มิติหุ้น – IND เชื่อมั่นศักยภาพบริษัทแข็งแกร่ง ดึงความเชื่อมั่นนักลงทุน หนุนบรรยากาศลงสนามเทรด mai วันแรก (22 ธ.ค.63) สุดคึกคัก คาดเปิดตลาดยืนเหนือราคาจองซื้อ 1.10 บาทได้ชัวร์ พร้อมกำเงินเดินหน้าขยายลงทุนรองรับงานเมกะโปรเจ็กต์
ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า ดร.สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป หรือ IND เปิดเผยว่า หุ้น IND จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) และเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันแรกในวันที่ 22 ธันวาคม 2563 นี้ โดยคาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี จากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และความเชี่ยวชาญในงานด้านวิศวกรรมที่ปรึกษามามากกว่า 37 ปี และความไว้วางใจจากลูกค้าที่มีต่อบริษัทฯ ส่งผลให้หุ้น IND มีความน่าเชื่อถือและน่าจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้นได้
ระดมทุนรองรับการขยายงาน
ด้านนายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ IND กล่าวว่า หุ้น IND เป็นหุ้นที่มีความน่าใจและราคาหุ้นที่ 1.10 บาท ถือว่ามีความเหมาะสม ประกอบกับศักยภาพการขยายตัวทางธุรกิจเพื่อรองรับงานในอนาคต
สำหรับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้บริษัทจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสามารถนำเงินที่ได้จากการระดมทุนมาต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าหุ้น IND ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
เร่งต่อยอดผลงานโตทะยาน
ดร.ชัยณรงค์ ณ ลำพูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IND กล่าวว่า ด้วยปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่มีความมั่นคง มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยบริษัทมีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำมากที่ 0.03 เท่า และประสบการณ์การในการทำงานที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 37 ปีนั้น จะส่งผลให้หุ้น IND เป็นหุ้นที่น่าสนใจและได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน
ล่าสุด บริษัทแจ้งผลการดำเนินงานงวดไตรมาส3/63 บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 8.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อนหน้า เท่ากับ 2.45 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 42.84% และแม้ว่า IND จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในปี 2563 ทำให้งานโครงการต่างๆ ที่บริษัทได้เข้าร่วมประมูลมีการล่าช้าออกไป แต่ในไตรมาส 3 ปี 2563 บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการ บริหารลดลง ทำให้บริษัทยังมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า -ณะที่รายได้จากการให้บริการงวดไตรมาส3/63 อยู่ที่ 136.01 ลบ.ลดลง 8.34 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ 5.78 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2562
www.mitihoon.com