บอร์ด คปภ.ไฟเขียว ร่างประกาศปรับปรุงโครงสร้างการกำกับดูแล การควบคุม และการตรวจสอบของบริษัทประกันภัย

58

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 มีมติเห็นชอบร่างประกาศ คปภเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย  (ฉบับที่ 2)  .. ….  ตามที่สำนักงาน คปภเสนอ เพื่อปรับปรุงหลักการประกาศ คปภเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย .. 2557 ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับประกาศฉบับอื่นของสำนักงานที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

เลขาธิการ คปภกล่าวว่า ประกาศ คปภเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย .. 2557 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีสาระสำคัญเพื่อให้บริษัทประกันภัยมีระบบการบริหารจัดการ หรือบรรษัทภิบาลที่ดี ส่งเสริมความมั่นคง มีความโปร่งใส เสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้เอาประกันภัย และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันภัย 

โดยคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้ รวมถึงบริษัทต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบที่เป็นอิสระ และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในและหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทสามารถว่าจ้าง บุคคลภายนอกให้ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายได้ โดยคณะกรรมการบริษัทยังคงความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย

สำหรับประกาศฉบับดังกล่าว เป็นกฎหมายอนุบัญญัติที่ครบระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีผลบังคับใช้ ดังนั้น สำนักงาน คปภจึงได้มีการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของประกาศเพื่อให้บริษัทประกันภัยมีโครงสร้างการจัดการและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดโครงสร้างการจัดการเพื่อความมั่นคง และเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและการตรวจสอบของบริษัทประกันภัย รวมถึงเพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับประกาศฉบับอื่นของสำนักงานที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน 

โดยปรับปรุงสาระสำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนแรก ปรับปรุง “คำนิยาม” เช่น คำว่า “กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน” เป็น “กรรมการที่เป็นผู้บริหาร” และส่วนที่ 2 ปรับปรุงโครงสร้างการกำกับดูแล/ขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ การกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยกำหนดให้ประธานกรรมการตรวจสอบต้องเป็นกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท ซึ่งเดิมจะกำหนดเพียงคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบเท่านั้น ปรับปรุงการจัดทำระเบียบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน โดยกำหนดให้ระเบียบการปฏิบัติงานดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการชุดย่อยอื่นที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้เกิดความยืดหยุนต่อการปฏิบัติงานจริง