เปิดร่าง ‘กฎหมายเกม’ ค้นหามาตรการควบคุมการใช้เกม อี – สปอร์ตที่เหมาะสม

156

มิติหุ้น-เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธานในเวทีสาธารณะ ร่างกฎหมายเกมเส้นทางสู่ความรับผิดชอบของใคร ณ อาคารหอประชุมชั้น 2 สำนักงาน กสทช. ที่จัดขึ้นโดย กสทช. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) และ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

 

โอกาสนี้ ผศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รอง ผอ. ภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สกสว. กล่าวให้ข้อมูลในฐานะตัวแทนหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยในการพัฒนาร่างกฎหมายเกม กล่าวให้ข้อมูลว่า การจัดเวทีเสวนาสาธารณะและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกมครั้งนี้        มีเป้าหมายหลักๆ คือ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในร่างกฎหมายการกำกับดูแลเกม และการประกอบกิจการเกมเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตลอดจนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อเจตนารมณ์ และสาระสำคัญในร่างกฎหมายการกำกับดูแลเกมฯ ฉบับนี้ เป็นร่างที่ สกสว. ได้ให้ทุนสนับสนุนในการยกร่างกฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการเกมในประเทศไทย เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยเป็นผลงานของคณะนักวิจัย นำโดย ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก ได้ดำเนินการวิจัยศึกษาแนวทางของกฎหมายในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ ตลอดจนใช้ศึกษา พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 มาเป็นข้อมูลในการออกแบบและยกร่างเพื่อนำไปให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการจัดสนทนากลุ่ม หรือ Focus Group จำนวน 3 ครั้ง พร้อมทั้งได้มีการจัดรับฟังความเห็นสาธารณะ (Public Hearing) อีก 2 ครั้ง จากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และเยาวชน โดยมีการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายมาโดยลำดับ ในการนี้ สกสว. ได้เล็งเห็นว่า ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน และผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกม ที่มีความประสงค์จะนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจลักษณะของการประกอบกิจการเกมในประเทศไทยมาก

 

ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า เกมและ อี – สปอร์ต (E – Sport)  ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่มีมานานแล้วในประเทศไทย ในความเป็นจริงคงเป็นไปได้อย่างที่เราจะปิดกั้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้อยู่ในกรอบจำกัด แต่เราจะทำอย่างไรให้เยาวชนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างพอดี ไม่ตกเป็นทาส ใช้เกมเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของตน เพราะเกมก็ถือว่าเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่สังคมโลกยอมรับ แต่ภาครัฐอาจต้องมีการมอนิเตอร์ใช้งานเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมบนทางออก ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน

 

ในขณะที่ ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอก หัวหน้าคณะนักวิจัยร่างกฎหมายเกมฯ ได้กล่าวให้ข้อมูล         ว่าจากผลงานวิจัยทำให้ได้ร่างกฎหมายที่เป็นข้อสังเคราะห์ว่า ความรับผิดชอบร่วมในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากอี – สปอร์ต เป็นเรื่องของหน่วยงานหลายภาคส่วน หลายกระทรวง ที่เราต้องกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการแข่งขันพัฒนามาตรฐานปกป้องคุ้มครองการใช้สื่อออนไลน์ พัฒนากฎหมายจัดเรทติ้งและกำกับดูแลร้านเกมพัฒนาทรัพยากรและแนวทางที่ตอบสนองต่อกฎหมายและนโยบาย สนับสนุนความรู้ เครื่องมือป้องกันและสำรวจความคิกเห็นของเด็ก รัฐต้องมีนโยบายรัฐช่วยป้องกันเด็กออนไลน์ ขับเคลื่อนหน่วยประสานงานให้ครอบคลุม สนับสนุนความรู้และเครื่องมือป้องกันผลกระทบ กำหนดมาตรฐานการดูแลเด็กในการแข่งขันทุกระดับ มีกิจกรรมสร้างการเรียนรู้และสร้างความตระหนักสาธารณะ จัดทำข้อมูลและรณรงค์สร้างความตระหนักต่อผลระทบให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน พัฒนาระบบติดตามและรายงานผล พัฒนาเครือข่าวเฝ้าระวัง มีช่องทางแจ้งเหตุร้องเรียนการแข่งขันมีช่องทางแจ้งเหตุร้านเกม มีหน่วยประสานงานและบังคับใช้กฎหมายด้านเกมออนไลน์ มีเครื่องมือช่วยให้อินเทอร์เน็ตมีระบบบริการรักษา ให้คำปรึกษา มีมาตรการห้ามจัดแข่งขันในโรงเรียน กำกับดูแลร้านอินเทอร์เน็ตและเกม พัฒนาเกมให้สร้างสรรค์เป็นโอกาสด้านอาชีพ รวบรวมผู้ประกอบการที่ดี พัฒนาต้นแบบ ร่วมกันกำกับดูแลปกป้องคุ้มครองเด็ก  ทั้งนี้ในวงเสวนาวันนี้ได้มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ เกมแคสเตอร์ สตรีมเมอร์ ยูทิวเบอร์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักวิชาการด้านสื่อ มาร่วมให้ความคิดเห็นเพื่อให้ทีมวิจัยนำข้อมูลไปสังเคราะห์ในการปรับปรุงร่างกฎหมายเกมฯ ฉบับนี้ต่อไป

www.mitihoon.com