SCGP พร้อมสยายปีกอาเซียนทุ่ม 8.2 พันลบ.เล็งเท็กฯ 3 ธุรกิจใหม่

407

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่าบมจ. เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) โดย บล. กรุงศรี ระบุว่า SCGP มีโรงงานทั้งหมด 40 แห่งกระจายอยู่ในห้าประเทศในภูมิภาค ASEAN แบ่งเป็นโรงงานบรรจุภัณฑ์กระดาษ 7 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ 23 แห่ง โรงงาน PPP 6 แห่ง โรงงานกระดาษและเยื่อกระดาษ 4 แห่ง ทั้งนี้ Frost and Sullivan ระบุว่า SCGP เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ใหญ่ที่สุดใน ASEAN โดยอิงจากปริมาณยอดขายในปี 62 และเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ทุ่ม 8.2 พันล.ลุยดีล M&A เพียบ

ฝ่ายวิจัยมองว่า บริษัทมีแผนสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งจากการขยายกำลังการผลิตและดีล M&A โดย SCGP มีแผนใช้งบลงทุน 8.2 พันล้านบาท ขยายกำลังการผลิต ได้แก่ i) BATICO (เพื่อขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวในประเทศเวียดนามอีก 20% ในไตรมาส3/63) ii) Fajar (เพื่อขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียอีก 29% ใน ไตรมาส1/64 iii) UPPC (เพื่อขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในฟิลิปปินส์อีก 50% ในไตรมาส 2/64) และ iv) Prepack (เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวในประเทศไทยใน ไตรมาส2/64) บริษัทยังคาดว่าจะได้ข้อสรุปดีลการเข้าซื้อ SOVI (บริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ) ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเวียดนามในสิ้นปีนี้ และบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนเข้าซื้อกิจการอื่นอีกสามดีล ได้แก่ บริษัทบรรจุภัณฑ์ polymer ในเวียดนาม บริษัทบรรจุภัณฑ์อาหารในเวียดนาม และบริษัทผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกในอินโดนีเซีย จะช่วยหนุนให้กำไรโตถึง 54%/8%/9% ในปี 63/64/65F

จีนตลาดใหญ่สุดนำเข้ากระดาษ

ขณะเดียวกันอุปสงค์ของบรรจุภัณฑ์น่าจะโตแซงหน้า GDP โลกจากกระแสการเติบโตของ e-commerce โดย Frost and Sullivan พยากรณ์การเติบโตของในประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ไว้ที่ 30.4% CAGR ในช่วงปี 62-67 ซึ่ง SCGP มีโรงงานผลิตกล่องขนาดเล็กปลายน้ำเพื่อตอบสนองอุปสงค์ในส่วนนี้ โดยบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การขยายกำลังการผลิตปลายน้ำ หรือการเข้าซื้อกิจการผลิตกล่องปลายน้ำซึ่งมี margin ดีกว่ากระดาษบรรจุภัณฑ์ต้นน้ำ ทั้งนี้จีนจะห้ามนำเข้ากล่องกระดาษลูกฟูกเก่าและกล่องกระดาษเกรด fiber ภายในปี 64 ในปัจจุบันกระดาษประเภท  Recovered/recycled คิดเป็น 95% ของวัตถุดิบ ดังนั้นการห้ามนำเข้า OCC จะทำให้ราคา OCC ลดลง นอกจากนี้จีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดที่นำเข้ากระดาษ recovered fiber จากสหรัฐและยุโรป คิดเป็น 40% และ 50% ของการส่งออกกระดาษ recovered fiber ของสหรัฐ และยุโรปในปี 61

บรรจุภัณฑ์เติบโตต่อเนื่อง

ฝ่ายวิจัยจึงประเมินราคาเป้าหมายของ SCGP โดยการคำนวณ DCF ไปจนถึงปี 68F ซึ่งเป็นปี terminal year ที่เราใช้ในการคำนวณ เนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตของกระดาษบรรจุภัณฑ์ค่อนข้างนิ่งอยู่ที่ 98-99% ในช่วงสามปีที่ผ่านมา เราจึงใช้สมมติฐานอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 98% ในช่วงปี 63-68F และใช้สมมติฐานอัตราการใช้กำลังการผลิตกล่องที่ 80% ในปี 63F และที่ 82% ในช่วงปี 64-68F เราใช้สมมติฐานว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตของกระดาษพิมพ์และเขียนจะลดลงจาก 75% ในปี 63F เหลือ 73% ในปี 64 และ 69% ในปี 66-68F จากกระแสการเปลี่ยนมาอ่าน e-book เราใช้สมมติฐาน risk-free rate ที่ 1.5% market risk premium ที่ 6.5% beta ที่ 1.0 และ terminal growth ที่ 1.0% ในปี 68F ทำให้ได้ราคาเป้าหมายที่ 42.00 บาท คิดเป็น P/E ปี FY64F ที่ 20 เท่า