เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) ได้ยืนยันประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) โดยผลการทดสอบที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โอคายาม่า (Okayama University of Science) ประเทศญี่ปุ่น
ยืนยันผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ของประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer ด้วยการปล่อยประจุ Streamer เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ปรากฏว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ได้ถึง 99.9% และ ในเมื่อปล่อยประจุ Streamer 1 ชั่วโมง สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ได้ถึง 93.6% และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ได้ถึง 91.8%
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นผลที่เกิดขึ้นภายในห้องทดลองที่ใช้อุปกรณ์ปล่อยประจุ Streamer จึงไม่ได้ชี้บ่งว่าประสิทธิภาพของ Streamer นั้นจะมีผลต่อการใช้งานในผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยี Streamer เมื่อใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมจริง
เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) เป็นไวรัสที่ถูกจัดอยู่ในสกุล (genus) Betacoronavirus อยู่ในวงศ์ (family) Coronaviridae ซึ่งเป็นวงศ์ที่มีเปลือกห่อหุ้ม และสารพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยว (Single stranded RNA, Positive-sense) อยู่ในอันดับ Nidovirales ซึ่งเป็นหนึ่งในไวรัสที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) เบื้องต้นมีการใช้เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ในการจัดตั้งและกำหนดระบบการทดลอง จากนั้นทำการประเมินผลประสิทธภาพโดยเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
การทดสอบประสิทธิภาพ Streamer ได้ทำการทดสอบภายในห้องทดลอง กับ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) และเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ภายในกล่องอะคริลิคขนาด 31 ลิตร 2 กล่อง โดยติดตั้งอุปกรณ์ Streamer ไว้ภายในกล่องอะคริลิค 1 กล่อง และอีกกล่องไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ Streamer ไวรัสที่ทำการทดสอบถูกบรรจุอยู่ในสารละลายไวรัส ซึ่งถูกนำมาใส่ในหลุมของจานทดลอง 6 หลุม (6-well plate) หลุมละ 0.5 มล. และวางบนเครื่องเขย่า ที่มีรอบเขย่า 12 ครั้ง/นาที ภายในกล่องอะคริลิค อุปกรณ์ Streamer ทำงานโดยการปล่อยพลาสม่าผ่านอากาศลงไปยังจานทดลอง 6 หลุมที่มีสารละลายไวรัสอยู่ซึ่งตั้งอยู่บนเครื่องเขย่าที่กำลังทำงาน จากนั้นทำการเก็บสารละลายไวรัสทุกๆ 1, 2 และ 3 ชั่วโมง จากจานทดลอง และนำไปนับจำนวนไวรัสที่รอดชีวิตด้วยวิธีนับจำนวนพลัค (Plaque method) โดยใช้เซลล์ DBT สำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) และวิธี TCID50 โดยใช้เซลล์ Vero E6 / TMPRSS2 สำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) เปิดเผยว่า การทดสอบนี้เราได้ทำการทดสอบและค้นคว้าวิจัย ร่วมกับศาสตราจารย์ ชิเงรุ คิววะ บัณฑิตวิทยาลัย เกษตรกรรมและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยโตเกียว (Professor Shigeru Kyuwa, Graduate School of Agriculture and Life Science, The University of Tokyo) และ ศาสตราจารย์ ชิเงรุ โมริกาวะ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โอคายาม่า (Professor Shigeru Morikawa, Faculty of Veterinary Medicine, Okayama University of Science)
เทคโนโลยี Streamer เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยบริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) กระทั้งในปี 2547 เทคโนโลยี Streamer ได้ถูกนำมาใช้งานจริง โดยใช้หลักการทำงานในการปล่อยประจุไฟฟ้าพลาสม่า Streamer (Streamer discharge) ที่มีประสิทธิภาพในการสลายสสารอันตราย
ปล่อยประจุ Streamer เป็นเทคโนโลยีฟอกอากาศที่สร้างอิเล็คตรอนความเร็วสูงอย่างเสถียร ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ทำได้ยากในเวลานั้น ประสิทธิภาพในการสลายสสารด้วยวิธีออกซิเดชั่น (Oxidation) ของ Streamer นั้นมากกว่าการปลดปล่อยประจุพลาสม่าแบบทั่วไป (glow discharge) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อ Streamer ผสานกับโมเลกุลส่วนประกอบในอากาศ ทำให้อิเล็คตรอนความเร็วสูงเหล่านั้น มีคุณสมบัติอย่างดีเยี่ยมในการสลายสสารด้วยการออกซิเดชั่น และคุณสมบัตินี้เองทำให้ Streamer สามารถช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ แบคทีเรีย และแม้แต่มลภาวะภายในอากาศ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ ไห้มีประสิทธิภาพในการสลายสสารอันตราย เช่น เชื้อก่อโรค แบคทีเรีย สารก่อภูมิแพ้ และก๊าซอันตราย ได้เป็นต้น
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ไดกิ้น” ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐในการทดสอบ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Streamer นี้ กับสสารอันตรายต่างๆ อย่างเช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ก่อโรคระบาดรุนแรงอย่าง (H5N1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ไม่รุนแรง (H1N1 Norovirus) จากหนู และสารพิษและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ
นอกเหนือจากเชื้อก่อโรคที่แสดงในตารางด้านล่างแล้ว ประสิทธิภาพของ Streamer ยังได้รับการทดสอบกับสสารอันตรายอีกกว่า 60 ชนิด โดยแบ่งเป็น เชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิด สารก่อภูมิแพ้ 30 ชนิด รวมไปถึงสารเคมีอันตรายอีกกว่า 19 ซึ่งผลการทดสอบเหล่านั้นได้รับการยืนยันผลจากสถาบันวิจัยของรัฐ
www.mitihoon.com