ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้หนี้ครัวเรือนปี64 ทรงตัวสูง โจทย์เฉพาะหน้าคือเยียวยาลูกหนี้พ้นโควิดรอบใหม่

477

จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “หนี้ ครัวเรือน” ล่าสุดในไตรมาส 3/2563 จากธปท. สะท้อนว่า หนี้ ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง และมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางสัญญาณ อ่อนแอของภาวะเศรษกิจ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3/2563 ท าสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่สัดส่วนหนี้ครัเรือนของไทยจะขยับขึ้นไปยืนเหนือระดับ 90% ต่อจีดีพีในช่วงสิ้นปี2563 นี้และมีโอกาสเร่งขึ้นต่อในปี 2564 หากความเสี่ยงของการระบาดรอบใหม่ของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าที่หลายฝ่ายคาดการณไว้

ในปี 2564 คงต้องยอมรับว่า ความเสี่ยงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ประเทศ ส่งผลกระทบต่อจงัหวะการฟ้ืนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี2564 และน่าจะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกลุ่มลูกหน้ีรายย่อยที่เคยไดร้บั ความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน (ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ) ที่รวมๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 10.68 ล้านบัญชีคิดเป็นภาระหนี้ ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจากธปท. ณ เดือนต.ค. 2563)

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ข้อมูลเบื้องต้นก่อนโควิด-19 ระลอกใหม่ จะสะท้อนว่าลูกหนี้ รายย่อยส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์น่าจะสามารถกลับมาชำระหนี้ ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการฯ และลูกหนี้ บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ ไปแล้ว แต่คงต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2564 อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีนัยโดยตรงต่อกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

สำหรับแนวโน้มหนี้ครัวเรือนในปี2564 น้ัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความ เป็นไปได้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นมาที่ 91.0 ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่าน้ัน หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิดมากกว่าที่ประเมิน และส่งผลทำให้จีดีพีในปี 2564 เติบโตน้อยกว่า กรณีพื้นฐานที่ 2.6% ทั้งนี้ภาพหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวสูงต่อเนื่องดังกล่าว เป็ นหนึ่งในเครื่องชี้ ที่ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย และความเปราะบางของฐานะทางการเงินในภาคครัวเรือนที่เป็นโจทย์รอการแก้ไข ต่อเนื่องจากการควบคุมการระบาดของโควิดและการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ ภาวะปกติขณะที่โจทย์เฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า คือ การเตรียมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับ ลูกหนี้ ทั้งธุรกิจและครัวเรือนให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ ไปให้ได้

www.mitihoon.com