กูรูแนะ “MINT-CPF”เด่น หลังเกิด COVID-19

881

มิติหุ้น-เมย์แบงก์ กิมเอ็งกรุ๊ป จัดงาน INVEST ASEAN 2020 ในหัวข้อ “ตลาดทุนไทย หลังเกิด COVID-19” โดย ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคุณเอมี่ มอริส CEO, Maybank Kim Eng Group ร่วมพูดคุย งานจัดขึ้นในวันที่ 21 ก.ค.63 ผ่านระบบ ZOOM

ภาพรวมโครงสร้างดัชนี SET Index การฟื้นตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมหลังเกิด COVID-19 เป็นไปในอัตราเร่งที่ไม่เท่ากัน ซึ่งหากพิจารณาจากวันที่พบผู้ติดเชื้อรายแรกในไทย เมื่อ 31 ม.ค. 2020 (ฐาน) เทียบกับปัจจุบัน (13 ก.ค. 2020)  พบว่ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) ฟื้นตัวกลับมาได้เร็วที่สุด และเกินระดับก่อนเกิด COVID-19 ไปแล้ว คิดเป็น 107.81% ในขณะที่กลุ่มการเงินเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวช้าที่สุด กลับมาได้เพียง 74.7% โดยโครงสร้างดัชนี SET Index เปลี่ยนไป โดยกลุ่มบริการ (Services) มีน้ำหนักต่อดัชนีมากขึ้นเป็น 26% ในปี 2020 (ขยายตัวจาก 11% ในปี 2010) ส่วนกลุ่มการเงินมีน้ำหนักลดลงจาก 22% สู่ 13% และกลุ่มนักลงทุนรายย่อย (Retail Investors) มีบทบาทขับเคลื่อนตลาดมากขึ้น จาก 33.72% ในปี 2019 สู่ระดับ 42.92% ในช่วง 1H20

โดยมุมมอง ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีต่อภาพอุตสาหกรรมไทยและ SET หลัง COVID-19 มองว่าแนวโน้มกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะมีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย พิจารณาจากน้ำหนักที่มีผลต่อดัชนี SET Index และศักยภาพในการแข่งขัน คือ กลุ่มเกษตรกรรมและอาหาร (Agro and Food) สาธารณสุข (Healthcare) รวมถึงการท่องเที่ยว (Tourism) ที่แม้ว่าการฟื้นตัวจากสถานการณ์หลัง COVID-19 จะยังเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก สำหรับกลยุทธ์ของตลาดหลักทรัพย์จะมุ่งเน้นไปที่ 1) การให้บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น 2) พัฒนาสินค้าให้ครบรูปแบบ มีความหลากหลาย และเพิ่มทางเลือกสำหรับนักลงทุน 3) ปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุนรายใหม่ๆ อาทิเช่น การปรับเกณฑ์เพื่อลดความผันผวนของตลาด เปลี่ยนเกณฑ์ Ceiling/Floor  เหลือ +/- 15% ปรับเกณฑ์ Short Selling รวมถึงล่าสุดกำลังหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่ออนุญาตให้บริษัทต่างชาติสามารถระดมทุนในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ 4) ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการกำกับดูแลความเสี่ยงตามกลไกของ บรรษัทภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance) เพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล

ด้าน นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์ เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ให้ความเห็นว่า แนวคิดทางการลงทุนที่ได้จากจัดงาน INVEST ASEAN 2020 ในหัวข้อ “ตลาดทุนไทย หลังจากเกิด COVID-19” ในครั้งนี้
เรามีความเห็นสอดคล้องในแง่ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่ง MBKET เคยออกบทวิเคราะห์ใน Theme การลงทุน “Thailand : Core Competencies Combination” เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2020 ซึ่งเป็นมุมมองระยะยาวที่
ผสมผสานจุดเด่นของ 3 อุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย อาหาร การแพทย์ และ การท่องเที่ยว ออกมาเป็น
1) Healthcare + Tourism = การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
2) Food + Tourism = การบริโภคสำหรับนักท่องเที่ยว และ
3) Food + Healthcare = อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

หุ้นเด่นระยะสั้นใน Theme Thailand : Core Competencies Combination คือ 

MINT : ได้อานิสงค์บวกมาตรการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐฯจากสัดส่วนโรงแรมในต่างจังหวัดสูงถึงราว 65% ในขณะที่ธุรกิจอาหารจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดใน 2Q63 หลังการคลายล็อคดาวน์ ในขณะเดียวกันมีสัญญาณการฟื้นตัวของราคาหุ้นระยะสั้น วานนี้ (21 ก.ค.) ราคาดีดกลับแรงทำจุดสูงสุดในรอบ 8 วัน ที่ 20.30 บาท พร้อม Volume หนาแน่นสูงสุดในรอบกว่า 1 เดือน

CPF: คาดแนวโน้มกำไร 2Q63 +13% YoY และขยายตัวต่อเนื่องใน 3Q63 จากราคาเนื้อสัตว์ในประเทศไทยปรับตัวขึ้น ราคาเป้าหมาย 39.20 บาท ประกอบด้วย CPF 18.6 บาท ประเมินด้วย PER 15 เท่า (อ้างอิง PER เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี) และ CPALL 21.6 บาท จาก DCF (WACC 7.2%, LTG 4)

www.mitihoon.com