วางแผนการเงินอย่างไร ถึงจะปลดล็อกได้ในวัยเกษียณ

62

มิติหุ้น – ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เนื่องจากสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มคนวัยทำงาน เมื่อก้าวเข้าสู่วัยเกษียณสวัสดิการภาครัฐคงไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้สูงวัยทั่วโลกมีความวิตกกังวลในเรื่องเงินและสุขภาพและกลัวมีเงินไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตมากที่สุด หนุ่มสาวในวันนี้ หรือวัยใกล้หลัก หลัก 5 ที่ทุ่มเทกับการทำงานหนักมาเกือบทั้งชีวิต เพราะหวังที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในช่วงบั้นปลาย อาจล้มละลายในวัยเกษียณได้ หากไม่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบหรือขาดการวางแผนทางการเงินที่ดี

หากพูดถึงคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินไว้ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ลำบากตอนแก่ คงหนีไม่พ้นคำถามว่าต้องเก็บเงินเท่าใดถึงจะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิต คนส่วนใหญ่มักจะตอบว่าควรมีเงินสัก 5 ล้านบาท ขณะเดียวกันบางส่วนกลับมองว่าควรมีมากถึง 10 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถฟันธงได้ว่าต้องมีเงินเก็บมากเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ ยิ่งตัวเลขภาพรวมของคนวัยเกษียณในไทยที่มีมากถึง 55.8% ที่ยังต้องพึ่งพารายได้จากผู้อื่น ส่วนอีก 34% ที่เหลือคือแม้จะอยู่ในวัยเกษียณแล้ว แต่ก็ยังต้องทำงานหารายได้เอง ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่าคนไทยจำนวนไม่น้อย ยังมีปัญหาเรื่องเงินออมในวัยเกษียณ ยิ่งประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ วัยหนุ่มสาวในปัจจุบันจึงควรตระหนักถึงอนาคตในบั้นปลายชีวิตมากขึ้น เพื่อลดความกังวลในเรื่องของเงินใช้จ่ายด้านต่างๆ เมื่อเวลานั้นมาถึง

โดยการสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้แข็งแรงในวัยเกษียณ เริ่มต้นง่ายๆ จากการสำรวจตัวเอง พิจารณาจากรายได้ของเราในทุกวันนี้ มีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด ทั้ง อาชีพที่ทำ แหล่งรายได้ที่มี สามารถทำต่อไปได้จนถึงอนาคตได้หรือไม่  จากนั้นทำการ คำนวณวางแผนเป้าหมาย ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ เราต้องมีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ หมั่นเก็บออมไปพร้อมกับการที่ยังมีรายได้จากการทำงานเป็นประจำในทุกๆ เดือน โดยอาจจะแบ่งรายได้ออกมาเป็นเงินออมสักหนึ่งส่วน ซึ่งวิธีการออมเงินเพื่อเกษียณผ่านสินทรัพย์ทางการเงินก็มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล  เช่น การออมผ่านกองทุนรวมตราสารทุนหรือหุ้น หรืออาจจะลองใช้ตัวช่วยในการคำนวณ เพื่อให้แน่ใจว่าเงินเก็บหรือการลงทุนต่อปีเพียงพอต่อการใช้จ่ายในระยะยาวสำหรับช่วงเกษียณหรือไม่ สำหรับผู้ที่อยากออมและลงทุนแต่ไม่มีความรู้อีกหนึ่งตัวเลือกที่สะดวกสบายคือการเลือกซื้อประกันเพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคต ซึ่งปัจจุบันหลายๆ บริษัทจะมีที่ปรึกษาทางการเงินคอยให้คำแนะนำในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ชีวิตวัยเกษียณ  อาทิ ประกันยูนิตลิงค์(Unit Linked) ประกันควบการลงทุนเป็นประกันชีวิตที่ถูกออกแบบเพื่อเป็นเครื่องมือวางแผนการเงินระยะยาวที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่อยากให้ความคุ้มครอง หรือผลประโยชน์ของกรมธรรม์เติบโตตามสินทรัพย์และความเสี่ยงที่ได้เลือกลงทุน ผลิตภัณฑ์GenBumNan10จากเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ที่ชำระเบี้ยประกันภัยเพียง 10 ปี และได้รับเงินบำนาญจนถึงอายุ 85 ปี โดยยังสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท รวมถึง ผลิตภัณฑ์ “เจน ซีเนียร์ 55” (Gen Senior 55) ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 5570 ปีที่ลดข้อจำกัดด้านอายุของกลุ่มผู้สูงวัยให้เข้าถึงระบบการประกัน เนื่องจากกลุ่มคนวัยนี้มักมีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการถือกรมธรรม์ที่ซับซ้อนมากกว่าวัยอื่นๆ หรือหากมีแบบประกันรองรับก็จะมีราคาที่พุ่งสูง ทำให้มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ยังพลาดโอกาสเข้าสู่ระบบการประกัน

นอกจากนี้ อย่าลืมสำรวจแหล่งเงินได้หลังเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รายได้จากช่องทางอื่นๆ อาทิ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ เงินปันผล หรือถ้าเป็นข้าราชการก็จะมีกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) เป็นต้น คาดการณ์ว่าจะมีเงินหลังเกษียณรวมแล้วเท่าไหร่  ดังนั้นหากเรามีแผนการเงินที่ดี รู้จักเก็บออมส่วนหนึ่งตั้งแต่ยังอายุไม่มาก ข้อจำกัดด้านสุขภาพก็จะน้อย จ่ายเบี้ยในราคาที่ถูกกว่า และยังได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย

www.mitihoon.com