ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
• สำนักสารสนเทศทางพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุด 14 ส.ค. 63 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.6 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 512.5 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ขณะที่สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันดิบสุทธิ (Net Import) เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 3.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
• การประชุมคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีเพื่อติดตามการดำเนินการของกลุ่ม OPEC+ (JMMC) รายงานอัตราความร่วมมือ (Compliance Rate) เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 95-97% และรัฐมนตรีพลังงานของซาอุดิอาระเบีย เจ้าชาย Abdulaziz bin Salman คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในไตรมาส 4/63 จะกลับมาฟื้นตัวที่ระดับประมาณ 97% ก่อน COVID-19 ระบาด
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
• บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (NOC) ประกาศเตรียมกลับมาผลิตและส่งออกน้ำมันดิบ หากการเจรจาสันติภาพเพื่อยุติสงครามกลางเมืองลุล่วง ทั้งนี้ลิเบียผลิตน้ำมันที่ระดับ 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าเดือน ม.ค. 63 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
สัปดาห์นี้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 44-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ให้ติดตามการผลิตน้ำมันใน Gulf of Mexico ของสหรัฐฯ ซึ่งต้องหยุดดำเนินการกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 58% เนื่องจากมีพายุ 2 ลูกซ้อนพาดผ่าน ได้แก่พายุเฮอริเคน Marco ที่คาดว่าจะขึ้นฝั่ง Louisiana ในวันอังคารนี้ ขณะที่พายุโซนร้อน Laura มีแนวโน้มจะกลายเป็นพายุเฮอริเคน และขึ้นฝั่งในวันพฤหัสบดีนี้
หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
www.mitihoon.com