KTC แจ่มสะดุดตา โบรกแห่อัพกำไร

494

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) โดย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า โมเมนตั้มของสินเชื่อ KTC จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่อัตราการเติบโตของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรก็เร่งตัวขึ้น และรายได้จากการติดตามหนี้เสียก็จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้อานิสงส์จากแคมเปญของภาครัฐที่จะกระตุ้นการบริโภคในประเทศในช่วงไตรมาส 4/63 และปี 2564 เราคาดว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะพลิกมาโตเป็นบวกที่ประมาณ 3% (จาก +2.2%/-22%/-5.8% ใน Q1-Q3/63) และคาดว่าสินเชื่อจะโต +7%/14% ในปี 2563/64 (จาก +5% YoY ในงวด 9M63) ทั้งนี้ เราคาดว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยให้รายได้จากการติดตามหนี้เสียของบริษัทเพิ่มขึ้น และฉุดให้ ยอดกันสำรองใน ไตรมาส 4/63 และปี 2564 ลดลง ซึ่งที่ระดับนี้ เราใช้สมมติฐาน credit cost ในไตรมาส 4/63 ที่ 650bps (ลดลงจาก 820bps ในงวด 9M63) และในปี 2563/64 ที่ 780bps/570bps

แสวงหาการเติบโตใหม่ ๆ ด้วยการสร้าง synergies กับธนาคารแม่

KTC ผนึกพันธมิตรทางธุรกิจกับ KTB (ธนาคารแม่) ตั้งสองบริษัทใหม่เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และสร้าง synergy เพื่อประหยัดต้นทุน ทั้งนี้ platform ใหม่จะทำให้ KTC และ KTB สามารถ cross-sell ธุรกิจใหม่ได้ผ่านช่องทางดิจิทัลเพื่อเข้าถึงฐานลูกค้ารายย่อยขนาดใหญ่ทั่วประเทศ โดยในช่วงแรก เรายังไม่คิดว่าธุรกิจใหม่จะทำกำไรให้กับบริษัท แต่หลังจากนี้จะเกิด synergy ในแง่ของการประหยัดต้นทุน โดยเราใช้สมมติฐานว่าสัดส่วน C/I จะลดลงเหลือ 32.5% ในปี 2564 (จากฐาน C/I ปกติที่ 33-35%) ทั้งนี้ KTC ได้ตัดค่าใช้จ่ายด้านการตลาด และที่ปรึกษาลงอย่างหนักในช่วงที่ covid-19 ระบาด ซึ่งกดให้สัดส่วน C/I ลดลงเหลือ 30% ในงวด 9M63

 

กำไรจากธุรกิจใหม่ สินเชื่อจำนำทะเบียนยังไม่มากพอที่จะกระตุ้นกำไรปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญ

หลังจากที่เปิดบริการธุรกิจใหม่สินเชื่อจำนำทะเบียนผ่านเครือข่ายของ KTB ประมาณ 300 สาขา และ บนออนไลน์  KTC ตั้งเป้าสินเชื่อส่วนนี้ 300 ล้านบาท/1.0 พันล้านบาทในปี 2563/2564 ทั้งนี้ เราใช้สมมติฐานอัตราผลตอบแทนสินเชื่อจำนำทะเบียนที่ 21%, ทำให้เราคาดว่าสัดส่วนกำไรจากสินเชื่อจำนำทะเบียนจะคิดเป็นประมาณ 1%/2.5% ในปี 2563/64 ซึ่งการจะเร่งสัดส่วนกำไรจากธุรกิจนี้ บริษัทต้องเพิ่มพอร์ตสินเชื่อจำนำทะเบียนให้ได้ > 3 พันล้านบาท

 

ปรับเพิ่มกำไรปี 2563/64 อีก 7%/9% และเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2564F เป็น 53  บาท(จากเดิม 38 บาท)

ฝ่ายวิจัยได้รวมต้นทุนทางการเงินที่ลดลง 40bps จากการ refinance หุ้นกู้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง,การปรับลดการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ (LLP) ที่ลดลง 200bps, สัดส่วนค่าใช้จ่าย/รายได้ที่ลดลงเหลือ 32.5% (จากเดิมที่ 33-35%), และอัตราการเติบโตของสินเชื่อปี 2564 ที่ 13% เข้าไว้ในประมาณการของเรา ซึ่งส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2564/65 เพิ่มขึ้นประมาณ 21%/12% (จากศูนย์ในปี 2563) ซึ่งเมื่อใช้ P/E ที่ 20x สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว +2.0 S.D.  ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 53 บาท ดังนั้น เราจึงยังคงคำแนะนำถือ

www.mitihoon.com