สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 2-6 พ.ย. 63 และคาดการณ์สัปดาห์ที่ 9-13 พ.ย. 63 โดยหน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

119

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • นักลงทุนคาดว่ากลุ่ม OPEC และพันธมิตรโดยเฉพาะรัสเซีย (OPEC+) มีแนวโน้มขยายระยะเวลาลดปริมาณการผลิตที่ 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน ธ.ค. 63 ออกไปถึงไตรมาส 1/64 (ข้อตกลงเดิมระบุลดปริมาณการผลิตที่ 5.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ม.ค. 64)
  • กระทรวงพาณิชย์ของจีนมีแผนเพิ่มโควต้านำเข้าน้ำมันดิบ สำหรับโรงกลั่นเอกชน (Non-state) ปี พ.ศ.2564 ที่ระดับ 243 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน +20%) ทั้งนี้ทางการจีนจะประกาศรายชื่อบริษัทที่ได้รับโควตากลุ่มแรกภายในวันที่ 31 ธ.ค. 63

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • นักลงทุนเทขายในตลาดท่ามกลางความวิตกกังวลถึงสถานการณ์ COVID-19 ระบาดระลอก 2 ทำให้หลายประเทศในยุโรปต้องกลับมาดำเนินมาตรการ Lockdown
  • Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Oil Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 6 พ.ย. 63 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 5 แท่น อยู่ที่ 226 แท่น สูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 63

แนวโน้มราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันสัปดาห์นี้มีแนวโน้มลดลง จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่ง Bloomberg รายงานยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกรวม ณ วันที่ 9 พ.ย. 63 อยู่ที่ 50.3 ล้านราย และ Standard Chartered คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในไตรมาสที่ 4/2563 ลดลงจากปีก่อน 8.73 ล้านบาร์เรลต่อวัน และลดลงจากการคาดการณ์ในเดือนก่อน 1  ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ Citibank ปรับลดประมาณการณ์ราคาน้ำมันดิบ Brent ไตรมาส  4/2563 ที่ระดับ 44 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (ลดลงจากประมาณการณ์ครั้งก่อน 4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) และคาดราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ Brent ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 52 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (ลดลงจากประมาณการณ์ครั้งก่อน 5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล) ให้ติดตามการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของ นาย Joe Biden ขณะที่พรรค Republican จะยังคงครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนกฎระเบียบในทางภาษีมากนัก ซึ่งอาจจะทำให้พรรค Democrat เผชิญความยากลำบากในการอนุมัติมาตรการเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19

www.mitihoon.com