กลุ่มอลิอันซ์ รายงานความมั่งคั่งของโลก ปี 2020 ชี้ประเทศไทย สัดส่วนหนี้สูง

263

อลิอันซ์ เปิดเผยรายงาน Global Wealth Report ฉบับที่ 11 วิเคราะห์สถานการณ์ทรัพย์สินและหนี้สินของครัวเรือนใน 60 ประเทศทั่วโลก พบช่องว่างทางด้านการเงินระหว่างประเทศที่ร่ำรวย และประเทศที่ยากจนสูงขึ้นอีกครั้ง โดยประเทศไทย ยังมีสัดส่วนหนี้สูงอย่างน่าเป็นห่วง

ปีแห่งความมั่งคั่ง

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีรายงานความมั่งคั่งทั่วโลกสูงขึ้นอย่างมากเท่าครั้งนี้ สินทรัพย์ทางการเงินโดยรวม[1] เพิ่มขึ้นถึง 9.7ในปี 2562 ซึ่งเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2548 นับเป็นการเติบโตที่สูงเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าในปี 2562 โลกจะเผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบ ความขัดแย้งทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้น และภาวะถดถอยทางอุตสาหกรรม แต่เมื่อธนาคารกลางเปลี่ยนทิศทางและตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดหุ้นซึ่งดีดตัวขึ้นถึง 25ส่งผลให้สินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยสินทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นถึง 13.7ในปี 2562 และเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดของศตวรรษที่ 21

การเติบโตของกลุ่มสินทรัพย์ อาทิ เงินฝาก บำนาญ และประกัน เกิดขึ้นช้ากว่า แต่ยังคงเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ดี เบี้ยประกันและบำนาญเพิ่มขึ้น 8.1สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่เงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้น 6.4สินทรัพย์ทุกประเภทเพิ่มขึ้นอย่างมากและมากกว่าอัตราเฉลี่ยนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ (Great Financial Crisis

อีกหนึ่งปรากฏการณ์ของปี 2562 นั่นคือ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดเกิดใหม่มักเป็นเจ้าของสถิติการเติบโตในภูมิภาค แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว ในปี 2562 ภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดเป็นภูมิภาคที่ร่ำรวยที่สุด ได้แก่ ทวีปอเมริการเหนือและโอเชียเนีย โดยมีสินทรัพย์ทางการเงินโดยรวมของครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ถึง 11.9ทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่ไม่สามารถเติบโตแซงหน้าประเทศที่ร่ำรวยกว่าเป็นปีที่สามติดต่อกัน การพัฒนาให้ทันกับประเทศร่ำรวยได้หยุดชะงักลง

เรากำลังเจอกับวิกฤต?

ประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอยเดิมในปี 2563 และอาจจะรุนแรงกว่าเดิม ในขณะที่ไวรัสโควิด 19 ทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ธนาคารกลางและหน่วยงานทางด้านการเงินต่างๆ ทั่วโลกอัดฉีดมาตรการทางการเงินและการคลังอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนและสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนจากผลกระทบของโควิด 19

เราคาดการณ์ว่าครัวเรือนจะสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบที่ได้รับในไตรมาสแรกและมีสินทรัพย์โดยรวมทั่วโลกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตรา 1.5ในช่วงท้ายของไตรมาสที่สองของปี 2563 จากเงินฝากธนาคารที่จะเพิ่มขึ้นถึง 7.0ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือประชาชนและการสำรองเงิน จึงมีความเป็นได้อย่างมากที่สินทรัพย์ครัวเรือนจะไม่ติดลบในปีแห่งโรคระบาดอย่างปี 2563 นี้

นโยบายทางการเงินที่ดูเหมือนเป็นเครื่องมือหลักในการจัดการทางการเงินในช่วงเวลานี้” ลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของอลิอันซ์ กล่าว แต่ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นศูนย์หรือติดลบเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแต่อาจไม่เหมาะสมในระยะยาว เพราะเป็นอุปสรรคขัดขวางการสะสมความมั่งคั่ง ทั้งยังทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสังคมมากขึ้นกว่าเดิม การเอาตัวรอดในขณะนี้กับการรอดพ้นไปตลอดในอนาคตเป็นคนละเรื่องกัน ดังนั้นเราจึงต้องการการปฏิรูปเชิงโครงสร้างหลังโควิด 19 เพื่อวางพื้นฐานสำหรับการเติบโตที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

สถานการณ์สวนกระแส

ช่องว่างทางการเงินระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนขยายกว้างขึ้นอีกครั้ง ในปี 2543 จำนวนสินทรัพย์ต่อหัวในประเทศที่พัฒนาแล้ว มากกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ถึง 87 เท่า ในปี 2559 อัตราส่วนดังกล่าวลดลงเหลือ 19 เท่า ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นมาอีกครั้งเป็น 22 เท่าในปี 2562 การพัฒนาเพื่อตามประเทศร่ำรวยให้ทันหยุดชะงัก โดยจำนวนชนชั้นกลางทั่วโลกลดลงอย่างมาก จากมากกว่าหนึ่งพันล้านคนในปี 2561 เหลือ 800 ล้านคนในปี 2562

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงการพัฒนาตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษใหม่ จำนวนชนชั้นกลางทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 50และจำนวนคนร่ำรวยเพิ่มขึ้น 30เมื่อปรับตามการเพิ่มขึ้นของประชากรแล้ว ในขณะที่คนจนมีจำนวนน้อยลงเกือบ 10หากไม่นับความก้าวหน้าเช่นนี้ โลกยังงคงเป็นโลกแห่งความไม่เท่าเทียม คนที่รวยที่สุดในโลกมีจำนวน 10% ของประชากรทั้งโลก หรือ 52 ล้านคน โดยมีสินทรัพย์เฉลี่ย 240,000 ยูโร กลุ่มคนรวยมีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 84ของสินทรัพย์ทั้งหมดทั่วโลกในปี 2562 1ของคนกลุ่มนี้มีสินทรัพย์เฉลี่ยนมากกว่า 1.2 ล้านยูโร หรือ 44% ของสินทรัพย์ทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่สิ้นสุดปี 2543 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุด ในขณะที่ความมั่งคั่งของกลุ่มคนรวยลดลง 7สินทรัพย์ของกลุ่มคนที่รวยที่สุดในโลกเพิ่มขึ้น 3สะท้อนให้เห็นว่ามหาเศรษฐีกำลังร่ำรวยกว่าคนกลุ่มอื่นของสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่น่ากังวลคือ ช่องว่างระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนเริ่มขยายกว้างขึ้นอีกครั้ง แม้ในช่วงก่อนที่โควิด 19 จะระบาด มิคาเอล กริม นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของอลิอันซ์และผู้ร่วมเขียนรายงานฉบับนี้ กล่าว โรคระบาดจะทำให้ความไม่เท่าเทียมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกาภิวัตน์ การศึกษา และบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศรายได้น้อย หากประเทศต่างๆ สนใจเฉพาะการแก้ปัญหาในประเทศของตัวเอง โลกจะยากจนมากขึ้น

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงน่าเป็นห่วง

ในปี 2562 สินทรัพย์รวมของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น 5.2ซึ่งเป็นผลมาจากเงินประกันและบำเน็จบำนาญที่เพิ่มขึ้น 13.4หลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 3.9% และเงินฝาก 2.9โดยเงินฝากยังคงเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของครัวเรือนไทย มีส่วนแบ่งตลาด 51.2ในขณะที่หลักทรัพย์มีส่วนแบ่ง 27.6เงินประกันและบำนาญ 21.1%

เงินกู้เติบโตในอัตราที่น้อยลงที่ 5.1ซึ่งน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์โดยรวมเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้ ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้น 79.7มากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 55และยังเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในภูมิภาค สินทรัพย์สุทธิต่อหัวเพิ่มขึ้น 5.1ไปอยู่ที่ 3,936 ยูโร (หรือประมาณ 146,419 บาท) เมื่อสิ้นปี 2562 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ไทยอยู่ในลำดับที่ 45 เช่นเดียวกับปีก่อน

www.mitihoon.com