บทบาทของ Fintech ที่มีส่วนช่วยสร้างระบบการเงินโลกที่ยั่งยืน

231

มิติหุ้น – การแพร่ระบาดทั่วโลกของไวรัส โควิด-19 ได้เร่งการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับการเงินและกระตุ้นให้เกิดการชำระเงินแบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนจนกลายเป็นกระแสใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปีนี้เพียงปีเดียว เนื่องจากผู้บริโภคมองหาโซลูชันการชำระเงินที่รวดเร็วและเข้าถึงได้มากขึ้น เมื่อระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีฟินเทค (fintech) จึงมีโอกาสที่จะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำการเงินระดับโลกที่มุ่งเน้นการเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น

เมื่อสกุลเงินคริปโตเคอเรนซี่และบล็อกเชนแพร่หลายมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเหล่านี้ในวงกว้าง ตามที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ปริมาณการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเนื่องมาจากการทำธุรกรรมภาคการเงินในโลกทุกวันนี้นั้นสูงอย่างน่าตกใจ อีกทั้งระบบการเงินแบบดั้งเดิมยังเป็นตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (carbon footprint) ปริมาณมหาศาล

นอกจากนี้ยังเป็นที่รับรู้กันอย่างเปิดเผยว่ากระบวนการขุด cryptocurrency นั้นใช้พลังงานจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ประเทศโปรตุเกสใช้พลังงาน 1,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง (KWh) ในแต่ละปี ในขณะที่ 40 ล้านธุรกรรมที่เกี่ยวกับ bitcoin สิ้นเปลืองพลังงานไปมากถึง 28,000 ล้าน KWh หรือเทียบเท่ากับเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 2,200 ล้านแกลลอน

ถึงเวลาที่นักพัฒนานวัตกรรม Fintech ต้องนำทัพเอง

ผู้นำ Fintech ทั้งหลายคือผู้ที่ได้รับโอกาสอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในการใช้ประโยชน์จากช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคเพื่อสร้างและออกแบบอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับโลกการเงินในขณะนี้ ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมฟินเทค บอกได้เลยว่าคุณอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำในการพิสูจน์ให้เห็นว่าภาคการเงินสามารถบรรลุเป้าประสงค์ในการทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ได้จริง

เช่นเดียวกับระบบอื่นใดที่มีความซับซ้อน การสร้างระบบนิเวศบล็อกเชนที่ยั่งยืนเสียตั้งแต่เริ่มต้นย่อมจะง่ายกว่าการ “ปรับเปลี่ยนหรือรีเอ็นจิเนียร์” ในขั้นตอนถัดๆ ไปในภายหลัง งานวิจัยอิสระแสดงให้เห็นว่าในขณะนี้จนถึงปี 2566 น่าจะเป็นช่วงปีที่สำคัญที่สุดของการเติบโตในการยอมรับสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่ง

รวมถึง BTC, ETH และ XRP ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เทคโนโลยีทางการเงินเช่นบล็อกเชนและคริปโตจะต้องเป็นกรีนเทคโนโลยีและต้องสามารถรับมือกับปัญหาและภาระด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของโลกการเงินให้ได้

ระบบการเงินแบบดั้งเดิมต่างก็กำลังดำเนินการเพื่อลดผลกระทบโดยรวมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทการลงทุนที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ Blackrock กำลังกระตุ้นให้ลูกค้าคิดทบทวนการลงทุนโดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ยั่งยืนและมีส่วนร่วมกับบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเสี่ยงทางด้านสภาพภูมิอากาศ ในทำนองเดียวกันสถาบัน Rocky Mountain เพิ่งเปิดตัว Center for Climate Aligned Finance ซึ่งได้รับการตอบรับและร่วมสร้างพันธกิจจาก Wells Fargo, Goldman Sachs, Bank of America, JPMorgan Chase และอื่น ๆ

ความมุ่งมั่นของ Ripple ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ภายในปี 2573

ด้วยความเห็นพ้องต้องกันทั่วโลกเกี่ยวกับความจำเป็นเร่งด่วนในทุกแวดวงอุตสาหกรรม Ripple จึงดำเนินการอย่างหาญกล้าด้วยการเอ่ยคำมั่นสัญญาที่จะบรรลุเป้าหมายของการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2573 โดยผสานรวมทั้งในแง่ของการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ การซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร และการลงทุนในเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการกำจัดคาร์บอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ

เพื่อที่จะเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจการเงินอย่างแท้จริง  Ripple ยังได้ร่วมมือกับ Energy Web Foundation ในการร่วมสร้าง EW Zero ซึ่งเป็นเครื่องมือโอเพ่นซอร์สตัวใหม่ที่จะช่วยให้บล็อกเชนใด ๆ ลดคาร์บอนผ่านการซื้อพลังงานหมุนเวียนในตลาดท้องถิ่นทั่วโลก XRP Ledger ซึ่ง Ripple ใช้ประโยชน์จากการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้เริ่มใช้ทูลส์ EW Zero ในการซื้อพลังงานสะอาด ทำให้เป็นบริษัทบล็อกเชน carbon-neutral รายใหญ่เจ้าแรกที่ประเดิมก่อนใคร ด้วยการคาดการณ์ว่ามูลค่าปริมาณธุรกรรมของ XRP จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 750 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 พันธกิจในการบรรลุเป้าหมาย carbon net-zero นี้จะช่วยส่งผลต่อการประหยัดพลังงานในปริมาณมหาศาล

การยอมรับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางภายในแวดวงการเงินทั่วโลกคงไม่สามารถเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่ผู้นำในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบเสียแต่ตอนนี้เพื่อลดการใช้พลังงาน หากองค์กรเลือกที่จะนิ่งเฉยและปล่อยให้เทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นเผยการใช้พลังงานที่ไม่สะอาดในปริมาณมากย่อมเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ หากผู้นำฟินเทคจับมือกับผู้สร้างนวัตกรรมริเริ่มด้านพลังงานสะอาดและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านการเงินทั่วโลก ฟินเทคจะสามารถนำเสนอมาตรการที่ยั่งยืนเพื่อรับประกันโลกอนาคตดิจิทัลที่เป็นสีเขียว และช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกภายในปี 2593 ซึ่งเป็นเป้าหมายทางด้านความยั่งยืนที่กำหนดไว้สำหรับโลกภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Agreement)

บทความโดย Ken Weber, Head of Social Impact ของ Ripple, ผู้ให้บริการโซลูชั่นบล็อกเชนระดับเอ็นเตอร์ ไพร์ซชั้นนำสำหรับระบบการชำระเงินทั่วโลก เคนเคยเป็นผู้ก่อตั้ง Zynga Foundation ที่ใช้เกมส์ดิจิทัลเพื่อสร้าง social impact และส่งมอบเงินบริจาคการกุศลมูลค่ากว่า 25 ล้านเหรียญผ่านเกมส์ยอดนิยมเช่น FarmVille Words และ With Friends เขายังเคยดำรงตำแหน่ง COO ของโครงการ The ONE Campaign ซึ่งช่วยขจัดปัญหาความยากจนและการป้องกันโรคระบาดโดยเฉพาะในแถบแอฟริกา

www.mitihoon.com