึ่งส่งผลดีต่อบริษัทในเอเชียที่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่อุปทาน ที่จะได้ประโยชน์ ตั้งแต่บริษัทผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข จนถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงผู้คนและสังคมเข้าด้วยกันมากยิ่งขึ้น   การระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่สำคัญทำให้เกิด Digital Economy ในหลายธุรกิจ เช่น การทำงาน (work from home) การเรียนการสอน การแพทย์สาธารณสุข ธุรกิจบันเทิงออนไลน์ e-commerce จึงเป็นโอกาสดีที่จะลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว เพื่อสร้างความมั่งคั่งไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของเอเชีย ด้วยมุมมองดังกล่าว เอ็มเอฟซีจึงเสนอการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่

1. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอเชีย เทคโนโลยี (M-ATECHเป็นกองทุนประเภท Fund of Funds ลงทุนผ่านกองทุนหลัก 2 กองทุน คือ กองทุน Wellington Asia Technology ซึ่งบริหารโดย Wellington Management Company และกองทุน Invesco China Technology ETF ซึ่งบริหารโดย Invesco Capital Management LLC กองทุนมุ่งหวังผลตอบแทนระยะยาวโดยลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ประกอบธุรกิจในภูมิภาคเอเชียที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยี จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

2. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ดิวิเดนด์ เอเชีย (MDIVA)  เป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่มีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นในระยะยาว ทั้งในไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management คัดเลือกหุ้นคุณภาพดี อัตราการเติบโตสูง และที่มีศักยภาพให้อัตราผลตอบแทนรวมที่สูง   หุ้นในกลุ่ม New Economy ที่ได้รับประโยชน์หรือได้รับผลกระทบน้อยจาก COVID19 อาทิเช่น หุ้นของบริษัท Software, Social Media, การศึกษา online, e-commerce, นวัตกรรมทางการแพทย์ MDIVA แบ่ง Class จ่ายปันผลและสะสมมูลค่า เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรับผลตอบแทนจากเงินปันผล และผู้ที่ต้องการสะสมผลประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

3. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า อิควิตี้ (MCHINA) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz China A-Shares (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารโดย Allianz Global Investors GmbH  ซึ่งมีผู้จัดการกองทุนที่มีความชำนาญในบริหารจัดการกองทุน พร้อมด้วยทีมงานวิจัยภาคสนามที่มีความเชี่ยวชาญ  โดยเน้นลงทุนในหุ้นจีน A-Shares  ที่มีคุณภาพดี (Quality) เติบโตสูง (Growth) และมีมูลค่าที่เหมาะสม (Valuation)  นอกจากนี้ กองทุนนี้ยังมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นได้ Overall Morningstar Rating 5 ดาว ในกลุ่ม China Equity

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงานของกองทุน กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน อาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและหรือรับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนแรกเริ่มได้ ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0-2649-2000 ติดต่อฝ่ายวางแผนการลงทุน กด 2 หรือ Contact Center กด 0 สาขาแจ้งวัฒนะ โทร.0-2835-3055-57 สาขาปิ่นเกล้า โทร. 0-2014-3150-2 สาขาขอนแก่น โทร.043-204-014-16 สาขาเชียงใหม่ โทร. 0-5321-8480-82 สาขาระยอง โทร. 033-100-340 สาขาหาดใหญ่ โทร. 074-232-324 – 25 หรือที่ www.mfcfund.com

www.mitihoon.com