ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า ด้านบทิวเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จากกรณีมีรายงานว่า สถาบันการเงินทั่วโลกกำลังหั่นหลังให้ถ่านหิน (ขายหุ้นทิ้ง หรือไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน ฯลฯ)จนถึงขณะนี้ มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่กว่า 100 แห่งทั่วโลก (ธนาคาร, บริษัทประกัน, บลจ. ฯลฯ) ที่ได้ขายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับถ่านหินทิ้งไป (เหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน) ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมา ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ก็ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนของตลาดทุนไทย โดยการออกแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ บลจ. ยักษ์ใหญ่ในระดับโลกก็ได้กำหนดเกณฑ์การลงทุนว่าบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนต้องมีสัดส่วนรายได้จากถ่านหิน (เหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน) ไม่เกิน 20-25% แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากบริษัทไหนที่มีสัดส่วนเกินเกณฑ์ไปเล็กน้อย แต่มีเจตนาที่จะลดสัดส่วนรายได้จากถ่านหินลงก็จะถือว่าเข้าข่ายเป็นหุ้น ESG เราเชื่อว่าสัดส่วนรายได้ที่กำหนดจะเข้มงวดมากขึ้นในอนาคตเพื่อสะท้อนถึงการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (สหรัฐ และยุโรป ภายในปี2593)
BPP , RATCH, EGCO และ WHAUP เข้าข่ายถูกลดการลงทุน
ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีข้อมูลโครงสร้างรายได้จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่เราพิจารณาในแง่ของกำไรจากธุรกิจหลัก และกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น (equity capacity) ซึ่งเมื่อพิจารณาผลประกอบการจากธุรกิจหลักในงวด 9M63 ก็พบว่ามีสี่บริษัท ได้แก่ Banpu Power (BPP.BK/BBP TB)* ,Ratch Group (RATCH.BK/RATCH TB)*, WHA Utilities and Power (WHAUP.BK/WHAUP TB) และ Electricity Generating (EGCO.BK/EGCO TB)*) ที่ผลประกอบการจากธุรกิจหลักมาจากถ่านหินในสัดส่วนที่สูง (มากกว่า 30% ของกำไรจากธุรกิจหลักในงวด 9M63 Figure 2)
โรงไฟฟ้าที่มีสัดส่วนกำไรจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสูง และมีสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ และ NVDR สูงอาจเผชิญแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ
เราพบว่าหุ้นโรงไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ในพอร์ต อย่างเช่น RATCH, EGCO, WHAUP และ BPP เผชิญแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติมาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว จากสองประเด็นด้วยกัน (สัดส่วนกำลังการผลิตตามสัดส่วนของถือหุ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และสัดส่วนกำไรจากธุรกิจถ่านหิน) โดย BPP มีสัดส่วนสูงที่สุดในสองประเด็น แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติบวกกับ NVDR ต่ำเพียงแค่ 2.20% (เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563) ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงด้าน downside จากการที่จะถูกนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นออกไม่มากนัก ส่วนหุ้นของ RATCH และ EGCO ก็ถูกกระทบหนักสุด YTD จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่ 39.8% และ 17.0% ตามลำดับ ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นเพราะเกือบครึ่งของผลประกอบการหลักในงวด 9M63 มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน (Figure 2)
ใช้ discount 25% เพื่อสะท้อนถึงการปรับมูลค่าหุ้นที่รวมประเด็น ESG แล้ว
เนื่องจากธุรกิจของ BPP อิงกับถ่านหินอย่างมาก เราจึงใช้ BPP เป็นตัวแทน สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราพบว่า discount เฉลี่ยรายสัปดาห์ในช่วงสองปี (2562-63) จากมูลค่าเหมาะสมของ BPP อยู่ที่ 25% ซึ่งเราเชื่อว่าสะท้อนถึงประเด็นการลงทุนในหุ้น ESG ดังนั้น เราจึงยังคงใช้วิธี DCF ในการประเมินมูลค่าหุ้นกลุ่มนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม เรากำหนด discount ที่ 25% จากมูลค่าเหมาะสมที่ประเมินโดยวิธี DCF ของโรงไฟฟ้าถ่านหินทุกแห่ง เพราะเราเชื่อว่าจะมีการปรับเกณฑ์ ESG ให้เข้มงวดขึ้น ทั้งในส่วนของ บลจ. ระดับโลก และในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศ และต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องของหุ้นลดลง
Valuation & Action
จึงยังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ Neutral โดยเราปรับลดราคาเป้าหมายของ BPP ลง และปรับลดคำแนะนำจากถือเป็นขาย โดยกำหนดราคาเป้าหมายปี 2564 ที่ 14.00 บาท นอกจากนี้ เราก็ปรับลดราคาเป้าหมายของ EGCO , Global Power Synergy (GPSC.BK/GPSC TB)* , Gulf Energy Development (GULF.BK/GULF TB)* , RATCH และ WHAUP เพื่อสะท้อนถึงการปรับมูลค่าหุ้นที่คำนึงถึงประเด็น ESG แล้ว (Figure 6) เราเลือก BGRIM, GULF และ GPSC เป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มนี้
Risk
ความล่าช้าในการจัดสรรกำลังการผลิตใหม่, มีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของทางการไทย, โรงไฟฟ้าหยุดผลิตไฟฟ้า, และความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการใหม่
www.mitihoon.com