มิติหุ้น-บทวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ ประเมิน เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองหดตัว -12.2% YoY คาดผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่การฟื้นตัวยังช้าหลังการแพร่
-
-
สศช. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตั
ว -2.0% ใกล้เคียงกั บประมาณการของเราและตลาด (ESU คาด -12.0% และตลาดคาด -13.0%) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิ จไทยหดตัว -6.9% รายละเอียดสำคัญมีดังนี้ -
ด้านการใช้จ่าย:
-
อุปสงค์ต่างประเทศ: หดตัวสูงในระดับสองหลักทั้
งการส่งออกสินค้าและบริการ (-15.9% และ -70.4% ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลพวงจากกิจกรรมเศรษฐกิ จและห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงั กจากมาตรการ Lockdown และเศรษฐกิจคู่ค้าที่อ่ อนแอลงหลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในวงกว้าง -
อุปสงค์ในประเทศ: หดตัวจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน ทั้งการบริโภคและการลงทุน โดยการบริโภคภาคเอกชนหดตัว -6.6% (vs. +2.7% ใน 1Q20) จากการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน กึ่งคงทนและบริการที่ลดลง แต่การใช้จ่ายสินค้าในหมวดไม่
คงทนขยายตัวโดยเฉพาะในกลุ่ มอาหาร ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว -15.0% (vs. -5.4% ใน 1Q20) จากการลงทุนในหมวดเครื่องมื อเครื่องจักรที่ลดลงมาก (-18.4% vs. -5.7% ใน 1Q20) อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวได้ หลังสามารถกลับมาเบิกจ่ ายงบประมาณตาม พ.ร.บ.ฯ FY2020 ได้ตามปกติ ทำให้การบริโภคและการลงทุนภาครั ฐขยายตัว 1.4% และ 12.5% ตามลำดับ (vs. -2.8% และ -9.3% ใน 1Q20) -
ทั้งนี้ ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ณ ราคาประจำปี ใน 2Q20 มีมูลค่าลดลง 190,294 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 1Q20 จากการสะสมสินค้าคงคลั
งลดลงในหมวดสินค้าเกษตร (ผลผลิตลดลง) และทองคำ (ส่งออกทองคำไปมากขึ้นหลั งราคาตลาดโลกสูงขึ้น) ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมีสินค้ าคงคลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
-
-
ด้านการผลิต:
-
ภาคเกษตรกรรม: ผลผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่อง แต่เป็นไปในอัตราชะลอลง (-3.2% vs. -9.8% ใน 1Q20) ตามการลดลงของผลผลิตพืชหลัก อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของภั
ยแล้ง -
ภาคอุตสาหกรรม: ผลผลิตหดตัวสูงที่ -14.0% (vs -1.9% ใน 1Q20) เป็นผลจากการหดตัวในทุกสาขาย่อย โดยเฉพาะสาขาการผลิตสินค้าอุ
ตสาหกรรมที่หดตัวต่อเนื่องสี่ ไตรมาสติดต่อกัน (-14.4% vs. -2.6% ใน 1Q20) -
ภาคบริการ: ผลผลิตหดตัวต่อเนื่องเป็
นไตรมาสที่สอง (-12.3% vs. -0.9% ใน 1Q20) โดยสาขาหลักที่ฉุดมาจากสาขาที่ พักแรมและบริการด้านอาหาร (-50.2% vs. -23.3% ใน 1Q20) และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็ บสินค้า (-38.9% vs. -6.0% ใน 1Q20) ที่หดตัวในระดับสูงมาก จากมาตรการ Lockdown และภาคการท่องเที่ยวได้รั บผลกระทบรุนแรงจากการปิดน่านฟ้า ขณะที่สาขาข้อมูลข่ าวสารและการสื่อสาร และสาขากิจกรรมทางการเงิ นและการประกันภัย ยังสามารถขยายตัวได้ แต่อยู่ในระดับต่ำ (+1.7% และ +1.7% ตามลำดับ) ด้านสาขาการก่อสร้างกลับมาเติ บโต 7.4% (vs. -9.9% ใน 1Q20) หลังภาครัฐสามารถกลับมาเบิกจ่ ายงบประมาณใน พ.ร.บ.ฯ FY2020 ได้ตามปกติ
-
-
ทั้งนี้ หากเทียบรายไตรมาสต่อไตรมาสหลั
งขจัดปัจจัยฤดูกาล (QoQ, SA) พบว่า เศรษฐกิจไทยหดตัว -9.7% (vs. -2.5% ใน 1Q20) เป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 -
สศช. ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิ
จไทยในปี 2020F ลงเหลือ -7.8% ถึง -7.3% ถึง จากเดิม -6% ถึง -5% ในครั้งก่อน ขณะที่ปรับคาดการณ์เงินเฟ้ อมาอยู่ที่ -1.2 ถึง -0.7% จากเดิมคาด -1.5% ถึง -0.5% -
Our take: เราคาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว หากไม่มีการนำมาตรการ Lockdown กลับมาใช้อีกครั้ง นอกจากนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือน (ล่าสุดเดือน มิ.ย.) บ่งชี้ว่ากิจกรรมเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในวงกว้าง หลังการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. ยกเว้น ภาคการท่องเที่ยวที่ยังได้รั
บผลกระทบรุนแรง เนื่องจากยังไม่อนุญาตให้นักท่ องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ ามาในประเทศได้ -
ด้านการใช้จ่ายของภาครัฐคาดว่
าจะเป็นอีกแรงสนับสนุนในทยอยเบิ กจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลั งของปี หลัง ครม. ได้มีการอนุมัติเม็ดเงิ นในมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสั งคมอย่างต่อเนื่อง (ส่วนหนึ่งในมาตรการกระตุ้ นเศรษฐกิจภายใต้ พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้ยื มเงินฯ 1 ล้านล้านบาท) ซึ่งล่าสุดได้มีการอนุมัติ โครงไปแล้วมูลค่า 4.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 11% ของงบประมาณ 4 แสนล้านบาท -
อย่างไรก็ดี แม้เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองหดตั
วใกล้เคียงกับที่เราคาดการณ์ไว้ แต่เรามีแนวโน้มปรั บประมาณการเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่ งหลังของปีลงจากเดิม (ปัจจุบันคาด -9% ใน 2H20F จากครึ่งปีแรกที่หดตัว -6.9%) หลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีความยืดเยื้อและรุนแรงกว่าที่ คาด (หลายประเทศเผชิ ญการระบาดระลอกสอง อาทิ สหรัฐฯ) ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของกิ จกรรมเศรษฐกิจให้ช้าลงกว่าเดิม โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว -
นอกจากนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ภัยแล้
งและพัฒนาการของการเมื องในประเทศที่ดูมีท่าทีรุนแรงขึ้ น หลังมีการชุมนุมเกิดขึ้นในช่ วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดการฟื้นตั วของเศรษฐกิจให้ล่าช้าออกไปอีก
-
www.mitihoon.com