PRIME โตต่อเนื่อง 3 ธุรกิจใหม่รับรู้รายได้ Q3/2020 ครั้งแรก กวาดรายได้งวด 9 เดือนเกือบ 600 ล้าน ดันกำไรพุ่ง 20%

473

 

มิติหุ้น-‘PRIME’ เติบโตขยายธุรกิจต่อเนื่อง เริ่มรับรู้รายได้ ธุรกิจใหม่ครั้งแรก เผยงบงวด เดือนรายได้ 568 ล้าน กำไรสุทธิ 256 ล้าน เติบโตแรง 20% มั่นใจปีนี้ผลงานเข้าเป้า บุกขยายการลงทุนทั่วเอเชียแปซิฟิก ลุยธุรกิจใหม่รับเหมาก่อสร้าง Solar Rooftop ธุรกิจ Solar Private-PPA และธุรกิจขายวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เสริมแกร่งธุรกิจพลังงานทดแทนครบวงจร พร้อมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับสู่บริษัทพลังงานสะอาดชั้นนำ มุ่งสู่เป้าหมาย 1,000 MW ภายใน ปี

งบงวด เดือนเติบโตแข็งแกร่ง

นายสมประสงค์ ปัญจะลักษณ์ ประธานกรรมการ บริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘PRIME’ เปิดเผยว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยและโลกถดถอยอย่างต่อเนื่อง แต่ผลประกอบการของบริษัทฯ กลับมีทิศทางที่สวนกระแส โดยผลประกอบการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้รวมสำหรับงวด เดือน ปี 2563 เท่ากับ 567.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันปีก่อน (Year on Year: YoY) มี EBITDA เท่ากับ 431.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% YoY และมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 255.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% YoY”

สำหรับฐานะทางการเงิน บริษัทฯ มีสินทรัพย์จำนวน 5,731.41 ล้านบาท เติบโตขึ้น 8.6% จากเมื่อสิ้นปี 2562 โดยแบ่งเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 2,814.97 และหนี้สินรวม 2,916.44 ล้านบาท ทำให้มีอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) เพียง 1.03 เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน จึงเป็นโอกาสดีที่จะจัดหาเงินทุนระยะยาวเพิ่มเติมมาลงทุนขยายธุรกิจ โดยบริษัทฯ กำลังศึกษาความเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น การกู้ยืมจากสถาบันการเงินและการออกหุ้นกู้ เป็นต้น ทั้งนี้บริษัทฯ ได้เริ่มหารือกับสถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งแล้ว แต่ยังเปิดโอกาสให้รายอื่นๆ เข้ามาเสนอแนะแนวทางเพิ่มเติมอีก เพื่อจะได้เลือกวิธีที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำและเป็นประโยชน์กับบริษัทฯ มากที่สุด

ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันฯ รายได้หลักของบริษัทเกือบทั้งหมดมาจากธุรกิจการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยในงวด เดือนของปี 2563 นี้ มีรายได้รวม 522.11 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 92% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทฯ และเติบโตขึ้น 7% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากการรับรู้รายได้เต็มปีของโครงการที่ประเทศไต้หวันที่เริ่มขายไฟในเดือนเมษายน ปี 2562 บาท ทั้งนี้โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดมีการทำสัญญาผลิตและขายไฟฟ้า (PPA) ให้กับหน่วยงานของรัฐบาลประเทศชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดรวม 292 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการขายไฟแล้ว 180 เมกะวัตต์ และโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 112 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ใน ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย มีกำลังผลิตติดตั้งรวม 133.2 เมกะวัตต์ ประเทศญี่ปุ่น 68.2 เมกะวัตต์ ประเทศไต้หวัน 12.2 เมกะวัตต์ และประเทศกัมพูชา 78 เมกะวัตต์ โดยถ้าคาดการณ์จากตัวเลขของปีก่อน โครงการที่ขายไฟแล้วจะทำรายได้ทั้งหมดในปีนี้ราว 700 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ขยายธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีก 3 ธุรกิจ ซึ่งเริ่มต้นได้อย่างประสบความสำเร็จ และเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาส 3 ปี 2563 นี้ ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ธุรกิจขายไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา และธุรกิจจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงาน

รับรู้รายได้ ธุรกิจใหม่อนาคตสดใส

นายสมประสงค์ เปิดเผยต่ออีกว่า ในส่วนธุรกิจใหม่ธุรกิจแรกที่ได้เปิดเผยแผนการดำเนินงานไปก่อนหน้านี้แล้ว คือ ธุรกิจรับเหมาติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop EPC) ที่ได้ความร่วมมือกับบริษัทที่มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มากกว่า 10 ปี ในนามของบริษัท ไพร์ม อัลเทอร์เนทีฟ วิชั่นส์ จำกัด เพื่อให้บริการติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจออกแบบ ดำเนินการติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษา  ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยให้อาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง สามารถลดการซื้อไฟฟ้าจากส่วนกลางได้ ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรที่ติดตั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งตอนนี้มีโครงการรอการสำรวจและออกแบบติดตั้งกว่า 30 โครงการ ปัจจุบันมีโครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว และโครงการที่กำลังจะทำสัญญารวมมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท โดยภายในปีนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าจะทำสัญญาให้ได้มูลค่ารวม 300 ล้านบาท โดยได้เริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาสนี้แล้ว

ธุรกิจใหม่ที่สอง คือ ธุรกิจขายไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop Private-Power Purchase Agreement (PPA)) ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต่อยอดจากการขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเป็นการเสนอทางเลือกพิเศษให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพและสนใจที่จะให้เราลงทุนระบบให้ จากนั้นเราจะขายไฟฟ้าในราคาที่ถูกกว่าอัตราค่าไฟที่ลูกค้าซื้อจากรัฐในราคาปกติ ซึ่งตอนนี้เราได้ทำสัญญาฉบับแรกกับ บริษัท ไผ่สิงห์ทอง จำกัด เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจฟาร์มสุกรชั้นนำของประเทศ  ทางฟาร์มมีอัตราการใช้ไฟสูงตลอดเวลาทุกวัน ระบบของเราจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับฟาร์ม ช่วยให้ฟาร์มได้ลดต้นทุนการผลิตได้

และธุรกิจใหม่สุดท้ายที่เปิดตัวในไตรมาส นี้ คือ ธุรกิจจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงาน (Power-related Material and Equipment Trading) เป็นการต่อยอดจากธุรกิจหลักและธุรกิจใหม่ทั้งสอง เนื่องจากบริษัทฯ ต้องจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาจำนวนมาก ประกอบกับการเป็นที่รู้จักและมีเครือข่ายความร่วมมือในวงการพลังงานทดแทนอย่างกว้างขว้าง จึงเล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจใหม่นี้ขึ้นมา โดยบริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจนี้จากลูกค้าระดับองค์กรขนาดใหญ่ในช่วงเริ่มต้นนี้ก่อน ในขณะเดียวกันก็ศึกษาและวางแผนเพื่อเปิดตลาดกับกลุ่มลูกค้ารายย่อยในช่วงต่อไป ทั้งนี้สินค้าที่บริษัทฯ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจครอบคลุมกลุ่มวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลงชีวมวล และระบบจัดการพลังงานของอาคารและที่อยู่อาศัย เป็นต้น บริษัทฯ คาดว่า ธุรกิจนี้จะทำให้เกิดการประสานพลังและใช้ประโยชน์จากต้นทุนการดำเนินงานเดิมของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดกำไรสูงสุดอย่างยั่งยืนต่อไป” นายสมประสงค์ กล่าวเสริม

www.mitihoon.com