เมย์แบงก์ กิมเอ็ง แนะจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ เน้นลงทุนหุ้นกลุ่มบริโภคในประเทศ

374

 

มิติหุ้น-นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ ครม. ชุดใหม่จากการประชุม ครม. นัดแรกเมื่อวานนี้ (13 ส.ค.) นายกฯ มอบนโยบายพร้อมตั้งศูนย์บริหารและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจาก COVID-19 ซึ่งจะมีการหารืออย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 ส.ค.โดยแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเน้นการช่วยเหลือประชาชน และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นมาตรการต่อเนื่องจาก ครม. ชุดก่อน อาทิ ต่ออายุการอุดหนุนด้านพลังงาน LPG ภาคครัวเรือน, NGV รถสาธารณะ , การประกันราคาสินค้าเกษตร , การขยายระยะเวลาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs (วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท)

โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ ยังถือเป็นมาตรการขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องทำต่อเนื่อง คือมุ่งเน้นกระตุ้นการบริโภค และฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกยังน่ากังวล บวกกับประเทศต่างๆ ยังคงล็อคดาวน์ ดังนั้นการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศอย่างการท่องเที่ยว หรือแม้แต่การส่งออกสินค้าก็เป็นได้ยาก

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น ยังคงให้น้ำหนักกับการรายงานผลประกอบการของ บจ. ซึ่งเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของ Earnings Season 2Q20 นอกจากนี้ยังมี key events สำคัญๆในต่างประเทศที่ต้องจับตา นำโดยการประกาศใช้วัคซีน COVID-19 ของรัสเซียเป็นรายแรกของโลก รวมถึงความไม่แน่นนอนกรณีข้อตกลงทางการค้า Phase 1 ระหว่าง สหรัฐฯ-จีน ที่จะมีการหยิบขึ้นมาหารือกันอีกครั้งช่วงสุดสัปดาห์นี้ ดังนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ที่เป็นไปในลักษณะการดำเนินงานที่ต่อเนื่องเพื่อ “ประคอง” เศรษฐกิจให้ค่อยๆฟื้นตัว และเตรียมรองรับหากเกิดการแพร่ระบาดระลอกสอง จึงไม่น่าจะมีผลถึงขนาดพลิกมาขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยในภาพรวมได้มากนัก การลงทุนจึงเน้นเป็นหุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์ โดยเน้นกลุ่มการบริโภคในประเทศเป็นหลัก

  • CBG: แนวโน้มกำไร 3Q20-4Q20 เติบโตต่อเนื่อง จากยอดขายคาราบาวแดงฟื้นตัว และ Woody ที่โตตามตลาด Functional Drink
  • BJC: แนวโน้มกำไร 2H20 ฟื้นตัวและเติบโตดีขึ้นในปี 2021 โดยเฉพาะธุรกิจบรรจุภัณฑ์กระป๋องที่มีลูกค้ามากขึ้น หนุนใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นและได้ประโยชน์จาก Economies of scale
  • M: ผ่านพ้นจุดต่ำสุดใน 2Q20 หลังการผ่อนคลายล็อคดาวน์ แนวโน้มปีหน้ายอดขายจะกลับไปใกล้เคียง Pre-Covid บวกกับความยืดหยุ่นที่มากขึ้น จากโครงสร้างต้นทุนที่เปลี่ยนไปและ Lean มากขึ้น

www.mitihoon.com